อย่าปล่อยให้ ลูกเล่นโทรศัพท์ …ระวัง! เชื้อโรคสุดสกปรก เทียบเท่ากับเชื้อโรคในห้องน้ำ เพิ่มความเสี่ยงในการเจ็บป่วยด้วยโรคภัยต่าง ๆ ให้กับลูกน้อยและคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างไม่คาดคิด
ลูกเล่นโทรศัพท์ …ระวัง! เชื้อโรค เสี่ยงทำลายสุขภาพ
มีการทดสอบโดยนิตยสารวิช? (Which?) ซึ่งพบว่า อัตราเฉลี่ยแล้วโทรศัพท์มือถือที่คุณพ่อคุณแม่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีเชื้อโรคอันตรายซ่อนอยู่มากกว่าที่กดชักโครกในห้องน้ำชายถึง 18 เท่า และไม่ใช่แค่นั้น …มีการวิเคราะห์พบว่าโทรศัพท์มือถือเกือบ 1 ใน 4 สกปรกขนาดที่มีปริมาณแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตเกินระดับที่รับได้ถึง 10 เท่าเลยทีเดียว
ซึ่งการทดสอบนี้ มาจากตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ 30 เครื่องบ่งชี้ว่า มือถือ 14.7 ล้านเครื่องจากทั้งหมด 63 ล้านเครื่องในสหราชอาณาจักร อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ใช้
ด้านผู้เชี่ยวชาญด้านสุขอนามัยจิม ฟรานซิส ได้เป็นผู้ทำการทดสอบเรื่องนี้ เสริมว่า โทรศัพท์เครื่องหนึ่งมีจำนวนแบคทีเรียมากจนต้องนำไปฆ่าเชื้อ และโทรศัพท์ที่สกปรกที่สุดมีปริมาณแบคทีเรียที่ยังมีชีวิตอยู่เกินระดับที่รับได้มากกว่า 10 เท่า โดยโทรศัพท์ที่เข้าข่ายนี้มีอยู่ 7 เครื่อง (จาก 30)
ซึ่งโทรศัพท์เครื่องที่ผิดหลักสุขอนามัยที่สุดยังมีเอนเทอโรแบคทีเรีย หรือกลุ่มแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ส่วนล่างของคนและสัตว์ ซึ่งรวมถึงเชื้อโรคหลักๆ ที่ทำให้เกิดโรคที่เป็นผลเสียต่อสุขภาพได้ง่ายๆ อย่าง
- เชื้อซาลโมเนลลา อยู่ถึง 39 เท่าของระดับที่ปลอดภัย และมีเฟคัลโคลิฟอร์มที่เชื่อมโยงกับของเสียของคนในจำนวนมากกว่าระดับที่รับได้ 170 เท่า
ซึ่งเจ้าเชื้อ ซาลโมเนลลา (salmonella) นี้เป็นชื่อสกุลของแบคทีเรียในวงศ์ Enterobacteriaceae ซึ่งก่อให้เกิดโรค ซึ่งมีอาหารเป็นสื่อกลาง ซาลโมเนลลามีรูปร่างเป็นท่อน ย้อมติดสีแกรมลบ จัดอยู่ในกลุ่ม facultative anaerobe คือเจริญได้ทั้งในสภาวะที่มีอากาศและไม่มีอากาศ แต่ในสภาวะที่มีอากาศเจริญได้ดีกว่า และไม่สร้างสปอร์ ทำให้เกิดโรคซาลโมเนลโลซิส (Salmonellosis) ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อ (infection) ในระบบทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการลำไส้อักเสบ1
อ่านต่อ >> เชื้อโรคที่อยู่บนหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่เป็นภัยต่อลูกน้อย” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
- เชื้อ “อีโคไล” ที่เป็นสาเหตุของอาหารเป็นพิษ
อีโคไลมีชื่อเต็มๆว่า เอสเชอริเชีย โคไล (Escherichia coli) เป็นเชื้อแบคทีเรียประจำถิ่นที่พบได้ในลำไส้ของคนและสัตว์เลือดอุ่นทั่วไป จึงตรวจพบได้จากอุจจาระในปริมาณมาก โดยปกติอีโคไลประจำถิ่นเป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อโรค แต่อาจฉวยโอกาสก่อโรคในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้2
- และสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ซึ่งก็พบบนมือถือเช่นกันแต่อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตราย
เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เป็นแบคทีเรียที่มีลักษณะกลม เรียงตัวเป็นกลุ่มคล้ายพวงองุ่น หรือเป็นคู่ หรือเป็นสายสั้นๆ ไม่เคลื่อนที่ โคโลนีมีสีเหลืองหรือสีทองเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศที่มีออกซิเจน สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส บางสายพันธุ์ผลิตสารพิษที่เรียกว่า เอนเทอโรทอกซิน ทำให้อาหารเป็นพิษ ซึ่งเอนเทอโรทอกซินที่ผลิตมีหลายชนิด
แต่ชนิดที่พบว่าทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ ซึ่งเอนเทอโรทอกซินที่ผลิตมีหลายชนิด แต่ชนิดที่พบว่าทำให้เกิดอาหารเป็นพิษบ่อย คือ ชนิดเอ และดี โดยช่วงอุณหภูมิที่เชื้อชนิดนี้จะผลิตเอนเทอโรทอกซินอยู่ระหว่าง 15.6 และ 46.1 องศาเซลเซียส และผลิตได้ดีที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ซึ่งก็คือขณะที่เราใช้มือหยิบจับมือถือมาพูดคุยเป็นเวลานาน นั่นเอง ซึ่งเชื้อนี้ก็สามารถก่อให้เกิดโรคติดเชื้อจากอาหารที่เป็นพิษได้ มีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียน และอ่อนเพลีย บางราย มีอาการปวดศีรษะ
ทั้งนี้เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส จะมีชีวิตอยู่ได้ในอากาศ ฝุ่นละออง ขยะมูลฝอย น้ำ อาหารและนม หรืออาหารบรรจุเสร็จ สภาวะแวดล้อมภายนอกมนุษย์และสัตว์ ซึ่งมนุษย์และสัตว์นั้นเป็นแปล่งของเชื้อชาติชนิดนี้โดยจะพบอยู่ตามทางเดินหายใจ ลำคอ หรือ เส้นผมและผิวหนังถึง 50%3
ทั้งนี้ทางด้าน เชรี สตานาเวย์ นักวิจัยของวิช? ได้ให้ ความเห็นว่า โทรศัพท์มือถือส่วนใหญ่ไม่ได้ทำให้ผู้ใช้ป่วยทันที แต่สกปรกมากกว่าที่ควรจะเป็น โดยเชื้อโรคที่ติดที่มือของผู้ใช้จะกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ก่อนส่งกลับไป ที่โทรศัพท์อีกครั้ง วนเวียนแบบนี้เรื่อยไปจนกระทั่งผู้ใช้อาจได้รับเชื้อร้าย
ด้านนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษอย่างดอกเตอร์ไซมอน ปาร์ค จากมหาวิทยาลัยเซอร์รีย์ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเชื้อโรคบนหน้าจอโทรศัพท์โดยการนำหน้าจอโทรศัพท์ของนักศึกษาคนหนึ่งมาทำการเพาะเลี้ยงบนจาน เป็นเวลา 3 วัน และผลการเพาะเชื้อก็ทำให้ได้เห็นภาพต่อไปนี้ ที่ไม่น่าเชื่อว่าแค่เพียงหน้าจอโทรศัพท์เล็ก ๆ ก็สามารถเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของเชื้อโรคได้มากมายขนาดนี้เลย
>> ชมภาพ “เชื้อโรคที่ถูกเพาะเลี้ยงหลังจากวางโทรศัพท์ไว้ที่จานเพาะ 3 วัน” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โดยจากผลงานวิจัยชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่า คุณพ่อคุณแม่ที่ปล่อยให้ลูกน้อยเล่นมือถือ ก็อาจสามารถสัมผัสกับแบคทีเรียเชื้อโรคเหล้านั้นได้ง่ายดายเพียงใด หลายคนอาจจะคิดว่าที่กดชักโครกสกปรกนักหนา โดยหารู้ไม่ว่ามือถือมีแบคทีเรียสะสมมากกว่าซะอีก
ทั้งนี้ยังพบอีกว่า บนหน้าจอโทรศัพท์ เป็นส่วนที่สกปรกและมีเชื้อโรคที่สุดก็คือบริเวณปุ่มทัชสกรีน เพราะเป็นบริเวณที่คนเราจะสัมผัสมากที่สุด ดังนั้นเพื่อสุขอนามัยที่ดี อย่าให้คนอื่นใช้โทรศัพท์ของเรา และก็พยายามเช็ดทำความสะอาดมือถือซักหน่อย หรือพยายามหลีกเลี่ยง ไม่วางมือถือ(ด้านที่ใช้แนบหู)กับพื้นผิวที่สกปรก ก็ช่วยให้ปลอดภัยจากแบคทีเรียมากขึ้นได้อีกเช่นกัน
Must read : 10 อันดับ ของใช้ใกล้ตัว ที่ซ่อนความสกปรก ถูกใช้บ่อยที่สุด
ซึ่งนอกจากบนหน้าจอจะมีเชื้อโรคที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพร่างกายของลูกแล้ว ในโทรศัพท์ก็ยังมีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งผลร้ายกระทบต่อสมองของลูกน้อยได้อีกด้วย ทั้งนี้ยังรวมไปถึงเด็กที่ติดเล่นมือถือ และแท็บเล็ตตั้งแต่เล็กๆ ยังมีความเสี่ยงทำให้พัฒนาการทางการพูดช้าลง รวมไปถึงกลายเป็นโรคสมาธิสั้น และหากจ้องหน้าจอนานๆก็อาจทำให้ส่งผลเสียต่อจอประสาทตาได้อีกด้วย
แม้ว่าโทรศัพท์มือถือ จะเป็นเทคโนโลยีที่ให้ความสะดวกสบายกับคุณพ่อคุณแม่ผู้ใช้ แต่ของเหล่านี้ก็ควรดูแลรักษาเรื่องความสะอาดให้ดีด้วย และควรเก็บให้ห่างไกลจากลูกน้อย ทั้งนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของเจ้าตัวเล็กนั้นเองค่ะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- ต้นเหตุลูกพูดช้า เพราะดูทีวี มือถือ และแท็บเล็ต ประสบการณ์จากคุณแม่
- โทรศัพท์มือถืออันตราย กับลูกน้อยจริงหรือไม่?
- Tablet มือถือ คอมพิวเตอร์ อันตรายเสี่ยงลูกป่วยทางสายตา
- เตือน! พัฒนาการลูกเสียจากมือถือของพ่อแม่
ขอบคุณข้อมูลจาก : tech.mthai.com
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Dr. Simon Park, University of Surrey
บทความอ้างอิงจาก