AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

9 พฤติกรรมการกินยาผิด ๆ ที่ทำให้เสี่ยงตายจาก “เชื้อดื้อยา”

เชื้อดื้อยา

ในแต่ละปี กว่า 1 ล้านคนทั่วโลกต้องเสียชีวิตจากการติดเชื้อซึ่งมีสาเหตุมาจาก “เชื้อดื้อยา” ซึ่งเชื้อนี้เกิดจากพฤติกรรมผิด ๆ ในการกินยา ซึ่งปัญหานี้ หากไม่แก้ที่พฤติกรรมการกินยา ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายจากแบคทีเรียดื้อยาได้

9 พฤติกรรมการกินยาผิด ๆ ที่ทำให้เสี่ยงตายจาก “เชื้อดื้อยา”

เชื้อดื้อยา คืออะไร?

เชื้อดื้อยา คือ ภาวะที่เชื้อแบคทีเรียต่อต้านยาปฏิชีวนะ ทำให้การรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไม่ได้ผลดีดังเดิม อาจต้องใช้เวลารักษานานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาแพงขึ้น หรือผู้ป่วยอาจเสี่ยงเสียชีวิตมากขึ้น ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจาก เชื้อดื้อยา ประมาณ 700,000 คน/ปี หากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง คาดว่าในปี ค.ศ.2050 การเสียชีวิตจะสูงถึง 10 ล้านคน เชื้อดื้อยาจึงเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วทุกมุมโลก เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพประชากรโลก และการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เพราะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย

เชื้อดื้อยาอาจเกิดจากแบคทีเรียเปลี่ยนแปลงยีนจนดื้อยาหรือได้รับยีนดื้อยาจากแบคทีเรียตัวอื่น ๆ ซึ่งทำให้โรคติดเชื้อเรื้อรังบางชนิด เช่น ปอดบวม หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ รักษาได้ยากขึ้นหรือทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น รวมทั้งอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา โดยเฉพาะผู้ป่วยบางรายที่ต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด การผ่าตัด หรือการฟอกไต ที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

แบคทีเรียดื้อยา

เชื้อดื้อยาเกิดจากอะไร?

เชื้อดื้อยาเกิดจากพฤติกรรมการกินยาปฏิชีวนะที่ผิดวิธีและไม่จำเป็น รวมถึงความเชื่อผิด ๆ ของคนไทยในการกินยาเมื่อไม่สบายนั่นเอง และต่อไปนี้ คือพฤติกรรมเสี่ยงในการกินยาปฏิชีวนะที่อาจส่งผลให้เกิดเชื้อดื้อยา

  1. กินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ ความจริงแล้วเราไม่ควรกินยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ เพราะการกินยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น อาจทำให้เชื้อโรคมีการปรับตัวและพัฒนาตัวเองให้ต่อต้านยาปฏิชีวนะ ส่งผลให้เกิดภาวะเชื้อดื้อยา ทำให้การรักษาไม่เป็นผล
  2. กินยาปฏิชีวนะไม่ถูกเชื้อ ทุกครั้งที่ไม่สบาย เราควรรู้ว่าตัวเองเป็นโรคที่ติดเชื้อจากแบคทีเรีย หรือไวรัส เพราะการใช้ยาไม่ถูกกับเชื้อ เช่น การกินยาปฏิชีวนะเพื่อรักษาโรคไข้หวัดเจ็บคอซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เป็นเชื้อดื้อยาได้
  3. แบ่งกันกินยาปฏิชีวนะ แม้ว่าจะป่วยใกล้ ๆ กัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าแต่ละคนป่วยจากเชื้อเดียวกัน ดังนั้นการแบ่งยาปฏิชีวนะให้อีกคนกิน อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ เพราะอาจจะทำให้กินยาไม่ถูกกับเชื้อ และกินยาไม่ครบตามปริมาณที่เหมาะสมได้
  4. กินยาปฏิชีวนะไม่ครบ การกินยาไม่ครบตามปริมาณ ตามจำนวนครั้ง และตามจำนวนวันที่แพทย์หรือเภสัชกรบอก หรือการหยุดยาก่อนกินครบ เพราะรู้สึกว่าอาการดีขึ้นแล้ว รวมถึงการนำยาที่เหลือจากการกินคราวก่อน มากินต่อ  ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เชื้อโรคมีการพัฒนากลายเป็นเชื้อดื้อยาได้ เพราะกลไกการทำงานของยามีผลต่อเชื้อโดยตรง ไม่ได้มีผลต่อคน ดังนั้นต้องกินยาจนหมดตามที่กำหนด เพราะเชื้อยังถูกกำจัดจากร่างกายไม่หมด จึงเป็นเหตุให้กลายพันธุ์เป็นเชื้อดื้อยาได้
  5. ซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง การซื้อยากินยาปฏิชีวนะกินเองโดยไม่ปรึกษาหมอหรือเภสัชกร เสี่ยงต่อการได้ยาที่ไม่ถูกต้องตามสาเหตุของโรค ซึ่งอาจทำให้เป็นเชื้อดื้อยาได้ เช่น เป็นไข้หวัดเจ็บคอ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากไวรัส พักผ่อนก็หาย แต่กลับไปซื้อยาปฏิชีวนะมากิน มีความเสี่ยงทำให้เชื้อโรคพัฒนาเป็นเชื้อดื้อยาได้เช่นกัน
  6. เคยอมยาอมที่ผสมยาปฏิชีวนะต้านเชื้อโรค ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดเชื้อดื้อยา เพราะเป็นการใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสมแล้วยังเป็นการใช้ยาเกินจำเป็นด้วย
  7. เปลี่ยนไปใช้ยาต้านแบคทีเรียที่แรงกว่าเดิม เพราะเห็นว่ากินแล้วไม่หาย การรักษาต้องใช้เวลาพอสมควรจึงจะดีขึ้น ดังนั้นการเปลี่ยนยาที่แรงขึ้นอาจทำให้เกิดเชื้อดื้อยาได้
  8. เอายาต้านแบคทีเรียมาโรยแผล นอกจากจะเป็นการรักษาที่ผิดวิธีแล้วยังส่งผลให้แผลติดเชื้อและเชื้อในแผลพัฒนาตัวเองไปสู่การดื้อยาได้
  9. ใช้ยาต้านแบคทีเรียผสมในอาหารสัตว์ เป็นการใช้ยาที่ผิดและไม่ได้ผล ทำให้เนื้อสัตว์ที่เรากินเข้าไปอาจจะเป็นเนื้อสัตว์ที่ป่วยจากเชื้อดื้อยาก็เป็นได้

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ 9 พฤติกรรมการกินยาผิด ๆ ที่ทำให้เสี่ยงตายจาก “เชื้อดื้อยา”

ยาปฏิชีวนะ กับ ยาแก้อักเสบ เหมือนกันหรือเปล่า?

คนส่วนใหญ่เข้าใจผิดคิดว่ายาทั้งสองเหมือนกัน ทำให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่ถูกต้องเป็นประจำ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดเชื้อดื้อยาได้ โดยยาทั้ง 2 ชนิดมีความแตกต่างกัน ดังนี้

เป็นหวัด ท้องเสีย เป็นแผลเลือดออก ไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะ!!

80% ของคนที่เป็นหวัดนั้น เกิดจากการติดเชื้อไวรัส ไม่ใช่เชื้อแบคทีเรีย ดังนั้นการกินยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียจึงไม่ช่วยให้อาการหวัดนั้นดีขึ้น วิธีการรักษาไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อช่วยให้ร่างกายเอาชนะเชื้อไวรัสได้เอง และสำหรับเด็กเล็กที่ไวรัสหวัดอาจจะรบกวนการพักผ่อนและการใช้ชีวิต คุณพ่อคุณแม่สามารถปรึกษาคุณหมอ เพื่อให้จ่ายยาลดน้ำมูก แก้ไอ หรือยาอื่น ๆ ที่จะช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสหวัดได้

และสำหรับเด็กเล็กที่มีอาการท้องเสียนั้น อาการท้องเสียส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัส (หากเป็นการท้องเสียจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียที่รุนแรงมาก) ดังนั้นก็ใช้หลักการเดียวกันกับการกินยาเมื่อเป็นหวัด คือไม่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะนั่นเอง

เมื่อลูกเป็นแผล วิธีการที่ถูกต้องในการรักษาแผลคือ การคอยดูแลรักษาความสะอาดบริเวณแผล เพื่อป้องกันไม่ให้แผลติดเชื้อ การกินยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันเผื่อว่าแผลจะติดเชื้อแบคทีเรียนั้นเป็นวิธีการที่ผิด เพราะจะทำให้กินยาปฏิชีวนะที่ไม่ตรงกับโรค ไม่จำเป็น จนเป็นสาเหตุให้เกิด เชื้อดื้อยา ได้

ยาปฏิชีวนะ

เมื่อลูกป่วยไข้ คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็มักจะร้อนใจเป็นธรรมดา จึงมักจะให้ลูกกินยาเยอะ ๆ เพื่อให้ลูกหายจากอาการป่วยไข้เร็ว ๆ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดนะคะ เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้หายเร็วแล้ว ยังทำให้ลูกเสี่ยงต่อการติด เชื้อดื้อยา ในอนาคตได้อีกด้วย ดังนั้นยาที่ดีที่สุดเมื่อลูกเป็นหวัด เจ็บคอ จากเชื้อไวรัส ก็คือ “เวลา” นั่นเองค่ะ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทำได้คือการรอเวลาให้ร่างกายได้สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสตัวนี้ และเมื่อร่างกายของลูกสามารถสร้างภูมิคุ้มกันในการต่อต้านเชื้อไวรัสชนิดนั้น ๆ แล้ว อาการของลูกก็จะดีขึ้นได้เองโดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะใด ๆ ช่วยเลยค่ะ

อ่านต่อบทความดี ๆ คลิก

รีวิว ปรอทวัดไข้ อุณหภูมิเท่าไหร่? แปลว่า “ลูกมีไข้” กันแน่!

ไขข้อสงสัย! ลูกเป็นหวัด เป็นไข้ อาบน้ำได้ไหม?

วิธีสังเกต ลูกเป็นหวัด เพราะเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย

หมอเตือน! 3 ภัย 4 โรคในหน้าหนาว เด็กเล็กเสี่ยงเจ็บตายสูงขึ้น

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : Social Marketing Thaihealth by สสส., www.thaihealth.or.th

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Summary
Review Date
Reviewed Item
เชื้อดื้อยา
Author Rating
4