AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

7 วิธีรับมือ! “ภัยช่วงปิดเทอม” ที่พ่อแม่ต้องรู้!!

อันตรายช่วงปิดเทอม เป็นเรื่องที่พ่อแม่ต้องคอยระวัง เพราะการปิดเทอมเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขที่เด็ก ๆ หลายคนรอคอยเพื่อที่จะวิ่งเล่นกับเพื่อน ๆ โดยไม่มีเวลาจำกัดเหมือนตอนเรียน แต่บ่อยครั้งก็กลับกลายเป็นฝันร้ายของพ่อแม่ที่ต้องสูญเสียลูกจากภัยอันตรายที่เกิดขึ้นรอบ ๆ บ้านและในชุมชน ดังที่เป็นข่าวน่าสลดใจให้เราเห็นกันอยู่เสมอในช่วงปิดเทอม

ในช่วงปิดเทอม ลูกๆ จะได้มีเวลาว่าง มีความเป็นอิสระ ถึงแม้จะช่วยทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลายในช่วงปิดเทอม หลังจากที่ตรากตรำเล่าเรียนกันมาอย่างหนักหนาสาหัส แต่เมื่อมีเวลาที่เป็นอิสระมากไปหรือเกินขอบเขตอาจจะใช้เวลาในทางที่ไม่ถูกไม่ควร หรือเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตรายได้ง่าย

7 วิธีรับมือ! “ภัยอันตรายช่วงปิดเทอม” ที่พ่อแม่ต้องรู้!!

“แม้ว่าบ้านจะเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยที่สุด แต่หากขาดความเอาใจใส่ดูแลสภาพแวดล้อมที่อยู่ในบ้าน และรอบๆ บ้าน รวมถึงการดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษแล้ว ก็อาจก่อให้เกิดอันตรายสำหรับเด็กได้”

และต่อไปนี้เป็นการระบุของทางกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย และก็มีการเตือนให้ป้องกันภัยที่อาจเกิดกับเด็ก ภัยที่สุ่มเสี่ยงจะเกิดกับเด็กไทยในช่วงปิดเทอม

ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้มีการแนะนำวิธีการป้องกันอุบัติเหตุ-อุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นกับเด็ก ภายในบ้าน และรอบๆ บ้าน ด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับเด็ก ดังนี้คือ..

ประตู-หน้าต่าง

ควรติดตั้งเหล็กกั้นหรือที่ยึดเพื่อป้องกันการถูกหนีบ ควรมีที่ครอบลูกบิดประตูเพื่อป้องกันเด็กกดลูกบิดเล่นจนทำให้ประตูปิดล็อก ออกมาได้, ระเบียงบ้าน ควรติดตั้งที่กั้นแบบปิดทึบและแน่นหนา  ซี่ลูกกรงไม่ควรถี่เกินไปเพราะอาจทำให้ศีรษะ แขน ขา ของเด็กเข้าไปติด และไม่ห่างเกินไปจนเด็กพลัดตกลงไป

บันได

ควรติดตั้งที่กั้นบริเวณราวบันได ช่องระหว่างราวบันไดไม่ควรห่างเกินไปจนเด็กพลัดตกได้ ไม่ควรวางของตามขั้นบันไดเพราะเด็กอาจเหยียบจนลื่นล้มตกบันได

ปลั๊กไฟ

ควรมีที่ครอบและติดตั้งบนที่สูงเพื่อป้องกันเด็กเอานิ้วหรือวัตถุอื่นแหย่ เล่นจนถูกไฟดูด, พัดลม ควรเลือกใช้แบบที่มีขาตั้งสูงและมีฝาครอบที่ปิดล็อกแน่นหนา เพื่อป้องกันเด็กเอามือแหย่ใบพัดจนโดนใบพัดบาด และเมื่อเลิกใช้งานแล้วควรถอดปลั๊กออกทุกครั้ง

ห้องครัว ของมีคม

เช่น มีด ส้อม ควรเก็บให้มิดชิด กระติกน้ำร้อน-กาต้มน้ำควรวางบนโต๊ะหรือบนชั้นที่มั่นคงแข็งแรงที่เด็ก เอื้อมไม่ถึง และไม่ควรวางบนโต๊ะที่มีผ้าคลุมยาว เพราะเด็กอาจดึงชายผ้าจนน้ำร้อนลวกตัว

จุดวางเครื่องมือ-น้ำยาเคมี

เช่น กรรไกรตัดกิ่งไม้ ตะปู ค้อน อุปกรณ์มีคม น้ำยาทำความสะอาดพื้น ผงซักฟอก ยาฆ่าแมลง สารเคมีต่างๆ หลังใช้งานเสร็จแล้วต้องเก็บในที่มิดชิด ปิดภาชนะให้แน่นหนา รวมถึงยาต่างๆ ก็ต้องเก็บให้มิดชิดพ้นมือเด็ก เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้เด็กอาจนำมาเล่นจนเกิดอันตรายถึงชีวิตได้

นอกบ้าน-รอบบ้าน

ก็ต้องระวัง ไม่ว่าจะเป็นถนน ลานกว้าง หรือแม้แต่ที่จอดรถในรั้วบ้าน เพราะเด็กอาจเกิดอันตรายจากรถได้ ไม่เว้น แม้แต่จากรถของพ่อแม่เองดังที่เคยมีข่าวน่าสะเทือนใจบ่อยครั้ง นอกจากนี้ แม่น้ำ คลอง สระ บึง บ่อ หรือแม้แต่ถังเก็บน้ำในห้องน้ำ-ในบ้าน ก็ควรระวัง เพราะเด็กอาจพลัดตกลงไปหรือลงไปเล่นน้ำจนจมน้ำเสียชีวิตได้ ซึ่งกรณีจมน้ำนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขก็เคยเตือนเป็นระยะ

อ่านต่อ >> “วิธีรับมือ 7 อันตรายช่วงปิดเทอม ที่พ่อแม่ต้องรู้” คลิกหน้า 2


ขอบคุณข้อมูลจาก : icare.kapook.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

มาช่วยกันทำช่วงปิดเทอมให้ลูกปลอดภัยกันเถิด!

อย่างไรก็ดีนอกจากภัยในบ้านที่อาจเกิดขึ้นได้แล้ว จากงานวิจัยของศูนย์วิจัยเพื่อความปลอดภัยในเด็กโรงพยาบาลรามาธิบดี พบว่า ช่วงเวลาที่เด็กๆ ได้รับอุบัติเหตุจนบาดเจ็บ หรือถึงขั้นเสียชีวิตก็คือ ช่วงเวลาแห่งการ ปิดเทอม !!

 

นอกจากบาดเจ็บแล้ว ยังพบอีกว่า เด็กๆ บ้านเรา (อายุ 1-14 ปี) ต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุถึงปีละกว่า3,300 ราย (เฉลี่ย 288 รายต่อเดือน) โดยช่วงปิดเทอมก็คือ ช่วงที่มีเด็กเสียชีวิตจากอุบัติเหตุมากที่สุด

ได้ทราบสถิติอันน่าตกใจนี้แล้ว ก็อยากชวนมาช่วยกัน “ป้องกันให้ปลอดภัยไว้ก่อน” เถอะนะครับ มาสอนเด็กๆ ให้รู้ถึงอันตรายและวิธีการหลีกเลี่ยงภาวะอันตรายต่างๆ ในช่วงปิดเทอมกัน ดีกว่า…

 

1…มีเด็กเล็กต้องอย่าให้คลาดสายตา

เหตุที่เด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 7 ขวบ เสียชีวิตจากอุบัติเหตุนั้น โดยมากเกิดจากผู้ใหญ่ที่ดูแลตั้งอยู่ในความประมาทและ ปล่อยปละละเลย ปล่อยให้อยู่ตามลำพัง ครอบครัวใดที่มีเด็กเล็ก จึงต้องดูแลใกล้ชิดชนิด “อย่าให้คลาดสายตา และอยู่ในระยะที่มือของเราคว้าถึง” เสมอ

ทั้งนี้ กับภัยเด็กช่วงปิดเทอมนี้ จากคำเตือน-คำแนะนำข้างต้นน้ำหนักอาจจะเทไปที่เด็กเล็ก แต่ก็ใช่ว่าเด็กโตหรือเด็กวัยรุ่นจะไม่เสี่ยง เช่นอาจจะหายไปจากบ้าน ซึ่งทางศูนย์ข้อมูลคนหาย มูลนิธิกระจกเงา ก็ชี้ไว้ว่า “เด็กหาย” ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย

 

2… จมน้ำ

ยังเป็นสาเหตุสำคัญแห่งการตายอันดับ 1 ของเด็กไทย (เฉลี่ยราว 1,513 รายต่อปี) เด็กจมน้ำนั้น มีเวลาช่วยเหลือเพียง 4-5 นาที ช้ากว่านั้นเด็กจะเสียชีวิตเพราะขาดอากาศหายใจ หรือเกิดภาวะสมองตายไม่อาจฟื้นกลับได้   คุณพ่อคุณแม่จึงต้องไม่ให้เด็กๆ ไปเล่นใกล้แหล่งน้ำ หากในบริเวณบ้านมีบ่อน้ำ มีตุ่ม โอ่ง ต้องปิดฝาเสมอ แล้วอย่าลืมทำรั้วกั้นสระน้ำหรือบ่อน้ำด้วยครับ

3…อุบัติเหตุจราจร

มีเด็กไทยเสียชีวิตจากการจราจรถึงราว 779 ราย ต่อปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจาก “รถจักรยานยนต์” ในเมื่อบ้านเรายังไม่พร้อมทั้งการโดยสารสาธารณะ ทั้งการใช้กฏหมายสวมหมวกกันน็อคยังไม่เข้มพอ ใครที่จำเป็นต้องให้ลูกนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซด์ จะต้องคิดถึงความปลอดภัยเป็นหลัก โดยตัวคุณและลูก จะต้องใส่หมวกนิรภัยที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับอายุ รวมทั้งห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ขับขี่รถทุกประเภท

อ่านต่อ >> “วิธีรับมืออันตราย! ช่วงปิดเทอมให้ลูก ที่พ่อแม่ต้องเจอ” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

4…การพลัดตกหกล้มจากที่สูงหรือสิ่งของล้มทับ

ช่วงปิดเทอมมีเด็กได้รับบาดเจ็บประเภทนี้บ่อยๆ ได้แก่ ตู้ล้มทับ หรือของหนักอื่นๆ ล้มทับ เช่น แป้นบาส หรือเครื่องเล่นต่างๆ ในสนามเด็กเล็ก ประตูรั้ว ซึ่งล้วนเป็นของหนักกว่าร้อยกิโลกรัม ตามสถิติ เฉลี่ยราว 1,186 รายต่อปี

5…อันตรายจากไฟฟ้า

เช่น ไฟดูดเพราะเด็กๆ เอานิ้วหรือวัตถุอื่นๆ แหย่รูปลั๊กไฟ ก่อนปิดเทอมควรสำรวจและจัดการเปลี่ยนบรรดาสายไฟที่มีรอยขาด หรือเก่ากรอบ ครอบปลั๊กไฟและบ้านไหนติดตั้งปลั๊กไฟต่ำชนิด รีบย้ายปลั๊กไฟได้เลยนะครับ (ทางที่ดีควรตามช่างไฟผู้ชำนาญมาแก้ไข จะดีที่สุด)

 

6…อันตรายจาก “ระเบียงบ้าน”

บ้านไหนมีเด็กเล็กต้องเอาใจใส่ให้มาก ว่าช่องว่างของระเบียงเสี่ยงต่อการที่น้องเล็กอาจเล่นเพลินจนตกลงไปได้ ทางที่ดี ควรติดตั้งที่กั้นกันตก หรือแก้ไขให้เป็นแบบปิดทึบและหนาแน่น ระยะห่างระหว่างลูกกรงนอกจากไม่ควรห่างจนเสี่ยงที่เด็กจะพลัดตกไปทั้งตัว ยังจะต้องไม่ถี่เกินไปเพราะอาจทำให้ศีรษะ แขน ขาของเด็กเข้าไปติด“บันได” เป็นอีกจุดที่มีช่องว่าง ควรติดตั้งที่กั้นบริเวณราวบันได โดยช่องห่างระหว่างราวบันไดไม่ควรห่างเกินไป เพื่อป้องกันเด็กเล็กพลัดตกด้วย

7…อันตรายจากการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ และการ”แชท”

การอนุญาตให้เด็กๆ เล่นเกมก็ได้ แต่ ไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นนาน เพราะนอกจากจะทำให้เสียสายตาและการที่ใช้นิ้วมือที่หนักเกินไป มีโอกาสทำให้เกิดโรคนิ้วล็อก เหตุเพราะเกิดเส้นเอ็นอักเสบเรื้อรัง

“การแชท”ทางอินเทอร์เน็ต พ่อแม่ควรดูแลและให้คำแนะนำ ด้วยความใจเย็นไม่เอะอะโวยวายนะครับ)   เช่น กำชับลูกไม่ให้เขาให้ชื่อ ที่อยู่หรือเบอร์โทรศัพท์ที่แท้จริง อาจยกตัวอย่างจากข่าวภัยอินเตอร์เนตซึ่งเกิดขึ้นเสมอ ให้ลูกได้รับรู้และเข้าใจ เพื่อป้องกันการถูกหล่อลวงจากบุคคลอันตรายที่แฝงตัวมาทางอินเทอร์เน็ต

อย่างไรก็ดี การดูแลลูกอย่างใกล้ชิดเท่านั้นยังไม่พอ ยังควรส่งเสริมให้ลูกใช้เวลาให้มีคุณค่าและ “มีความสุข”ด้วย เช่น จัดหากิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาทักษะเด็กตามวัย เปิดโอกาสให้เด็กใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ และสร้างเพลิดเพลินสนุกสนาน ทำให้เป็นปิดเทอมที่พ่อแม่สบายใจ…ลูกๆ ก็มีความสุขกันถ้วนหน้าค่ะ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!