อาการของโรค
อาการของโรคปากนกกระจอกที่สามารถพบได้นอกจากจะเกิดอาการระคายเคือง เจ็บปาก และปวดแสบปวดร้อนบริเวณมุมปากแล้ว ยังจะสามารถมีอาการอื่นร่วมด้วยดังนี้
- มีรอยแดงและเลือดออก
- เกิดตุ่มพองขึ้นมา เป็นแผล มีของเหลวไหลเยิ้มออกมา หรือเกิดสะเก็ดแผลที่มุมปาก
- ปากลอก รวมทั้งแห้งและแตกโดยปากอาจตึง ซึ่งทำให้รู้สึกไม่สบายปาก
- รู้สึกคันระคายเคืองบริเณมุมปากที่เป็น ทำให้ผู้ป่วยอาจรับประทานอาหารลำบากในกรณีที่เกิดอาการดังกล่าวอย่างรุนแรง อาจส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือน้ำหนักตัวลดลง
สำหรับวิธีการรักษานั้น มีมากมายหลากหลายวิธีเลยละค่ะ จะมีอะไรบ้างนั้น เราไปดูพร้อม ๆ กันเลยค่ะ
- หากเกิดจากสาเหตุการขาดวิตามินบี 2 ให้คุณพ่อคุณแม่รักษาลูกด้วยการให้รับประทานวิตามินบี 2 หรือวิตามินบีรวมค่ะ หรือให้รับประทานอาหารประเภทข้าวซ้อมมือ ข้าวกล้อง ผักและผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินบีเป็นประจำทุกวัน
- ดื่มน้ำให้มาก ๆ
- หากเป็นเด็กที่มีน้ำลายเยอะ ให้พยายามเช็ดมุมปากให้แห้งอยู่ตลอดเวลา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการอับชื้น
- พยายามให้ลูกเลิกเลียมุมปาก และริมฝีปาก เพราะการกระทำดังกล่าวจะยิ่งส่งผลทำให้เกิดการอักเสบของแผล และติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นได้
- หมั่นทำความสะอาดช่องปากด้วยการแปรงฟัน และบ้วนปากให้สะอาดหลังการรับประทานอาหารอยู่เสมอ
- หากลูกแพ้ยาสีฟัน ให้หยุดใช้ยาสีฟันชนิดนั้น และเปลี่ยนมาใช้ยาสีฟันตัวอื่นทันที
- หมั่นทำความสะอาดเครื่องนอน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผ้าห่ม ปลอกหมอน รวมไปถึงผ้าเช็ดหน้าที่ใช้เป็นประจำด้วยนะคะ
สำหรับวิธีที่คนโบราณแนะนำบอกต่อ ๆ กันมา ยกตัวอย่างเช่น การเอาน้ำตาลปี๊บทาปากนั้น บ้างก็ว่าทำให้ดีขึ้น บ้างก็ว่าเฉย ๆ ตรงนี้ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าจริงเท็จเพียงใด หากใครสนใจจะทำอันนี้ก็ไม่ว่ากันค่ะ ไม่ได้มีข้อห้ามอะไรระบุเอาไว้ แต่ถ้าหากพบว่า ลูกเป็นนานแล้วไม่หายเสียที ตรงนี้แนะนำให้พาลูกไปพบแพทย์จะดีที่สุดค่ะ
- เริมที่ปาก อันตรายแฝงใกล้ตัวจากการลองเทสเตอร์ลิปสติก
- หมอเตือนเฝ้าระวัง! โรคมือเท้าปากในเด็ก ระบาดหนัก
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่