AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ฝากครรภ์พิเศษ กับ ฝากครรภ์ธรรมดา ต่างกันอย่างไร?

Credit Photo : Shutterstock

ฝากครรภ์พิเศษ จะดีไหม หรือจะฝากครรภ์ธรรมดาก็พอแล้วหรือเปล่า เจอคำถามนี้บ่อยมากจากแม่ๆ ที่กำลังตั้งท้องอยู่ไม่ น้อยเลยค่ะ เพราะแม่ท้องบางคนก็ยังลังเลว่าจะฝากครรภ์แบบไหนดี เพราะต้องคำนวณถึงงบประมาณค่าใช้จ่ายด้วยว่ามาก น้อยแค่ไหน เอาเป็นว่าทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลเกี่ยวกับการฝากพิเศษ และไม่ฝากพิเศษ มาให้ทราบกันค่ะ

 

ฝากครรภ์พิเศษ กับ ฝากครรภ์ธรรมดา

จากที่บอกไปคะว่ามีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการ ฝากครรภ์พิเศษ และ ฝากครรภ์ธรรมดามาค่อนข้างมาก ครั้งนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้คุณแม่ๆ ที่กำลังวางแพลนว่าจะมีลูกในปีนี้ รวมถึงคุณแม่ที่เพิ่งเริ่มท้องอ่อนๆ แล้วยังไม่ได้ไปฝากครรภ์กัน จะได้ตัดสินใจกันได้ค่ะ การฝากครรภ์เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำเป็นอันดับแรกหลังจากรู้ตัวว่าตั้งท้องนะคะ

การฝากครรภ์ (Antenatal Care) คือ กระบวนการดูแลรักษาสุขภาพให้คุณแม่ท้องตั้งแต่เริ่มตั้งครรภ์ไปถึงช่วงการคลอดลูก ซึ่งตามหลักทางการแพทย์แล้วการฝากครรภ์มีจุดประสงค์เพื่อ…

  1. เพื่อการตรวจสุขภาพของคุณแม่ตั้งแต่เบื้องต้นว่ามีสุขภาพปกติแข็งแรงดี ไม่มีโรค หรือภาวะที่เป็นอุปสรรคค่อการตั้งครรภ์
  2. เพื่อการเฝ้าดูและติดตามการเจริญเติบโตของครรภ์และทารกว่าเป็นไปตามปกติ
  3. เพื่อเฝ้าระวังโรค และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างช่วงต่างๆ ของการตั้งครรภ์
  4. เพื่อเตรียมการสำหรับการคลอดที่เหมาะสม และปลอดภัย1

และรู้หรือไม่คะว่าการฝากครรภ์ที่จะปลอดภัยกับตัวคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ คือ การฝากครรภ์ตั้งแต่รู้ตัวว่าเริ่มตั้งครรภ์อ่อนๆ ทันที ไม่ควรรอจนอายุครรภ์เกินไปจาก 3 แรกของการตั้งครรภ์ เพราะการฝากท้องช้าอาจเสี่ยงต่อสุขภาพของทารกน้อยในครรภ์ได้ค่ะ

อ่านต่อ การฝากท้องพิเศษ VS ฝากท้องธรรมดา หน้า 2 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การฝากครรภ์พิเศษ

จะฝากท้อง หรือฝากครรภ์ก็ความหมายเดียวกันค่ะ แต่จะมีแบบฝากพิเศษ กับฝากธรรมดา ซึ่งโดยมากแล้วการฝากพิเศษเราจะเห็นกันในโรงพยาบาลเอกชนซะส่วนใหญ่ แต่ถ้าฝากท้องธรรมดาจะมีในโรงพยาบาลรัฐ ถามว่าโรงพยาบาลรัฐมีฝากพิเศษไหม? มีค่ะ …ทีนี้เราจะไปทำความเข้าใจกันว่าการฝากครรภ์พิเศษ คืออะไร…

  1. การฝากครรภ์พิเศษจะมีอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว เมื่อไปฝากครรภ์กับคุณหมอท่านใดก็จะดูแลคุณแม่ไปตลอดจนคลอดลูก
  2. จะมีการระบุแพทย์ผู้ดูแลครรภ์อย่างชัดเจนว่าคุณหมอชื่ออะไร และเมื่อถึงเวลานัดตรวจครั้งต่อๆ ไป ก็จะเป็นคุณหมอท่านเดิม
  3. ฝากพิเศษในโรงพยาบาลเอกชน ราคาจะเป็นตามโปรแกรมที่เลือก ซึ่งจะรวมในโปรแกรมการคลอด เช่น การผ่า คลอด และการคลอดธรรมชาติ
  4. ฝากพิเศษสามารถระบุแพทย์ที่ต้องการได้ หากคุณแม่รู้จักกับคุณหมอท่านใดท่านหนึ่งอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว หรือมี คนแนะนำมา ก็สามารถแจ้งทางโรงพยาบาลที่มีคุณหมอท่านที่ต้องการระบุลงไปได้เช่นกัน
บทความแนะนำ คลิก>> 10 ข้อห้าม คนท้องอ่อนๆ ต้องระวังอะไรบ้าง?

การฝากครรภ์ธรรมดา  

  1. ในโรงพยาบาลรัฐบาลทุกแห่ง จะมีระบบการฝากครรภ์ธรรมดา
  2. คุณแม่ที่มาฝากท้อง หรือตรวจครรภ์จะได้รับการตรวจจากคุณหมอที่สลับเปลี่ยนกันมาอยู่ประจำเวรในวันนั้นๆ
  3. ราคาการฝากครรภ์ และคลอดจะอยู่ในมาตรฐานที่ไม่สูงเกินไป
  4. คุณแม่ท้องไม่สามารถเลือกได้ว่าจะให้คุณหมอคนไหนทำคลอดให้ในวันคลอด เพราะโดยมากจะคลอดกับคุณหมอที่อยู่เข้าเวรในวันนั้นๆ

ไม่ว่าคุณแม่จะเลือกการฝากครรภ์พิเศษ หรือฝากครรภ์ธรรมดา ขอให้คำนวณค่าใช้จ่ายในการฝากครรภ์ และการคลอดด้วย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกังวลกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นตลอดทั้ง 9 เดือน เพราะไม่ว่าจะโรงพยาบาลรัฐ หรือโรงพยาบาลเอกชน ต่างก็มีมาตรฐานในการดูแลคนไข้อยู่บนพื้นฐานความปลอดภัยไม่ต่างกันค่ะ ฉะนั้นทั้งหมดทั้งมวลขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ และความสะดวกสบายความต้องการของแต่ละนั่นเองค่ะ

อ่านต่อ 7 ของใช้ที่ควรมีในกระเป๋าตรียมไปคลอด หน้า 3 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เตรียมกระเป๋าไปคลอด

หลังจากทราบกันไปคร่าวๆ ถึงความแตกต่างระหว่างฝากพิเศษ กับฝากธรรมดา เพื่อให้การเตรียมพร้อมของคุณแม่ท้องไม่ฉุกละหุก โดยเฉพาะในวันไปคลอด ลองมาดูกันค่ะว่าควรแม่ควรเตรียมอะไรใส่กระเป๋าไปคลอดกันบ้าง

รายการสิ่งของในการ จัดกระเป๋าเตรียมคลอด

  1. เอกสารต่างๆ เช่น ใบนัดแพทย์ บันทึกการตั้งครรภ์ เอกสารประกันสุขภาพ บัตรประจำตัวประชาชนหรือบัตรประจำตัวของโรงพยาบาล บันทึกการฝากครรภ์ สำเนาบัตรประชาชนคุณพ่อและคุณแม่ สำเนาทะเบียนบ้าน รวมถึงชื่อลูกเพื่อใช้สำหรับแจ้งเกิดลูกค่ะ
  2. โทรศัพท์มือถือและสายชาร์จ เอาไว้โทรหาคนสำคัญเพื่อแจ้งข่าว ว่าลูกน้อยของคุณลืมตาดูโลกแล้ว ยุคนี้เป็นยุคของการสื่อสารโดยแท้ แถมยังมีโซเชียลเน็ตเวิร์กมาเอี่ยวด้วยอีกต่างหาก อย่างน้อยก็ไว้ถ่ายคลิป วิดีโอ ถ่ายรูปเจ้าหนู แล้วแชร์กันแบบเรียลไทม์ ให้เพื่อน ๆ หรือคุณปู่ คุณย่าที่อยู่ไกลออกไปได้ชื่นชมสมาชิกคนใหม่ของครอบครัว
  3. ยกทรงให้นมลูกและแผ่นซับน้ำนม หากคุณตั้งใจจะให้นมลูกตั้งแต่ แรกเกิด
  4. กางเกงใน เพื่อให้คุณรู้สึกสะอาดสบายตัว (ในกรณีที่คุณผ่าคลอด) ตามปกติแล้วทางโรงพยาบาลจะมีกางเกงในหลังคลอดให้สวมถ้าคุณคลอดด้วยวิธีธรรมชาติ
  5. ผ้าอนามัยแบบห่วง ส่วนใหญ่มีขายที่แผนกสูตินรีเวช เพื่อใช้ซึมซับ น้ำคาวปลา หลังคลอดทางโรงพยาบาลมักจัด เตรียมไว้ให้เช่นกัน แต่คุณสามารถเตรียมยี่ห้อที่ใช้เป็นประจำติดไปด้วยก็ได้
  6. ของใช้ส่วนตัวประจำวัน เช่น สบู่ แชมพู แปรงสีฟัน ยาสีฟัน โฟมล้างหน้า หวี ครีมบำรุงผิว/เครื่องสำอางสำหรับคนห่วงสวย ฯลฯ บางโรงพยาบาลอาจ จะเตรียม สิ่งเหล่านี้ให้ แต่คุณอาจจะไม่ชอบใจในคุณภาพ ทางที่ดีเตรียมซื้อแบบที่คุณเคยใช้มาดีที่สุด
  7. ชุดใส่กลับบ้าน จัดเสื้อผ้าสำหรับการเดินทางกลับบ้านและเสื้อผ้าของ สามีตอนอยู่ รพ. ท้องของ คุณแม่อาจจะเล็ก ลงมาก แต่มันยังคงมีขนาด ใหญ่กว่าตอนที่คุณ ไม่ท้องแน่นอน ดังนั้นคุณควรนำเอากางเกงที่มียางยืด และเสื้อยืด ที่ สวมใส่สบายหรืออาจจะเป็นเสื้อให้นม และชุดชั้นในให้นม

นอกจากเตรียมของจำเป็นสำหรับตัวคุณแม่แล้ว ของใช้ลูกน้อยแรกคลอดก็ควรเตรียมไปด้วยค่ะ เช่น ผ้าอ้อมสำเร็จรูป  ผ้าอ้อมธรรมดา ผ้าขนหนู ชุดอาบน้ำเด็กแรกเกิด (สบู่อาบน้ำเด็ก) ชุดเสื้อผ้าเด็กอ่อน และ Infant car seat: เบาะนิรภัยสำหรับทารก สำหรับใช้ในวันพาลูกกลับบ้านค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

10 ข้อห้าม คนท้องอ่อนๆ ต้องระวังอะไรบ้าง?
3 ท่านั่งคนท้อง อยากนั่งสบายต้องนั่งแบบนี้


ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
1แพทย์หญิงปิยะรัตน์ สัมฤทธิ์ประดิษฐ์.การฝากครรภ์.หนังสือคู่มือตั้งครรภ์ทันสมัย.
ใกล้มิตรชิดหมอ