AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

อากาศแปรปรวนบ่อย…หมอแนะ! เด็กเล็กเสี่ยงปอดบวม ป้องกันได้ด้วย “นมแม่”

เด็กเป็นปอดบวม …ช่วงนี้อากาศแปรปรวนเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว คุณหมอออกมาเตือน กลุ่มเด็กเล็กเสี่ยงติดเชื้อโรคปอดบวมเฉียบพลัน  ให้พ่อแม่เฝ้าระวังดูแลสุขภาพลูกน้อยอย่างใกล้ชิด และแนะนำให้เด็กดื่มนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เพราะนมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กแข็งแรง

เด็กเป็นปอดบวม สาเหตุตายอันดับ 1
ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ

นายแพทย์ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า โรคปอดอักเสบ หรือที่เรียกว่า “ปอดบวม” คือ โรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง อาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา โดยร่างกายจะได้รับเชื้อผ่านทางระบบทางเดินหายใจ โดยทั่วไปโรคปอดอักเสบอาจเป็นอาการที่ต่อเนื่องมาจากโรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งความรุนแรงมีความแตกต่างกัน

Must readกลุ่มเสี่ยง ไข้หวัดใหญ่ ที่ควรได้รับวัคซีนทุกปี
Must readเปิดพัดลมจ่อ ลูกเสี่ยงปอดอักเสบ

ซึ่งจากข้อมูลของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี พบว่า โรคปอดบวมหรือปอดอักเสบในเด็ก เป็นการอักเสบติดเชื้อเฉียบพลันของเนื้อปอด รวมทั้งหลอดลมส่วนปลายและถุงลม ทำให้การทำงานของทางเดินหายใจลดลง เป็นโรคที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยรุนแรง และอาจทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อย และอายุต่ำกว่า 1 ปี

อีกทั้งยังมีโรคขาดอาหาร โรคเรื้อรังหรือความพิการแต่กำเนิด  ซึ่งจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลกพบว่า โรคปอดอักเสบเป็นสาเหตุการตายอับดับ 1ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ในแต่ละปีจะมีเด็กทั่วโลกที่เสียชีวิตจากปอดอักเสบปีละ 2 ล้านคน

สาเหตุของโรคปอดอักเสบ

ส่วนใหญ่เกิดจากติดเชื้อ ซึ่งพบได้ทั้งจากการติดเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ส่วนน้อยเกิดจากเชื้อรา พยาธิ หรืออาจเกิดจากการแพ้ การระคายเคืองต่อสารที่สูดดมเข้าไป ซึ่งเชื้อโรคที่ก่อนให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เช่น การสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่มีอยู่ในอากาศเข้าไปโดยตรง การสำลัก การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด เด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสำลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วนปลายหรือถุงลม เชื้อเกิดการแบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา

อาการของผู้ป่วยปอดอักเสบ

อาการของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุอายุของผู้ป่วย และความรุนแรงของโรค โดยที่ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสมักมีอาการไข้หวัดนำมาก่อนสัก 2-3 วัน ได้แก่ มีไข้ น้ำมูก ไอมีเสมหะ ตามมาด้วยอาการหายใจลำบาก หายใจเร็ว จมูกบาน ส่วนมากถ้าอาการไม่รุนแรงอาจดีขึ้นได้เอง อัตราการเสียชีวิตต่ำเมื่อเทียบกับเชื้อแบคทีเรีย

อ่านต่อ >> “การป้องกันโรคปวดบวมในเด็กเล็ก” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

วิธีป้องกันโรคปวดบวมในเด็กเล็ก

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า การป้องกันโรคปวดบวมในเด็ก คือ ควรให้เด็กรับประทานนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน เพราะนมแม่มีสารอาหารที่มีประโยชน์ครบถ้วน สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กแข็งแรง หลีกเลี่ยงการสัมผัสโรค ไม่ควรให้เด็กใกล้ชิดหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยทุกประเภท หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปอยู่ในที่แออัด เด็กที่อายุต่ำกว่า 3 ปี ไม่ควรส่งไปเลี้ยงตามสถานเลี้ยงเด็ก ควรดูแลอยู่ที่บ้าน

Must readประโยชน์คับเต้า นมแม่ทำอะไรได้มากกว่าที่คิด
Must readน้ำนมเหลือง สิ่งมหัศจรรย์ปกป้องลูกจากโรคร้าย

และถ้าเด็กมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก ทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อยๆ ฝึกหัดให้เด็กล้างมือทุกครั้งหลังทำกิจกรรมต่างๆ จัดสภาพแวดล้อมให้มีอากาศถ่ายเทและดูแลความสะอาดของบ้านอยู่เสมอและที่สำคัญเด็กทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข จะทำให้เด็กมีความแข็งแรง ห่างไกลจากโรคปอดบวม

Must read : ยาน้ำลดไข้ ของเด็ก แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร พ่อแม่ควรรู้!
Must read : ยาแก้ไอ สําหรับทารก เลือกแบบไหน อย่างไรให้ลูกดี?

การสังเกตอาการเบื้องต้นของโรคปอดบวม

โรคปอดบวม จะอยู่ในภาวะป่วยหนักหรือรุนแรง จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ คือ

และแม้โรคปอดบวมจะพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ แต่ผู้สูงอายุก็ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงเช่นกัน ประชาชนทุกคนควรดูแลสุขภาพตัวเองและคนในครอบครัว การสร้างสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ ลดควันบุหรี่ ล้างมือและฉีดวัคซีนป้องกันโรค ซึ่งช่วยลดปัญหาโรคปอดบวมลงได้มาก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

แนวทางการป้องกันโรคกลุ่มอาการไข้หวัดและปอดบวม

อย่างไรก็ดีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  กรมการแพทย์  ได้ให้แนวทางในการป้องกันโรคกลุ่มอาการไข้หวัดและปอดบวมจะเหมือนกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดดังนี้

1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสโรค โดยไม่ควรให้เด็กใกล้ชิดหรือคลุกคลีกับผู้ป่วยทุกประเภท หลีกเลี่ยงการนำเด็กไปอยู่ในที่แออัด เด็กอายุต่ำกว่า 3 ปีควรดูแลที่บ้าน ไม่ควรส่งไปเลี้ยงตามสถานเลี้ยงเด็ก และถ้าเด็กมีอาการไอ จาม มีน้ำมูก ควรพิจารณาใช้ผ้าปิดปากและจมูก ควรทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อยๆ

2. มีอนามัยส่วนบุคคล โดยฝึกหัดให้เด็กล้างมือบ่อยๆ ไม่ขยี้ตาหรือจมูก และควรดูแลความสะอาดของบ้านเรือนให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก นอกจากนี้สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เป็นหวัดและปอดบวมได้ง่ายคือ การอยู่ในบ้านที่มีคนสูบบุรี่ บ้านที่ใช้ฟืนหุงต้มอาหารและมีควันในบ้าน เช่น ควันไฟ ควันบุหรี่ ควันจากท่อไอเสียรถยนต์

3. เพิ่มความต้านทานโรค ควรให้เด็กได้รับนมแม่อย่างน้อย 6 เดือน และให้อาหารครบ 5หมู่ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ ที่สำคัญเด็กทุกคนควรต้องได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามมาตรฐานกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข นอกจากนั้นยังมีวัคซีนเสริมบางชนิดที่ช่วยลดการเกิดโรคปอดบวมในเด็ก ได้แก่ วัคซีนไอพีดี ซึ่งจะป้องกันโรคปอดบวมจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัส วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ป้องกันโรคปอดบวมจากไข้หวัดใหญ่ที่ระบาดตามฤดูกาลในปีนั้นๆ

Must readวัคซีนพื้นฐาน 6 ชนิดที่ลูกน้อยต้องได้รับ
Must read : ลูกจำเป็นต้องรับวัคซีนเสริมหรือไม่?

4. ผู้เลี้ยงดูเด็กควรรู้จักอาการแรกเริ่มของโรคปอดบวม และควรนำมาพบแพทย์

√ แนวทางการักษา

สำหรับแนวทางการักษา ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ อายุผู้ป่วย และความรุนแรงของโรคในเด็กที่ป่วยเป็นปอดบวมระยะแรกหรือไม่รุนแรง ควรพาไปรับการรักษาจากแพทย์ อาจให้ยาปฏิชีวนะ  และให้มาดูอาการที่บ้านเช่นเดียวกับโรคหวัด   จากนั้นแพทย์อาจนัดมาดูอาการเป็นระยะ ขณะรักษาตัวที่บ้านให้ดูแลทั่วไปคือ กินอาการตามปกติ ดื่มน้ำมากๆ พักผ่อน กินยาตามแพทย์สั่ง หากอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบนำไปตรวจซ้ำหรือหรือไปตรวจตามแพทย์นัด ส่วนผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาล แพทย์จะให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้และเช็ดตัวลดไข้ เคาะปอดเพื่อระบายเสมหะออก ให้ออกซิเจน ยาขยายหลอดลม ยาขับเสมหะ กระตุ้นให้ดื่มน้ำอุ่นช่วยระบายเสมหะ ให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดในผู้ป่วยบางราย ส่งเสริมการพักผ่อนนอนหลับเพื่อลดปริมาณการให้ออกซิเจนในร่างกาย และบางครั้งอาจให้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย

สิ่งสำคัญคือ ถ้าคุณพ่อคุณแม่ สังเกตเห็นลูกน้อย มีอาการไอ จาม มีน้ำมูก ควรใช้ผ้าปิดปากและจมูก ทำความสะอาดของเล่นเด็กบ่อยๆ ฝึกหัดให้เด็กล้างมือทุกครั้งหลังทำกิจกรรมต่างๆ จัดสภาพแวดล้อมให้มีอากาศถ่ายเทและดูแลความสะอาดของบ้านอยู่เสมอและที่สำคัญเด็กทุกคนควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคตามกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข จะทำให้เด็กมีความแข็งแรง ห่างไกลจากโรคปอดบวมได้แน่นอน

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : dodeden.com , www.komchadluek.net , www.1morenews.com , manager.co.th

Save