ลูกจมน้ำ ห่วงยาง เป็นเหตุ …เพราะการปล่อยให้ลูกเล่นน้ำ โดยอยู่ในห่วงยาง ซึ่งคุณพ่อคุณแม่คิดว่าน่าจะปลอดภัย แต่ไม่ใช่เลย ถ้าได้เห็นคลิปนี้!
การเล่นน้ำเป็นกิจกรรมที่เด็กๆ ชื่นชอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ้านเราซึ่งอากาศร้อนเกือบตลอดทั้งปี ทั้งนี้ในการพาลูกไปเล่นน้ำที่สระ จึงต้องให้ความใส่ใจและระมัดระวังในเรื่องความปลอดภัยให้มากเป็นพิเศษ มิฉะนั้นอาจจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับลูกน้อยของคุณได้อย่างกรณีนี้
ลูกจมน้ำ ห่วงยาง เป็นเหตุ พ่อแม่ไม่ควรประมาท (มีคลิป)
โดยเหตุการณ์จมน้ำคาห่วงยาง ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อ Kou Samedy គូ សាមម៉ឺឌី ได้โพสต์คลิปอุทาหรณ์เตือนใจถึงคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครองทั้งหลาย ที่ชอบให้ลูกหลานเล่นน้ำ และถึงแม้ว่าจะมีห่วงยางหรือชูชีพป้องกันชีวิตอยู่แล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ควรจะปล่อยให้ลูกน้อยตัวเล็กๆ นั้นอยู่ตามลำพัง เพราะถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นมันก็ยากเกินที่จะแก้ไข ดังเช่นเหตุการณ์นี้
ซึ่งเป็นภาพที่บันทึกได้โดยกล้องวงจรปิดภายในศูนย์ว่ายน้ำ ลียูเบาเบ่ย ที่ประเทศจีน เป็นคลิปวิดีโอความยาวประมาณ 1 นาทีครึ่ง เผยให้เห็นเหตุการณ์ขณะที่เด็กคนหนึ่งกำลังว่ายเล่นอยู่ในอ่างน้ำโดยที่สวมใส่ห่วงยางเอาไว้ ซึ่งในบริเวณรอบๆไม่มีผู้ปกครองคอยดูแลแม้แต่คนเดียว (มีพนักงานเดินผ่านไป แต่ก็ไม่ได้สนใจอะไร)
และในเวลาต่อมา เด็กคนดังกล่าวว่ายน้ำเล่นอย่างเพลิดเพลิน สนุกจนไม่ทันระวัง ทำให้ห่วงยางพลิกคว่ำ หน้าเด็กจมลงไปอยู่ในน้ำตะเกียกตะกายหายใจไม่ออกเป็นเวลานานหลายวินาที จนเด็กน้อยดูอ่อนแรง ก่อนที่จะมีผู้เห็นเหตุการณ์เข้ามาช่วยเหลือ ทำการปั๊มหัวใจ ได้ทันการณ์
ชมคลิป >> “เหตุการณ์จริง! เด็กน้อยจมน้ำคาห่วงยาง” คลิกหน้า 2
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- อันตรายจากสระว่ายน้ำ ภัยใกล้ตัวลูกน้อย
- ลูกป่วยเป็นโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบเพราะว่ายน้ำ
- เล่นน้ำ ในสระพลาสติก + กะละมัง แบบไหนปลอดภัย
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thesun.co.uk
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
คลิปเหตุการณ์จริง! เด็กน้อยจมน้ำคาห่วงยาง
បើជាអ្នក ថាតើគួរទុកកូនជិតស្លាប់យ៉ាងនេះឬទេ? អ្នកនឹងសោកស្ដាយបើសិនជាខកខានមើលវីដេអូមិនដល់ចប់ ទាំងនេះជាក្តីធ្វេសប្រហែសមួយ ស្ទើរតែឆ្កួតលីលាបើសិនជាកូនក្មេងម្នាក់នេះស្លាប់។ រឿងហេតុថ្មីៗកាលពីម្សិលមិញ។ សូមទស្សនាក្តីរន្ធត់មួយនេះ និងសូមរក្សាទុកក្នុងចិត្ត ជាបទពិសោធន៍ក្នុងជីវិតរស់នៅប្រចាំថ្ងៃរបស់អ្នក។ ខ្ញុំមើលដោយទឹកភ្នែកផង ខឹងផង។
โพสต์โดย Kou Samedy គូ សាមម៉ឺឌី บน 17 พฤษภาคม 2017
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Kou Samedy គូ សាមម៉ឺឌី
ซึ่งหลังจากได้ดูคลิปนี้แล้ว ทาง Amarin Baby & Kids ก็ขอให้คลิปนี้เป็นอุทาหรณ์ให้คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครองทุกคนว่าอย่าวางใจว่าเด็กมีห่วงยาง เพราะแม้จะมีห่วงยางและอยู่อ่างเล็กๆก็อาจทำให้เด็กจมน้ำได้นะคะ
วิธีการช่วยชีวิตลูกน้อยหลังจมน้ำ
การปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีจะช่วยเหลือเด็กจมน้ำได้ เด็กจมน้ำจะขาดอากาศหายใจและหมดสติ น้ำที่สำลักเข้าไปในปอดแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่วินาที ความพยายามที่จะเอาน้ำออก เช่น การอุ้มพาดบ่าเพื่อกระทุ้งเอาน้ำออก หรือการวางคว่ำบนกระทะใบบัวแล้วรีดน้ำออก ไม่มีความจำเป็นและอาจก่อให้เกิดผลเสียได้น้ำที่ไหลออกมาจากการกระทุ้งหรือรีดท้องนั้นเป็นน้ำจากกระเพาะอาหาร ไม่ใช่น้ำจากปอด
ดังนั้น หลักการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่สำคัญที่สุด คือการช่วยให้เด็กหายใจได้ให้เร็วที่สุด โดย รศ.นพ.วรการ พรหมพันธุ์ กุมารแพทย์โรคหัวใจ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำถึง 8 ขั้นตอนช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ดังนี้
- รีบนำเด็กขึ้นจากน้ำให้เร็วที่สุด
- แจ้ง 1669 หรือ หน่วยพยาบาลใกล้เคียงโดยเร็วที่สุด
- ห้ามนำเด็กวิ่งอุ้มพาดบ่า เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้น้ำในปอดไหลออกมาแล้ว ยังทำให้การช่วยชีวิตเด็กช้าลงไปอีก
- วางเด็กลงบนพื้นแห้ง แข็ง ถอดเสื้อที่เปียกออก เช็ดตัวเด็กให้แห้งเท่าที่จะทำได้
- หากเด็กไม่รู้สึกตัว ให้คลำชีพจรบริเวณคอ (เด็กโต) หรือ บริเวณข้อศอก (เด็กเล็ก)
- หากไม่พบว่ามีชีพจร หรือ ไม่แน่ใจว่ามีชีพจร ให้เริ่มนวดหัวใจ โดยวางสันมือบริเวณกลางหน้าอก ต่ำกว่าราวนมเล็กน้อย กดหน้าอกให้ยุบลงไปประมาณ 1 ใน 3 ของความหนาของหน้าอก ด้วยอัตราอย่างน้อย 100 ครั้ง/นาที ทำติดต่อกัน 30 ครั้ง จากนั้นบีบจมูกและเป่าปากพอให้หน้าอกยกขึ้น 2 ครั้ง และรีบนวดหัวใจต่อ ทำสลับกันในอัตราส่วน 30:2 ติดต่อกัน 5 ชุด (หรือประมาณ 2 นาที)
- เมื่อครบ 2 นาทีแล้ว ให้ตรวจคลำชีพจรอีกครั้ง หากมีชีพจร หรือ เริ่มหายใจได้เอง ให้หยุดนวดหัวใจ จัดท่านอนตะแคงเพื่อเปิดทางเดินหายใจ และรีบนำส่งโรงพยาบาล
- หากยังไม่มีชีพจร หลังครบ 2 นาที ให้นวดหัวใจ สลับเป่าปาก ต่อไปเรื่อยๆ และตรวจชีพจรซ้ำอีกครั้ง เมื่อครบ 2 นาที ทำซ้ำไปจนกว่าจะมีทีมแพทย์มาช่วยเหลือ หรือ จนกว่าเด็กจะเริ่มรู้สึกตัว
ทั้งนี้ในประเทศไทย บ้านเราก็มักมีอุบัติเหตุเด็กจมน้ำเสียชีวิตบ่อยครั้ง แต่มีผู้ใหญ่ไม่น้อยที่คิดว่า “เด็กโตแล้ว” จึงวางใจเกินไป คิดเอง (เออเอง) ว่าเด็กวัยนี้เข้าใจดีแล้วเรื่องเสี่ยงไม่เสี่ยง หลีกเลี่ยงภัยได้เองแล้ว จึงไม่ต้องดูแลใกล้ชิดจนอาจถึงขั้นปล่อยปละละเลย จำนวนของเด็กวัยนี้ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุสารพัดจึงยังสูงอย่างต่อเนื่อง แล้วจะให้ลูกเล่นน้ำอย่างไรให้ปลอดภัย ไปดูคำแนะนำจาก รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี กันค่ะ
อ่านต่อ >> “ให้ลูกน้อยเล่นน้ำอย่างไรให้ปลอดภัย” คลิกหน้า 3
แนะนำบทความน่าอ่าน คลิกเลย!
- ใช้ขวดลอยตัวในน้ำ ช่วยลูกจากการจมน้ำ เทคนิคที่พ่อแม่ต้องรู้
- เทคนิคสอนเด็กว่ายน้ำเอาตัวรอด ป้องกันเด็กจมน้ำ
- พาเบบี๋ลงอ่างให้สนุกและปลอดภัย
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ภัยจากการปล่อยให้ลูกเล่นน้ำ เป็นเหตุให้ ลูกจมน้ำ
เด็กโตเข้าใจเหตุผล แต่ยังไม่รู้ความเสี่ยง
แม้ความสนใจกระตือรือร้นเรียนรู้โลก คือธรรมชาติตามวัยที่ควรจะสนับสนุนให้ลูกได้เรียนรู้ เพื่อเกิดทักษะ เพื่อพัฒนาการทั้งจิตใจ ร่างกายและสังคม แต่เรื่องของ “ความปลอดภัย” ก็ยังเป็นสิ่งที่จะต้องเอาใจใส่ให้มาก
เพราะแม้ลูกวัยนี้จะเริ่มเข้าใจเหตุและผล เข้าใจความเสี่ยงและเชื่อมโยงถึงผลการบาดเจ็บที่จะตามมาได้แล้ว รวมถึงความใกล้ชิดของการดูแลเด็กโต ที่พ่อแม่สามารถให้เขาอยู่ในระยะพ้นสายตาได้ แต่ก็ต้องตรวจสอบดูแลเด็กทุก 1-2 ชั่วโมง และต้องมั่นใจว่าเขาอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ผู้ใหญ่ได้จัดการความเสี่ยงไว้แล้วไม่ว่าจะเป็นพื้นที่รอบๆ ชุมชนหรือโรงเรียน
เด็กวัยนี้ในวันหยุด หรือในช่วงบ่ายๆ เย็นๆ หลังเลิกเรียนมักชวนกันไปเล่นน้ำในละแวกบ้าน ไม่ว่าจะเป็น บ่อน้ำใช้ในชุมชน ลำคลอง บ่อขุด หรือ สระว่ายน้ำที่อยู่รอบๆ หมู่บ้าน อยู่รอบๆ ชุมชน ยิ่งในช่วงวันหยุดยาวๆ เช่น ช่วงปิดเทอมเล็ก (ราวเดือนตุลาคม) และ ปิดเทอมใหญ่ (เดือนเมษายน) ตัวเลขเด็กจมน้ำเสียชีวิตจะพุ่งพรวดเสมอ
♥ Must read : มาดูวิธีเลือกซื้อ ชุดว่ายน้ำ ให้เด็กผู้หญิงกันเถอะ
เหตุที่ทำให้เด็กวัยนี้เสียชีวิตเพราะจมน้ำ คือ ว่ายน้ำไม่เป็น แล้วไปเล่นใกล้น้ำ พลัดตกลงไปโดยยังไม่ได้ตั้งใจลงว่ายน้ำเล่นเลย บางคนก็ตั้งใจลงน้ำเล่นกับเพื่อนทั้งๆ ที่ว่ายไม่เป็น ตั้งใจจะเล่นตื้นๆ แต่พลัดไหลไปที่ลึก หรือ พอจะเป็นแต่ว่ายไปช่วยเพื่อนที่จมน้ำทั้งๆ ที่ตนเองยังไม่มีทักษะในการช่วยคนจมน้ำ แหล่งน้ำบางแหล่งมีความเสี่ยงมาก เด็กๆ ไม่ควรลงเล่นตั้งแต่แรก เช่น น้ำไหลแรง
พ่อแม่ทำอะไรได้บ้าง เพื่อช่วยลูกพ้นภัยจมน้ำ
ฝึกทักษะความปลอดภัยทางน้ำ 5 ประการ ขอชวนคุณพ่อคุณแม่พาลูกอายุ 5-7 ขวบไปฝึกทักษะความปลอดภัยทางน้ำ 5 ประการ ได้แก่
- เรียนรู้จุดเสี่ยง
- ลอยตัวในน้ำได้เกินกว่า 3 นาทีหรือ
- ว่ายน้ำได้ไกลไม่น้อยกว่า 15 เมตร
- ช่วยเพื่อนด้วยการ ตะโกน โยน ยื่น
- รู้จักใช้ชูชีพ
หมายความ ของ การ “ตะโกน-โยน-ยื่น”
- ตะโกนดังๆ เพื่อเรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วย
- โยนวัสดุที่ลอยน้ำได้ (ที่พอหาได้ในบริเวณนั้น เพราะเด็กจะขาดอากาศหายใจ จมน้ำตายภายใน 4 นาทีหากช่วยไม่ทัน) เช่น ลูกมะพร้าว ถังแกลลอนเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า แผ่นโฟม ฯลฯ เพื่อให้คนจะจมน้ำเกาะไว้ก่อน
- ยื่นวัสดุยาวๆ เช่น แท่งไม้ กิ่งไม้ กางเกง เสื้อ เพื่อให้คนจะจมน้ำจับ แล้วช่วยดึงเข้ามา
⇒ รวมไปถึง การเตรียมและใช้เสื้อชูชีพทุกครั้งที่ไปเที่ยวทางเรือ คุณพ่อคุณแม่จะต้องเตรียมเสื้อชูชีพ และก่อนลงเรือต้องให้ลูกสวมไว้เสมอ
⇒ ช่วยกันจัดสิ่งแวดล้อมปลอดภัย ท้องถิ่น ท้องที่ ชุมชนต้องให้ความสำคัญในการจัดการสิ่งแวดล้อม พื้นที่เล่นให้ปลอดภัย และเด็กวัยสำรวจโลกนี้มักบาดเจ็บในเขตชุมชน ไม่ใช่ในบ้านเหมือนเด็กเล็ก ครอบครัวไม่สามารถจัดการความปลอดภัยในพื้นที่ในเขตชุมชนได้เอง ไม่เหมือนพื้นที่ในบ้าน เช่นแหล่งน้ำเสี่ยง
⇒ ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบจะต้องปักป้ายเตือนอันตราย และห้ามลงน้ำตัวโตๆ หรือล้อมรั้วอย่างหนาแน่น ในบริเวณ เขตแหล่งน้ำเสี่ยง (เช่น มีน้ำวน น้ำลึกมาก พื้นน้ำไม่เสมอ หรือ เสี่ยงไฟดูด ฯลฯ) มิฉะนั้นเด็กก็จะกลายเป็นเหยื่ออีกเช่นเคย
อย่างไรก็ดี หากคุณพ่อคุณแม่ต้องการจะหากลูกเล่นน้ำ การพาลูกน้อยไปฝึกหัดเรียนว่ยน้ำตั้งแต่ยังเล็กๆ ก็เป็นเรื่องดี หรือหากคุณพ่อคุณแม่หรือลูกยังไม้พร้อมที่จะเรียน การปล่อยให้ลูกเล่นน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคอยดูแลและระมัดระวังอย่างเป็นพิเศษ เพราะถึงแม้จะมีห่วงยาง หรือเสื้อชูชีพ หรือหากลูกว่ายน้ำเป็น อันตรายหรืออุบัติเหตุทางน้ำก็เกิดขึ้นได้เสมอ เพราะมนุษย์เราไม่สามารถหายใจใต้น้ำได้นะคะ
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก!
- วิธีช่วยเหลือลูกน้อย เมื่ออยู่ในสถานการณ์เสี่ยงตาย
- ผลิตภัณฑ์อันตราย สำหรับเด็กที่พ่อแม่ต้องระวัง
- อันตราย ในบ้าน 12 สิ่งสำหรับลูกวัยใกล้ 3 ขวบ
บทความโดย : รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี