AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็น “โรคภูมิแพ้” ?

โรคภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกเพศ ทุกวัยเลยค่ะ แต่ที่พบว่ามีปัญหาสุขภาพที่มีสาเหตุมาจากโรค ภูมิแพ้ มักจะเป็นกลุ่มเด็กเล็ก และเด็กวัยเรียน เนื่องจากภูมิต้านทานต่อโรคในร่างกายยังไม่แข็งแรง ทำให้ง่ายต่อการรับเอาเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย จนทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นได้ง่ายนั่นเองค่ะ

ที่ผ่านมาหลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญต่อสุขภาพของกลุ่มเด็กเล็ก และกลุ่มเด็กที่อยู่ในวัยเรียน จึงได้มีการ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้ลูกน้อยมีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากโรคภูมิแพ้ และเมื่อเร็วๆ นี้ Pharmax & iCare ได้จัดสัมมนาพิเศษ ซึ่งให้ความรู้โดย พญ.สุรีรัตน์ พงศ์พฤกษา กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โรคภูมิแพ้ หอบหืด และวิทยาภูมิคุ้มกัน ประจำศูนย์กุมารเวช และภูมิแพ้ โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน เพื่อให้ความรู้แก้พ่อแม่ ผู้ปกครองในการดูแลสุขภาพลูกน้อย โดยเฉพาะกับเด็กที่มีปัญหาโรคภูมิแพ้ รวมถึงการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นกับกลุ่มเด็กเล็ก และเด็กโตที่กำลังอยู่ในวัยเรียน

โรคภูมิแพ้ เกิดจากอะไร ?

แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพได้บอกถึงที่มาของสาเหตุการเกิด โรคภูมิแพ้ ในเด็กนั่นเกิดจากร่างกายตอบสนองต่อสารกระตุ้นที่ในภาวะปกติ ซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น ไรฝุ่น ละอองเกสรพืช แล้วเกิดการตอบสนองอย่างมากจนผิดปกติ ทำให้เกิดการอักเสบในอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ อีกสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรค คือมาจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม โดยพบว่าถ้าสามี หรือ ภรรยาเป็นโรคภูมิแพ้ ก็จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 30-50 แต่ถ้าทั้งสามีและภรรยาเป็นโรคภูมิแพ้ จะมีผลให้ลูกมีโอกาศเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นถึงร้อยละ 50-701

 

ถ้าลูกป่วยเป็นภูมิแพ้ ควรดูแลสุขภาพอย่างไร ?

คุณหมอแนะนำว่า ควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษา นอกจากนี้ควรดูแลให้ลูกมีสุขภาพ และภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงอยู่ตลอดเวลา ให้เด็กๆ ได้รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ โดยเฉพาะอาหารบางกลุ่มที่เสี่ยงกระตุ้นให้เกิดการแพ้ขึ้นในร่างกาย เช่น อาหารทะเล ถั่วลิสง เป็นต้น ส่งเสริมให้ลูกได้ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

ที่สำคัญปัจจุบันมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เกี่ยวกับบทบาทของโพรไบโอติก ในร่างกายของคนเราจะมีจุลินทรีย์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเป็นพวกแบคทีเรีย อาศัยอยู่กับเรามากมายเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบทางเดินอาหาร เป็นเชื้อดีมีประโยชน์ จุลินทรีย์เหล่านี้อยู่ในร่างกายมาตั้งแต่คลอด โดยเด็กจะได้รับจากแม่ทั้งจากเมือกบริเวณช่องคลอด และในน้ำนมแม่ก็จะมีจุลินทรีย์ดีเหล่านี้รวมอยู่ด้วย เช่น แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี รวมทั้งสารพรีไบโอติกซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์เชื้อดีเหล่านี้  จุลินทรีย์เชื้อดีพวกนี้มีประโยชน์มาก พวกมันจะทำหน้าที่หลายอย่าง เช่น ช่วยในการย่อยอาหาร กำจัดเชื้อร้ายก่อโรค และมีส่วนสำคัญในการช่วยกระตุ้นและเสริมภูมิคุ้มกัน2

โพรไบโอติก (Probiotic) ช่วยให้สุขภาพดีได้อย่างไร ?

โพรไบโอติกที่ชื่อว่า Lactobacillus reuteri Protectis (แล็กโทบาซิลลัส รียูเทอรี โพรเทคทิส) มีการศึกษาที่ประเทศสวีเดน โดยให้หญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสียงจะเกิดโรคภูมิแพ้ในทารก คือตัวแม่เองก็เป็นโรคภูมิแพ้ ซึ่งมีโอกาสสูงมากที่ลูกจะเกิดโรคภูมิแพ้ตามพันธุกรรม การศึกษานี้เขาให้แม่ทานโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis 1 เดือนก่อนคลอด จากนั้นเมื่อคลอดแล้วก็ให้ลูกกินโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis นี้ต่อไปอีก 1 ปี แล้วตามดูอัตราการเกิดผื่นภูมิแพ้ไปจนลูกอายุ 2 ปี โดยเป็นการศึกษาเทียบกับกลุ่มที่ได้ยาหลอก จากการศึกษาก็พบว่ากลุ่มที่กินโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis มีอัตราการเกิดผื่นภูมิแพ้น้อยกว่ากลุ่มที่กินยาหลอกถึง 12% และที่สำคัญไม่พบการเกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากการกินที่แตกต่างจากการกินยาหลอก

 

ทำไมเด็กวัยเรียน จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้ ?

เด็กที่อยู่ในวัยเรียนมักจะเจ็บป่วยได้บ่อย เนื่องจากติดต่อโรคกันกับเพื่อนในชั้นเรียน หลายครั้งเป็นกันทั้งห้อง อย่างที่พบบ่อยๆ ก็จะมี ท้องเสียซึ่งเกิดจากเชื้อโรต้าไวรัส หรือโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ เช่น หวัด ปอดอักเสบ อันนี้ก็เจอได้บ่อย ทีนี้จะไม่ให้ลูกไปโรงเรียนก็คงเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็คือก็ดูแลให้ร่างกายของเขาแข็งแรง และมีภูมิคุ้มกันที่ดี

โพรไบโอติกสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยกำจัดเชื้อร้ายที่ก่อโรคให้เราได้อีกด้วย ก็มีการศึกษาการกินโพรไบโอติกเพื่อหวังผลดังกล่าว แต่ก็เช่นเดิม ไม่ใช่ทุกตัวจะให้ผลเหมือนกัน หลายตัวที่ก็ไม่ได้ให้ผลในเรื่องนี้ สำหรับโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis เขาก็มีการศึกษาหลายการศึกษาเลยที่ยืนยันผลที่ดี อย่างเช่น หนึ่งในนั้นเป็นการศึกษาจากแม็กซิโก โดยเขาศึกษาในเด็กที่ศูนย์รับเลี้ยงเด็กจำนวน 300 กว่าคน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่กินโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis วันละ 100 ล้าน CFUs และอีกกลุ่มกินยาหลอก โดยให้กินทุกวันติดต่อไป 3 เดือน และติดตามต่อไปอีก 3 เดือน รวม 6 เดือน ก็พบว่า เด็กกลุ่มที่กินโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis มีการเกิดท้องเสีย และภาวะติดเชื้อทางเดินหายใจที่ต่ำกว่ากลุ่มที่กินยาหลอก จำนวนวันที่ขาดเรียนก็น้อยกว่า จำนวนครั้งที่ต้องไป โรงพยาบาลหาหมอก็น้อยกว่า และที่สำคัญ เด็กที่กลุ่มที่กินโพรไบโอติกได้รับยาปฏิชีวนะน้อยกว่า6 อันนี้สำคัญมาก เพราะเดี๋ยวนี้หลายคนคงเคยได้ยินเรื่องเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะดี ซี่งอันนี้อันตรายมาก

สำหรับโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis นี้ เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างปลอดภัย เพราะเป็นโพรไบโอติกที่มีต้นกำเนิดมากจากน้ำนมแม่ โดยเขาได้มาจากหญิงชาวเปรู ซึ่งใช้ชีวิตกับธรรมชาติ ปัจจุบันก็เป็นสายพันธุ์ที่ในทางการแพทย์ มีการนำมาใช้ในการบรรเทาหลายโรค เช่น ท้องเสียเฉียบพลัน ภาวะปวดท้อง รวมทั้งใช้ในทารกที่มีภาวะโคลิคอีกด้วย สายพันธุ์นี้เขามีจำหน่ายใน 99 ประเทศทั่วโลก2 ก็ทำให้มั่นใจได้มากขึ้นอีกด้วย

คุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ยังทิ้งท้ายให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกที่อยู่ในวัยเรียน ว่าสามารถที่จะป้องกันโรคติดเชื้อในโรงเรียนได้ด้วยการส่งเสริมให้ลูกได้รับโพรไบโอติกที่มีประโยชน์ โพรไบโอติก หรือ Good bacteria มีในหลายผลิตภัณฑ์ทั้งโยเกิร์ต นมบางยี่ห้อ หรืออยู่ในรูปของ Food supplement แต่สายพันธุ์ที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อในร่างกายได้ดีจะเป็นโพรไบโอติก Lactobacillus reuteri Protectis อยู่ในรูปเม็ดเคี้ยวและแบบหยด ซึ่งจะมีขายตามร้านขายยยาทั่วไป

งานสัมมนาพิเศษ “สวมเกราะคุ้มกันให้ลูกน้อยด้วยโพรไบโอติก”

 

 

 

Reference :

1.รศ.นพ.สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์. โรคภูมิแพ้ในเด็ก ตอนที่ 1. The allergy, Asthma and immunology association of Thailand; http://allergy.or.th/2016/resources_expert_detail.php?id=92

2.Ramesh Srinivasan. Et.al. Lactobacillus reuteri DSM 17938: Review of Evidence in Functional Gastrointestinal Disorders. Pediatr Ther 2018, 8:3, DOI: 10.4172/2161-0665.1000350.

3.Thomas R. Abrahamsson. Et.al. Probiotics in prevention of IgE-associated eczema: A double-blind, randomized, placebo-controlled trial. J Allergy Clin Immunol, 2007;119:1174-80.

4.N. Gromert and I.Axelsson. Lactobacillus reuteri effect on atopic eczema in childhood. J Pediatr Gastroenterol Nutr, 2009; 48, Suppl 3, E148-149.

5.Miraglia Del Guidce M. et.al. Airways allergic inflammation and L. reuteri treatment in asthmatic children. Journal of Biological Regulators & Homeostatic Agents, 2012; 26 (1),35-40.

6.Pedro Gutierrez-Castrellon. et.al. Diarrhea in Preschool Children and Lactobacillus reuteri: A Randomized Controlled Trial. Pediatrics, 2014;133:e904–e909.