เขาว่ากันว่าให้ ทารกกินน้ำผึ้ง จะทำให้ลูกมีผิวสวย แข็งแรง ผมดกดำ รู้หรือไม่ว่า อาจทำให้ทารกเสี่ยงติดโรคโบทูลิซึม ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้!!
ให้ “ทารกกินน้ำผึ้ง” ความเชื่อผิด ๆ ที่อันตรายถึงตาย!!
ทารกกินน้ำผึ้ง ได้หรือไม่?
ทางการแพทย์ ห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบกินน้ำผึ้ง เพราะอาจทำให้เกิดภาวะโบทูลิซึม เนื่องจากในน้ำผึ้งอาจมีการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียชื่อ Clostridium botulinum ซึ่งจะสร้างสปอร์และผลิตสารพิษที่ชื่อว่า botulinum toxin ในทางเดินอาหารของเด็กทารกได้ ซึ่งสารพิษชนิดนี้เป็นสารพิษที่รุนแรงมาก ทารกที่ได้รับเชื้อนี้ จะมีอาการ
- ท้องผูก
- กินอาหารได้น้อย เบื่ออาหาร กลืนอาหารได้ลำบาก
- อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ร้องไห้เสียงเบา คออ่อนพับ ตัวอ่อนปวกเปียก
- ทารกบางราย อาจมีอาการหายใจลำบาก
- หัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตกระทันหัน (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS)
เนื่องจากสปอร์ของเชื้อโรคท
แม่ที่ให้นมลูก สามารถกินน้ำผึ้งได้ไหม?
คุณแม่ที่ให้นมลูก กินน้ำผึ้งได้ค่ะ เพราะถึงมีสปอร์ก็จะถูกกำจั
ใช้นิ้วป้ายน้ำผึ้งใส่ปากลูก หรือผสมน้ำให้กินเพียงเล็กน้อย ได้หรือไม่?
หาก น้ำผึ้งที่ให้ลูกทานไปในปริมาณเพียงเล็กน้อย อาจไม่มีเชื้อโรคปนเปื้อน หรืออาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนก็ได้ค่ะ ดังนั้น จึงไม่ควรให้ลูกเสี่ยงกับเชื้อโรคชนิดนี้ เพราะแม้จะได้รับเพียงปริมาณเพียงเล็กน้อย แต่เชื้อโรคก็อาจจะอยู่ในน้ำผึ้งปริมาณเล็กน้อยนั้นได้เช่นกันค่ะ ถึงแม้จะมีความเสี่ยง แต่ก็ยังเสี่ยงไม่มากเท่าการให้กินน้ำผึ้งปริมาณมากเป็นประจำ ดังนั้น ควรสังเกตอาการไปก่อน โดยอาการที่ผิดปกติ จะเริ่มปรากฏหลังจากทานน้ำผึ้งไปประมาณ 8 – 36 ชม. เช่น อาเจียน ท้องผูก ไม่กินนมหรืออาหาร กลืนลำบาก น้ำลายสอ ร้องไห้เสียงเบา ตัวอ่อนปวกเปียก หายใจลำบาก เป็นต้น ดังนั้น หากลูกไม่มีอาการผิดปกติอะไรเกิดขึ้น ก็ไม่ได้อันตรายอะไรค่ะ แต่มีอาการผิดปกติดังที่กล่าว ก็ให้รีบพาไปพบแพทย์
โรคโบทูลิซึม คืออะไร?
โรคโบทูลิซึม เกิดจากการได้รับสารพิษโบทูลินัมจากเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัม (Clostridium Botulinum) ส่วนใหญ่มักเข้าสู่ร่างกายผ่านการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ หรือผ่านทางบาดแผลที่มีรอยเปิดบนผิวหนัง โดยสารพิษดังกล่าวจะสร้างความเสียหายแก่ระบบประสาท ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หากไม่รีบไปพบแพทย์ก็อาจทวีความรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้
การรักษาโรคโบทูลิซึม
ผู้ป่วยโรคโบทูลิซึมจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งแพทย์จะรักษาตามชนิดของโรค โดยวิธีรักษาที่อาจนำมาใช้ มีดังนี้
- ประเมินสภาวะการหายใจ ในขั้นแรกแพทย์จะประเมินสภาวะการหายใจของผู้ป่วย หากไม่สามารถหายใจด้วยตัวเองได้หรือหายใจลำบาก อาจจำเป็นต้องใส่ท่อช่วยหายใจหรือใช้เครื่องช่วยหายใจ นอกจากนั้น แพทย์จะงดให้น้ำและอาหารทางปากแก่ผู้ป่วย เพื่อป้องกันผู้ป่วยสำลักน้ำหรืออาหารลงปอด
- การใช้ยา ยาที่แพทย์มักแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทาน ได้แก่
- ยาต้านพิษ มีฤทธิ์ทำลายสารพิษที่อยู่ในเลือด และช่วยประคับประคองอาการป่วยไม่ให้รุนแรงขึ้น
- ยาปฏิชีวนะ มีฤทธิ์ช่วยกำจัดเชื้อแบคทีเรีย มักใช้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียคลอสติเดียมโบทูลินัมทางบาดแผล
- การบำบัด เมื่ออาการป่วยเริ่มคงที่ แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดเพื่อฟื้นฟูการทำงานด้านต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การกลืน การพูด การเคลื่อนไหวแขนและขา เป็นต้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคโบทูลิซึม
ผู้ป่วยที่รีบไปพบแพทย์ตั้งแต่อาการยังไม่รุนแรงมักมีโอกาสรอดชีวิตสูง และฟื้นฟูร่างกายได้เร็วขึ้นโดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจไม่สามารถหายเป็นปกติได้โดยสมบูรณ์ เพราะส่วนใหญ่มักมีปัญหาทางการหายใจในระยะยาว เช่น อาการหายใจถี่ หรือรู้สึกเหนื่อยง่ายกว่าปกติ เป็นต้น
การป้องกันภาวะโบทูลิซึมในทารก
ไม่ควรให้ทารกรับประทานน้ำผึ้งหรือน้ำเชื่อมจากข้าวโพด ไม่ว่าจะปริมาณเล็กน้อย หรือปริมาณมากก็ตาม เพราะเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียชนิดนี้
น้ำผึ้ง เป็นอาหารที่มีประโยชน์ชนิดหนึ่ง เช่น ช่วยบรรเทาอาการเจ็บคอ แก้หวัด ช่วยทำให้ชุ่มคอ แก้ท้องผูกได้ เป็นต้น แต่ก็ควรให้ลูกทานในวัยที่ร่างกายพร้อมแล้วเท่านั้น คือมีอายุ 1 ขวบขึ้นไป เพราะการให้ทารกที่อายุไม่ถึง 1 ขวบทาน แทนที่จะได้ประโยชน์ กลับเสี่ยงทำให้ลูกอาจเป็นโรคโบทูลิซึม ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นความเชื่ออะไรก็ตาม ควรรอให้ลูกอายุเกิน 1 ขวบก่อนนะคะ
อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก
12 เมนู อาหารเด็ก 6 เดือน กับสูตรอร่อยเพื่อลูกวัยเริ่มกิน!
15 ชนิด อาหารที่ทารกควรหลีกเลี่ยง
ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก วัย 6-12 เดือน กินอะไรได้บ้าง?
เครื่องดื่มของลูก อย่างไหนควร อย่างไหนห้าม!
ขอบคุณข้อมูลจาก : สวท.ระยอง, ป้าหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ, www.pobpad.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่