AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ลูกน้อยได้รับอันตราย เพราะนั่งคาร์ซีทผิดวิธี

ลูกน้อยได้รับอันตราย เพราะนั่งคาร์ซีทผิดวิธี

จากเฟสบุ๊คเพจนมแม่แฮปปี้ ที่ออกมาเล่าถึงอันตรายจากการ นั่งคาร์ซีทผิดวิธี ของหนูน้อยวัย 21 เดือน ที่นั่งคาร์ซีทหันหน้าออกในตำแหน่งเบาะข้างคนขับ โดยรถมีการเบรกกะทันหัน Airbag จึงออกมากระแทกหน้าหนูน้อย ทั้งที่คาร์ซีทของเด็กควรจะอยู่ข้างหลัง ไม่ใช่ข้างคนขับ

นั่งคาร์ซีทผิดวิธี

เด็กคนนี้ อายุ 21 เดือน ยังไม่สองขวบดี นั่งในคาร์ซีทหันหน้าออก ในตำแหน่งเบาะข้างคนขับค่ะ

รถเบรกกะทันหัน และ Airbag ก็ลั่นออกมากระแทกหน้า จะบอกว่า คาร์ซีทควรอยู่เบาะหลังค่ะ

ก่อน 2 ขวบควร หันหน้าเข้าหาเบาะ หลัง 2 ขวบ หันหน้าออกได้ ใครที่วางกระเช้าหรือคาร์ซีท ‪#‎หันหน้าเข้าเบาะ ‪#‎ข้างคนขับ ต้องย้ายกลับไปด้านหลังทันทีนะคะ หรือหลังสงกรานต์ไปเข้าศูนย์ให้เค้าปลด Airbag ตรงตำแหน่งนั้น เพราะถ้า Airbag ลั่น ลูกน้อยคอหักสถานเดียว อันตรายมากที่สุดค่ะ!

แชร์ประสบการณ์ให้ลูกน้อยนั่งนั่งคาร์ซีทผิดวิธี

เด็กควรมีอายุ 13 ปีขึ้นไปค่อยมานั่งหน้าข้างคนขับนะคะ สาเหตุเพราะ…

1)  Airbag ลั่นกระแทกลูกได้ (ตามภาพ)

2) ลูกยังสูงไม่พอ เมื่อเข็มขัดนิรภัย (safety belt) ไม่พาดบนไหล่ก็จะทำงานได้ไม่ดี

3) เมื่อเข็มขัดทำงานได้ไม่ดี หากเบรกกะทันหัน มีผลให้ลูกกระแทกคอนโซลหรือกระจกหน้ารถ กระเด็นออกนอกรถได้

หากไม่มีคาร์ซีท ควรให้ลูกนั่งด้านหลังเบาะ อย่าให้นั่งตรงกลางเพราะหากเบรกแรงๆ อาจกระเด็นออกหน้ารถได้เช่นกันค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “คาร์ซีทความปลอดภัยของลูกที่ไม่ควรมองข้าม” คลิกหน้า 2

คาร์ซีทความปลอดภัยของลูกน้อยที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

1.พ่อ แม่ รู้ว่าจะดูแลตัวเองอย่างไร แต่กลับปล่อยให้ลูกเสี่ยงอันตรายตลอดเวลา

อันตรายภายในรถ ความปลอดภัยของลูกน้อยที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

2.เด็กมักไม่ยอมนั่งคาร์ซีท และไม่ชอบรัดเข็มขัดตลอดเวลา เมื่อเกิดอุบัติเหตุ บางรายพุ่งออกนอกรถไปเลย

ลูกไม่ชอบนั่งคาร์ซีทหรือไม่ชอบรัดเข็มขัด อันตรายเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
อันตรายจากการไม่นั่งคาร์ซีท

3.การไม่มีคาร์ซีท แล้วเบรกไม่ทัน เมื่อชนด้วยความเร็วแค่ 30 กม./ชม. เท่ากับโยนเด็กลงมาจากชั้น 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “คาร์ซีทคืออะไร? แล้วทำไมอุ้มลูกไว้กับตัว?” คลิกหน้า 3

คาร์ซีทคืออะไร?

Car Seat หรือ เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก เปรียบเสมือนเข็มขัดนิรภัยสำหรับเด็ก ซึ่งมาพร้อมกับระบบเข็มขัดที่ยึดติดกับที่นั่ง และที่สำคัญ car seat นี้ จัดเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยลดอัตราการบาดเจ็บและเสียชีวิตในเด็กได้อย่างน้อยร้อยละ 50-70 จึงเป็นที่นิยมในต่างประเทศมาก เช่น สหรัฐอเมริกา, อังกฤษ, แคนาดา, ออสเตรเลีย, เยอรมัน และประเทศในโซนยุโรปอื่นๆ

ทำไมอุ้มลูกไว้กับตัวโดยไม่ใช้คาร์ซีทถึงไม่ปลอดภัย?

ชมคลิปการทดลอง เมื่อคุณแม่อุ้มลูกไว้บนตัก หากเกิดอุบัติเหตุ ลูกน้อยอาจได้รับอันตรายมากกว่าที่คิด

คาร์ซีทใช้ผิดวิธี อันตรายถึงชีวิต

คุณพ่อ คุณแม่คงไม่อยากผิดพลาดที่ตัดสินใจซื่อ Car Seat ราคาแพงมาแล้ว แต่ใช้ไม่ถูกวิธี จนลูกอาจได้รับอันตรายได้ ซึ่งในสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายเข้มงวดให้เด็กทุกคนใช้เบาะนิรภัยเวลานั่งรถยนต์ ก็ยังมีตัวเลขถึง 50% ที่ใช้อุปกรณ์อย่างไม่ถูกวิธี จนทำให้ลูกเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

1.ติดไม่แน่น ต้องติดตั้งกับเบาะรถอย่างแน่นหนา มีเข็มขัดนิรภัยในรถสอดกับที่ล็อก คาดทับเบาะ หรือมีตัวล็อกกับเบาะรถให้แน่นเสริมเพิ่มเข้ามา ลองขยับดู ถ้าเลื่อนไปมามากกว่า 1 นิ้ว แสดงว่าหลวมเกินไป

2.วางผิดตำแหน่ง พ่อแม่หลายคนเป็นห่วงกลัวลูกร้องหา จึงติดไว้ข้างคนขับ นั่นคือสิ่งอันตราย เพราะถุงลมอาจปิดจมูกลูกจนหายใจไม่ออก ควรตั้งเบาะนิรภัยไว้กึ่งกลางเบาะหลังจึงจะปลอดภัยที่สุด

อันตรายหากติดตั้งคาร์ซีทผิดวิธี

3.สายคาดหลวมหรือแน่นเกินไป พ่อแม่บางคนคลายสายคาดเพราะกลัวลูกอึกอัด ถ้ารถเหวี่ยงแรงๆ ลูกอาจหลุดออกจากเบาะได้ หรือถ้ารัดแน่นเกินไปลูกก็อาจเป็นผื่นแดงช้ำได้ ควรรัดให้พอดี พอให้นิ้วสอดได้

4.สายคาดอยู่ผิดที่ ซึ่งปกติต้องอยู่ตำแหน่งไหล่ทั้ง 2 ข้าง และต้นขา ไม่เลื่อนไปอยู่ที่คอ หน้า หรือท้องของลูก ควรอยู่ในระดับรักแร้ เพราะถ้าไม่อยู่ในตำแหน่งไม่เหมาะสม อาจเกิดการกดทับ และเป็นอันตรายได้

5.หัน car seat ผิดด้าน เด็กเล็กที่อายุไม่ครบ 1 ขวบ หรือน้ำหนักไม่เกิน 9 กิโลกรัม เบาะนิรภัยต้องวางหันหน้าเข้าเบาะหลัง เพราะเมื่อมีอุบัติเหตุจะมีเครื่องกีดขวางหรือกันแรงกระแทกจากด้านหน้าได้ระดับหนึ่ง

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “คลิปการทดสอบการติดตั้งคาร์ซีทในแบบต่างๆ” คลิกหน้า 4

ชมคลิปการทดสอบการติดตั้งคาร์ซีทในแบบต่างๆ เพื่อเปรียบเทียบว่าติดตั้งแบบไหนปลอดภัยที่สุด

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “คาร์ซีทแบบไหนปลอดภัยกับลูกน้อย” คลิกหน้า 5

คาร์ซีทแบบไหนปลอดภัยกับลูกน้อย

1.เด็กแรกเกิดถึง 6-9 เดือน น้ำหนักไม่เกิน 10 กิโลกรัม ให้ใช้ที่นั่งสำหรับทารก lay-flat travel infant seat

คาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิดถึง 6-9 เดือน

2.เด็กแรกเกิด ถึงอายุ 12-15 เดือน น้ำหนักไม่เกิน 13 กิโลกรัม ให้ใช้แบบ Rearward-facing baby seat

คาร์ซีทสำหรับเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 12-15 เดือน

3.เด็กอายุ 9 เดือนถึง 4 ปี น้ำหนัก 9-18 กิโลกรัม ให้ใช้ที่นั่งสำหรับเด็กแบบ Forward-facing child seat

คาร์ซีทสำหรับเด็กอายุ 9 เดือนถึง 4 ปี

4.สำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี หรือน้ำหนักระหว่าง 15-25 กิโลกรัม แนะนำให้ใช้แบบ Booster seat

คาร์ซีทสำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี

5.สำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี หรือน้ำหนักระหว่าง 22-36 กิโลกรัม :  แนะนำใช้แบบ Booster cushion

คาร์ซีทสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี

นอกจากนี้ เด็กทารกที่อายุยังไม่ถึง 1 ขวบ และน้ำหนักตัวยังไม่ถึง 9 ก.ก. ยังไม่ควรให้นั่งคาร์ซีทแบบหันไปด้านหน้ารถ เพราะกระดูกสันหลังของเด็กวัยนี้ยังไม่สมบูรณ์ เมื่อเกิดการเบรกแรงๆ หรือเกิดอุบัติเหตุ ศีรษะของเด็กจะถูกแรงเหวี่ยงของตัวรถ กระชากไปข้างหน้า ทำให้เสียชีวิต หรือเป็นอัมพาตได้

ชมคลิปประโยชน์ของคาร์ซีท และวิธีการเลือกซื้อคาร์ซีทได้ที่นี่

เครดิต: เฟสบุ๊คเพจนมแม่แฮปปี้, daily.rabbit.co.th, www.happybelt.co.th

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

ไม่ติดคาร์ซีท! รถเสียหลักชนที่กั้น ทารกวัย 8 เดือน กระเด็นตกเสียชีวิต

เด็กทารกจำเป็นต้องใช้คาร์ซีท จริงหรือ?

คาร์ซีท คือสิ่งจำเป็นแค่ไหนสำหรับลูกน้อย?

Save

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save