พังผืดใต้ลิ้น ทารก การเฝ้าติดตามเด็กแรกคลอดในเรื่องสุขภาพ เสียงร้อง การดูดนมแม่ ฯลฯ เป็นสิ่งที่กุมารแพทย์ ให้ความสำคัญมากจนกว่าจะแน่ใจว่าทารกปกติทุกอย่างถึงให้กลับบ้าน แต่ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นได้กับเด็กแรกเกิดนั่นคือ “พังผืดใต้ลิ้น” ที่เป็นอุปสรรคต่อการดูดนมแม่ ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีข้อมูลพร้อมคำแนะนำในการรักษา พังผืดใต้ลิ้น ทารก มาให้ทราบค่ะ
พังผืดใต้ลิ้น ทารก คืออะไร?
สำหรับพังผืดใต้ลิ้นจะมีอยู่บริเวณโคนลิ้นของทั้งเด็ก และผู้ใหญ่เป็นปกติ แต่ในเด็กทารกแรกคลอดบางรายอาจมีพังผืดใต้ลิ้นที่มากเกินไป จนเป็นอุปสรรคต่อการดูดนมแม่ เมื่อเด็กอ้าปากดูดนมแม่ให้ครอบเต็มบริเวณลานนมไม่ได้ เด็กจะใช้เหงือกในการงับหัวนมแม่ ซึ่งจะทำให้แม่รู้จึกเจ็บ และส่งผลให้หัวนมแตกได้
พังผืดใต้ลิ้น(Ankyloglossia หรือ Tongue-tie) เป็นลักษณะของเยื่อบางๆ เล็กๆ อยู่ตรงบริเวณโคนลิ้นที่มีในเด็กทารกแรกเกิดเป็นปกติ แต่บางครั้งการมีพังผืดใต้ลิ้นที่มากเกินไปในทารกแรกเกิดหลายๆ ราย ก็ถือว่าเป็นปัญหาอยู่มากเหมือนกันค่ะ นั่นเพราะพังผืดที่ติดมากจนถึงบริเวณปลายลิ้น จะส่งผลกระทบต่อทารกในการดูดนมแม่ เพราะทารกจะไม่สามารถขยับปลายลิ้นได้ถนัดเพื่อดูดนมแม่ และแม่ก็จะเจ็บเพราะลูกจะเปลี่ยนจากการใช้ลิ้นในการดันรีดนมแม่ เปลี่ยนเป็นใช้เหงือกในการงับหัวแม่เพื่อจะได้ดูดนมแม่ได้ ซึ่งผลที่ตามมาคือ แม่เจ็บหัวนม หัวนมแดงช้ำ และแตกในที่สุดค่ะ
ว่าที่คุณแม่คุณพ่อมือใหม่ในหลายๆ ครอบครัว ที่กำลังจะคลอดลูกในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้านี้ เพื่อให้สามารถสังเกตเห็นถึงความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับลูกน้อย ผู้เขียนมีลักษณะอาการของพังผืดใต้ลิ้น มาให้ทราบกันค่ะ
อ่านต่อ >> “อาการของพังผืดใต้ลิ้น” หน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การสังเกตอาการว่าลูกมี พังผืดใต้ลิ้น
เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ใช่เฉพาะคุณหมอเท่านั้นที่จะช่วยดูถึงอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นหลังคลอด เพราะพ่อแม่ก็ถือว่าเป็นที่ต้องเป็นหูเป็นตาในการเฝ้าสังเกตลูกอย่างใกล้ชิดด้วยเช่นกัน เพื่อหากว่าพบอะไรผิดปกติเกิดขึ้นกับลูกจะได้รีบแจ้งคุณหมอทราบทันทีค่ะ อาการพังผืดใต้ลิ้น สามารถสังเกตได้ดังนี้
- ทารกตั้งแต่วันแรกคลอด สังเกตได้ว่าเวลาแลบลิ้บจะไม่พ้นริมฝีปาก และเหงือกด้านบน
- ทารกจะไม่สามารถกระดกปลายลิ้นของตัวเองขึ้นไปสัมผัสเพดานในช่องปากได้
- ทารกมีความยากลำบากในการทำให้ลิ้นของตัวเองเคลื่อนไหวภายในปากทั้งสองด้านซ้าย ขวา
- ทารกมีปลายลิ้นเป็นร่องหยักเข้ามา หรือหากสังเกตดีๆ จะเห็นลิ้นของทารกเหมือนรูปหัวใจ
นอกจากการสังเกตลักษณะลิ้นของลูกแล้ว บางครั้งหากมองจากภายนอกอาจดูเหมือนไม่น่ามีปัญหา แต่ถ้าคุณแม่ลองให้ลูกได้ดูดนมจากเต้าทั้งสองข้าง อาจพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวของคุณแม่เอง นั่นคือ
- แม่รู้สึกเจ็บหัวนม เพราะลูกจะใช้เหงือกในการงับหัวนม
- แม่จะรู้สึกว่าลูกดูดนมแล้วหัวนมมักหลุดออกจากปากลูกบ่อยๆ
- แม่จะได้ยินเสียงเหมือนลูกเดาะลิ้นขณะกินนมแม่
- แม่จะรู้สึกเจ็บหัวมาก เพราะหัวนมช้ำ และแตกเป็นแผล
ดังนั้นเพื่อให้ทั้งคุณแม่ และลูกน้อยได้มีความสุขด้วยกันทั้งฝ่าย การรักษาพังผืดใต้ลิ้น จึงเป็นเรื่องที่ควรได้รับการรักษาทันที โดยส่วนมากแล้วคุณหมอที่ดูแลทารกหลังคลอด จะเป็นผู้ที่คอยให้คำแนะนำแนวทางในการรักษาพังผืดใต้ลิ้นลูกให้อย่างถูกวิธี และปลอดภัย
อ่านต่อ >> “การรักษา พังผืดใต้ลิ้น” หน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
พังผืดใต้ลิ้น รักษาได้ด้วยวิธีใด?
ผศ.นพ.มงคล เลาหเพ็ญแสง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล(1) มีคำแนะนำในการรักษาพังผืดใต้ลิ้นให้กับทารกแรกเกิด ที่ปลอดภัย เพื่อให้คุณแม่คุณพ่อที่ลูกเกิดมามีพังผืดใต้ลิ้นที่มากกว่าปกติได้สบายใจในการรักษา ซึ่งคุณหมอได้ให้คำแนะนำดังนี้
“ในกรณีเด็กทารกที่มีพังผืดติดใต้ลิ้นมากเกินไป จะทำให้ปลายลิ้นของเด็กขยับออกมาเลียลานหัวนมไม่ได้ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการดูดนมแม่ ตั้งแต่งับหัวนมไม่ติด ดูดเบา ดูดบ่อย น้ำหนักตัวไม่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด มีอาการตัวเหลือง บางรายจะใช้เหงือกช่วยในการดูดนม ซึ่งจะทำให้แม่เจ็บหัวนม หรือหัวนมแตกเป็นแผล สร้างน้ำนมน้อยลง ทำให้ทารกได้รับน้ำนมแม่ไม่เพียงพอ
ปัจจุบันนี้มีการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดโดยใช้ยาชาเฉพาะที่ และเป็นการรักษาที่ปลอดภัยมาก และเมื่อหลังผ่าตัดเสร็จแล้ว ทารกสามารถกลับมาดูดนมแม่ได้ทันที ส่วนแผลผ่าตัดจะค่อยๆ หายเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์”(1)
พังพืดใต้ลิ้นที่มีมากกว่าปกติของเด็กทารกนั้น เป็นปัญหาหนึ่งที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาด และโดยมากแล้วหากได้รับการประเมินการรักษาอย่างถูกต้องแล้ว คุณหมอมักจะให้การรักษาทันทีกับทารกแรกคลอด เพื่อป้องกันผลกระทบตามที่กล่าวไปแล้วข้างต้น และเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับพัฒนาการด้านการพูดของเด็กเมื่อโตขึ้น ที่อาจมีปัญหาในการพูดที่ไม่ถนัด พูดไม่ชัด เพราะกระดกลิ้นได้ไม่ดีเท่าที่ควร รวมทั้งสามารถทำให้เด็กเสียบุคลลิกภาพ และเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตประจำวันได้ค่ะ ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้กับคุณพ่อคุณแม่ทุกครอบครัวในการเลี้ยงดูเจ้าตัวเล็กกันค่ะ …ด้วยความใส่ใจและห่วงใย
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก
ทารกฉี่สีส้ม สีอิฐ สีเลือด อันตรายหรือไม่?
นี่คือสายตาของเด็กทารกที่มองเห็นพ่อแม่ในแต่ละเดือน จนถึงอายุ 1 ขวบ
ไขทารก มีประโยชน์กับลูกหรือไม่ ทำไมต้องกำจัด?
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิง
1 ผศ.นพ.มงคล เลาหเพ็ญแสง ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. พังผืดใต้ลิ้นไม่ใช่เรื่องเล็ก. www.si.mahidol.ac.th
www.youtube.com. “พังผืดใต้ลิ้น” ปัญหาของเจ้าตัวเล็ก