AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แวร์ โซว ป่วยหนักซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตายพร้อมลูกสาว

Credit Photo : ไทยรัฐ

แวร์ โซว ป่วยหนักซึมเศร้า คุณแม่ดาราคนเก่งที่เคยฝากผลงานการแสดงไว้อย่างมากมาย และมีลูกสาวสุดน่ารัก 1 คน ชื่อน้องคนดี ได้ออกมาเปิดเผยต่อสื่อว่าที่ผ่านมาเธอป่วยมีอาการซึมเศร้าจนถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายมาแล้ว ทีมงาน Amarin Baby & Kids มีวิธีรับมือกับอาการซึมเศร้ามาฝากให้ทุกครอบครัวได้ทราบกันค่ะ

 

แวร์ โซว ป่วยหนักซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตายพร้อมลูกสาว

เมื่อเร็วๆ นี้มีข่าวทำเอาใครหลายคนช็อกไปกับคุณ แวร์ โซว ป่วยหนักซึมเศร้า คิดฆ่าตัวตายพร้อมลูกสาว ซึ่งเชื่อว่าแฟนๆ ละครที่ติดตามผลงานของเธอคงไม่ทราบเรื่องมาก่อน

ดาราสาว แวร์ โซว ป่วยหนักเป็นโรคซึมเศร้าช่วงหลายปีที่ผ่านมา เจ้าตัวเปิดใจอาการป่วยว่า เกิดจากภูมิแพ้ด้วยและมีอาการ ซึมเศร้านอนไม่หลับ มีอาการเครียด ถึงขั้นทะเลาะกับน้องคนดี ลูกสาว จนอาละวาดบ้านพัง ก่อนเอามีดอีโต้สับตัวเอง ต่อ หน้าลูก แต่โชคดีที่มีดไม่คม อาการหนักถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายพร้อมลูก จนลูกสาว มีอาการตามไปด้วย เจ้าตัวจึงตัดสินใจไปพบแพทย์ทำการรักษา

ดาราสาว เผยด้วยว่า ขนาดไปกองละครก็ไม่มีเพื่อนดารากล้าเข้าใกล้ จะตาขวาง เราก็ไม่รู้ตัว ว่าไปทำตาขวางใส่คนอื่น ไป อาละวาดเกรี้ยวกราด เห็นช้างเป็นมด สามารถฆ่าใครก็ได้

 

บทความแนะนำ คลิก >> เป็น โรคซึมเศร้า ตั้งครรภ์ ได้ไหม?

 

“ลูกก็ได้รับผลกระทบจากเรา เพราะเราโมโห เราทำร้ายตัวเองให้ลูกเห็น บางทีไปกดดันลูก ทำโทษลูก ลูกเองก็เกิด ความเครียด สุดท้ายจนลูกเองก็เกิดความรู้สึกว่าอยากตายเหมือนกัน เค้าก็สับสนว่าจะอยากอยู่ทำไม แต่เค้าก็ยังอยากอยู่ เพราะเค้ายังเด็ก แต่บางครั้งเจอความเกรี้ยวกราดความทุกข์เศร้าที่เราสร้างขึ้นมา เขาก็ไม่อยากอยู่ สุดท้ายก็เลยไปหาหมอทั้ง คู่ จากนั้นเหตุการณ์ดีขึ้น หาหมอมา 3 เดือนกว่า มีแต่รอยยิ้ม เสียงหัวเราะในบ้าน เรากับลูกก็ดีขึ้น รักกันมากขึ้น เข้าใจกัน มากขึ้น แต่มีปัญหาเล่นละครลำบาก เพราะยาทำให้เราชิล หมอบอกว่าถ้าทานยา ทำตามหมอบอก ปีหนึ่งเราก็หาย บางทีเรา ก็แอบหยุดยา เพราะเล่นละครไม่ได้”

ดาราสาว ทิ้งท้ายว่า ตอนนี้ก็ยังมีแวบๆ ที่คิดอยากตาย ในเวลาเราเครียดมากๆ โดนกดดันปัญหาเข้ามา ก็ต้องคุมสติให้ได้  เพราะเราก็อยากอยู่กับลูกไปนานๆ – ที่มาข่าว : ข่าวสด ออนไลน์

อ่านต่อ สังเกตอาการคนเริ่มป่วยซึมเศร้า หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ลักษณะอาการของคนที่เริ่มป่วยซึมเศร้า

ซึมเศร้าไม่ใช่อาการป่วยที่เป็นเรื่องไกลตัวของใครหลายๆ คนเลยค่ะ โดยเฉพาะครอบครัวที่เพิ่งมีลูกเล็ก ที่คุณแม่อาจมีอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้ และหากปล่อยไว้ไม่รักษาบรรเทาอาการให้ดีขึ้น อาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาวได้ค่ะ สำหรับอาการของคนเริ่มป่วยซึมเศร้า สามารถสังเกตได้ดังนี้ คือ…

  1. อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป ที่พบบ่อยคือจะกลายเป็นคนเศร้าสร้อย หดหู่ สะเทือนใจง่าย ร้องไห้บ่อย เรื่องเล็กๆน้อยๆ ก็ดูเหมือนจะอ่อนไหวไปหมด บางคนอาจไม่มีอารมณ์เศร้าชัดเจนแต่จะบอกว่าจิตใจหม่นหมอง ไม่แจ่มใส ไม่สดชื่นเหมือนเดิม บางคนอาจมีความรู้สึกเบื่อหน่ายไปหมดทุกสิ่งทุกอย่าง สิ่งที่เดิมตนเคยทำแล้วเพลินใจหรือสบายใจ เช่น ฟัง เพลง พบปะเพื่อนฝูง เข้าวัด ก็ไม่อยากทำหรือทำแล้วก็ไม่ทำให้สบายใจขึ้น บ้างก็รู้สึกเบื่อไปหมดตั้งแต่ตื่นเช้ามา บางคนอาจมีอารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวง่าย อะไรก็ดูขวางหูขวางตาไปหมด กลายเป็นคนอารมณ์ร้าย ไม่ใจเย็นเหมือนก่อน[1]
  2. ความคิดเปลี่ยนไป มองอะไรก็รู้สึกว่าแย่ไปหมด มองชีวิตที่ผ่านมาในอดีตก็เห็นแต่ความผิดพลาดความล้มเหลวของตนเอง ชีวิตตอนนี้ก็รู้สึกว่าอะไรๆ ก็ดูแย่ไปหมด ไม่มีใครช่วยอะไรได้ ไม่เห็นทางออก มองอนาคตไม่เห็น รู้สึกท้อแท้หมดหวังกับชีวิต[2]
  3. สมาธิความจำแย่ลง จะหลงลืมง่าย โดยเฉพาะกับเรื่องใหม่ๆ วางของไว้ที่ไหนก็นึกไม่ออก ญาติเพิ่งพูดด้วยเมื่อเช้าก็นึกไม่ออกว่าเขาสั่งว่าอะไร จิตใจเหม่อลอยบ่อย ทำอะไรไม่ได้นานเนื่องจากสมาธิไม่มี ดูโทรทัศน์นานๆ จะไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือก็ได้ไม่ถึงหน้า ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานผิดๆ ถูกๆ[3]
  4. มีอาการทางร่างกายต่างๆ ร่วม ที่พบบ่อยคือจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ซึ่งเมื่อพบร่วมกับอารมณ์รู้สึกเบื่อหน่ายไม่อยากทำอะไร ก็จะทำให้คนอื่นดูว่าเป็นคนขี้เกียจ ปัญหาด้านการนอนก็พบบ่อยเช่นกัน มักจะหลับยาก นอนไม่เต็มอิ่ม หลับๆตื่นๆ บางคนตื่นแต่เช้ามืดแล้วนอนต่อไม่ได้ ส่วนใหญ่จะรู้สึกเบื่ออาหาร ไม่เจริญอาหารเหมือนเดิม น้ำหนักลดลงมาก บางคนลดลงหลายกิโลกรัมภายใน 1 เดือน นอกจากนี้ยังอาจมีอาการท้องผูก อืดแน่นท้อง ปากคอแห้ง บางคนอาจมีอาการปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว[4]
  5. ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างเปลี่ยนไป ดังกล่าวบ้างแล้วข้างต้น ผู้ที่เป็นโรคนี้มักจะดูซึมลง ไม่ร่าเริง แจ่มใส เหมือนก่อน จะเก็บตัวมากขึ้น ไม่ค่อยพูดจากับใคร บางคนอาจกลายเป็นคนใจน้อย อ่อนไหวง่าย ซึ่งคนรอบข้างก็มักจะไม่เข้าใจว่าทำไมเขาถึงเปลี่ยนไป บางคนอาจหงุดหงิดบ่อยกว่าเดิม แม่บ้านอาจทนที่ลูกๆ ซนไม่ได้ หรือมีปากเสียงระหว่างคู่ครองบ่อยๆ[5]
  6. การงานแย่ลง ความรับผิดชอบต่อการงานก็ลดลง ถ้าเป็นแม่บ้านงานบ้านก็ไม่ได้ทำ หรือทำลวกๆ เพียงให้ผ่านๆ ไป คนที่ทำงานสำนักงานก็จะทำงานที่ละเอียดไม่ได้เพราะสมาธิไม่มี ในช่วงแรกๆ ผู้ที่เป็นอาจจะพอฝืนใจตัวเองให้ทำได้ แต่พอเป็นมากๆ ขึ้นก็จะหมดพลังที่จะต่อสู้ เริ่มลางานขาดงานบ่อยๆ ซึ่งหากไม่มีผู้เข้าใจหรือให้การช่วยเหลือก็มักจะถูกให้ออกจาก งาน[6]
  7. อาการโรคจิต จะพบในรายที่เป็นรุนแรงซึ่งนอกจากผู้ที่เป็นจะมีอาการซึมเศร้ามากแล้ว จะยังพบว่ามีอาการของโรคจิตได้แก่ อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนร่วมด้วย ที่พบบ่อยคือ จะเชื่อว่ามีคนคอยกลั่นแกล้ง หรือประสงค์ร้ายต่อตนเอง อาจมีหูแว่วเสียงคนมาพูดคุยด้วย[7]

อ่านต่อ ข้อควรปฏิบัติในคนที่มีภาวะซึมเศร้า หน้า 3

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ข้อควรปฏิบัติสำหรับคนที่มีภาวะซึมเศร้า

การพาตัวเราเองให้ออกห่างจากภาวะซึมเศร้า เชื่อว่าใครหลายๆ คนอาจทำได้ยาก อาจเพราะด้วยปัจจัยแวดล้อมหลายๆ อย่างที่นำพาให้ต้องประสบกับอาการซึมเศร้าในชีวิต และไม่รู้จะหาทางออกให้ตัวเองอย่างไร ผู้เขียนมีข้อควรปฏิบัติง่ายๆ เพื่อดูแลตัวเองจากภาวะซึมเศร้า ซึ่งคำแนะนำนี้ผู้เขียนอนุญาตนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้มาจาก นพ.พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์  โรงพยาบาลมนารมย์[8] ซึ่งคุณหมอได้ชีแนะไว้ดังนี้…

  1. อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป หรือรับผิดชอบมากเกินไป
  2. แยกแยะปัญหาใหญ่ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ พร้อมทั้งจัดเรียงความสำคัญก่อนหลังและลงมือทำเท่าที่สามารถทำได้
  3. อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
  4. พยายามทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าอยู่เพียงลำพัง
  5. เลือกทำกิจกรรมที่จะสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้น หรือเพลิดเพลินและไม่หนักเกินไปเช่นการออกกำลังเบาๆ การชมภาพยนตร์ การร่วมทำกิจกรรมทางสังคม
  6. อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมากๆ เช่น การลาออกจากงาน การแต่งงาน หรือ การหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิดที่รู้จักผู้ป่วยดี และ ต้องเป็นบุคคลที่สามารถพิจารณาเหตุการณ์นั้นอย่าง ที่ยงตรง มีความเป็นกลาง และ ปราศจากอคติที่เกิดจากอารมณ์มาบดบัง ถ้าเป็นไปได้ และ ดีที่สุด คือ เลื่อนการตัดสินใจออกไปจนกว่าภาวะโรคซึมเศร้าจะหายไปหรือดีขึ้น มากแล้ว
  7. ไม่ควรตำหนิ หรือลงโทษตนเองที่ไม่สามารถทำ ได้อย่างที่ต้องการ เพราะ ไมใช่ความผิดของผู้ป่วย ควรทำเท่าที่ตนเองทำได้
  8. อย่ายอมรับว่าความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะ ซึมเศร้าว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเองเพราะโดยแท้จริงแล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของโรค หรือ ความเจ็บป่วย และ สามารถหายไปได้เมื่อรักษา
  9. ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลายเป็นคนที่ต้องการ ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นแต่ก็อาจมีบุคคลรอบตัวๆ ที่ไม่เข้าใจในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย และ อาจสนองตอบในทางตรงกันข้ามและกลายเป็น การซ้ำเติมโดยไม่ได้ตั้งใจ[8]

 

บทความแนะนำ คลิก >> อย่ารู้สึกผิดเลยถ้าแม่ลูกวัย 1 ขวบจะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้าไม่ใช่เรื่องไกลตัว เพราะสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนในครอบครัว ไม่ว่าจะเด็ก ผู้ใหญ่ ก็สามารถเกิดภาวะป่วยซึมเศร้าได้เช่นกันค่ะ แนะนำว่าเมื่อพบว่าตัวเอง หรือคนในครอบครัวมีอาการเริ่มต้นว่าจะเป็นซึมเศร้า ขอให้รีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที และจะได้หายขาดโดยเร็ว ที่สำคัญกำลังใจจากครอบครัว และคนรอบข้างก็เป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับคนที่ป่วยซึมเศร้า …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

สามีเขียนเหตุผล 15 ข้อที่ทำให้เขารักภรรยาผู้มีอาการของโรคซึมเศร้า
ซึมเศร้าหลังคลอด อาการ ที่แม่หลังคลอดควรรู้ !
10 สัญญาณ แม่ท้องกำลังเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
1,2,3,4,5,6,7โรคซึมเศร้าโดยละเอียด. คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
8 นพ.พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์.  จิตแพทย์แนะ 9 วิธี ต้านซึมเศร้า. โรงพยาบาลมนารมย์
้อมูลและภาพบางส่วนจาก : www.thairath.co.th