ดึงแขนลูกแรง เชื่อว่าน่าจะมีคุณแม่หรือคุณพ่อหลายๆท่านที่เคยเผลอดึงแขนลูกแรงๆ ซึ่งอาจจะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจก็ตาม แต่เชื่อไหมคะว่า ดึงแขนลูกแรงบ่อยๆอาจทำให้เด็กเสี่ยงกระดูกข้อศอกเคลื่อนได้
ดึงแขนลูกแรง เสี่ยงกระดูกข้อศอกเคลื่อน
ซึ่งกรณีการ ดึงแขนลูกแรง นั้นมีอุทาหรณ์ที่คุณแม่ท่านนึง เคยมาแชร์เรื่องราวกับคุณหมอ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ หรือป้าหมอว่า
“บทเรียนราคาแพง..เมื่อคืนนี้เวลา 3 ทุ่มกว่า รู้สึกเสียใจที่สุด ไม่คิดว่าจะเกิดขึ้นกับตัวเอง ลูกชายวัยกำลังซน 2 ขวบ จะไปเปิดตู้เย็น เราก็ดึงแขนออกมาไม่ให้เปิด ลูกก็ทำตัวอ่อนแบบไม่ยอมยืน ด้วยอารมณ์ที่โมโหเลยดึงแขนลูกขึ้นมาแล้วพาไปหาพ่อเขา ลูกก็ร้องไม่หยุด เราก็นึกคงว่าเป็นธรรมดาของเด็กที่ร้องไห้งอแง ผ่านไป 10 กว่านาที ก็ยังร้องไม่หยุดเหมือนเจ็บปวดกว่าเดิม แฟนเลยบอกว่าสงสัยแขนลูกจะหลุด เรานี่ตกใจมาก..แบบว่าลูกชายยกแขนไม่ได้ อยู่ในลักษณะงอ จับก็ร้อง หนักกว่าเดิม ไม่มีทีท่าว่าจะหยุด เวลานั้นได้แต่โทษตัวเอง ว่าทำอะไรลงไป ลูกต้องมาเจ็บเพราะเรา เสียใจมาก เราไม่ได้ตั้งใจ เราเลยรีบพาไปโรงพยาบาล ลูกร้องไห้ไปตลอดทาง โกรธตัวเองที่สุด
4 ทุ่มกว่าถึงโรงพยาบาล ไปที่แผนกฉุกเฉิน หมอก็เขามาดู ลูกนี่ยิ่งร้องหนักกว่าเดิม เรานี่ยิ่งปวดใจมาก หมอก็ขยับแขน เสียงดังกึกๆ หมอบอกว่า บาดเจ็บบริเวณข้อศอกจริงๆ กระดูกข้อศอกเคลื่อน!!! หมอ ได้ขยับเข้าให้แล้ว รอดูอาการสัก 20 นาที พาน้องเล่นให้อารมณ์ดีแล้ว กลับมาหาหมออีกนะคะ…เราเลยพาไปซื้อขนมที่หน้าโรงพยาบาล สังเกตุ ลูกไม่ร้องแล้ว ยกแขนขึ้นหยิบขนมได้แล้ว เรานี่ดีใจมาก..นึกว่าจะเป็นอะไรมากกว่านี้ ใจคอไม่ดีเลย นั่นจึงเป็นบทเรียนราคาแพงมาก ขอให้แม่ๆอย่าได้ทำแบบเราอีกนะ เวลาจับลูกต้องเบาๆ ขอให้เราเป็นเคสสุดท้ายเลยนะคะ อย่าให้เกิดแบบนี้อีก...เสียใจมากๆค่ะ”
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
<<อ่านต่อหน้า 2 >>
กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
กระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก เกิดขึ้นจากอะไรได้บ้าง
ภาวะกระดูกข้อศอกเคลื่อนในเด็ก หรือ pulled elbow ส่วนมากจะพบในเด็กเล็ก ที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เนื่องจากสรีระกล้ามเนื้อ เอ็น และข้อศอกของเด็กในวัยก่อน 5 ขวบนั้น ยังมีการพัฒนาที่ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้ง่ายต่อการเคลื่อนหลุด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เด็ก กระดูกข้อศอกเคลื่อนนั้น เกิดได้หลายสาเหตุ
- พ่อแม่ ดึงแขนลูกแรง
- พ่อแม่ ยกตัวลูกขึ้นมาจากพื้นโดยใช้แขน หรือมือเพียงข้างเดียวในการดึงลูก
- การเล่นอุ้มเด็กเหวี่ยงแขนลูก
- การจับลูกโยนตัวลอย
- เกิดจากอุบัติเหตุลื่นล้ม
วิธีสังเกต เมื่อลูกมีอาการกระดูกข้อศอกเคลื่อน
- เด็กจะร้องไห้เสียงดังทันที
- ไม่ยอมขยับแขน และข้อศอกอยู่ในท่างอเล็กน้อย หุบเข้าหาลำตัว แต่ยังขยับหัวไหล่ได้ แต่จะไม่ขยับข้อศอกเนื่องจากเด็กยังมีอาการเจ็บมาก
- ในบางรายอาจจะสามารถขยับเข้าที่ได้เอง ขยับแขนได้เป็นปกติ และหายปวด แต่หลังจากนั้นก็ควรพาเด็กไปพบแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้คุณหมอตรวจให้ละเอียดเพิ่มเติมว่ามีปัญหาอื่นร่วมด้วยหรือไม่
คุณแม่ๆต้องระวังเป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ เพราะถ้าหากเด็กเคยมีอาการกระดูกเคลื่อนแล้ว จะเป็นซ้ำอีกได้ง่ายมาก ภายใน 3-4 สัปดาห์ ดังนั้น คุณแม่จึงต้องดูแล และระมัดระวังเป็นพิเศษ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อาจจะเพิ่งเกิดการเคลื่อนของกระดูกลูก
<<อ่านต่อหน้า 3 >>
การปฐมพยาบาล และการป้องกันเด็กกระดูกข้อศอกเคลื่อน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การปฐมพยาบาล และการป้องกันเด็กกระดูกข้อศอกเคลื่อน
หากคุณพ่อคุณแม่ เผลอดึงแขนลูกแรงไปแล้ว และลูกเกิดอาการกระดูกข้อศอกเคลื่อน สามารถทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้ ดังนี้
- พยายามอย่าเคลื่อนไหวในจุดที่เจ็บอยู่ ควรจัดให้อยู่นิ่งมากที่สุด
- ไม่ควรพยายามที่จะขยับข้อศอกลูกด้วยตัวเอง เพราะหากไม่รู้วิธีที่ถูกต้อง จะยิ่งทำให้เกิดความผิดพลาด และเกิดการบาดเจ็บที่กระดูกข้อศอก เส้นเอ็น และเส้นเลือดบริเวณนี้มากขึ้น
- รีบนำตัวลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว ซึ่งระหว่างทางไปพบแพทย์นั้น คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยประคบเย็นได้
วิธีการป้องกัน
- ไม่ควรดึงแขนลูกแรง หรือกระชากแขนลูกเร็ว
- ไม่ควรยกตัวลูกขึ้นมาจากพื้นด้วยมือข้างเดียว หรือจับที่แขนท่อนล่างของลูก คือส่วนที่ติดกับข้อมือ
- หากต้องการจะดึงตัวลูกขึ้น ให้ยกตัวลูกจากที่ใต้รักแร้ หรือจับที่บริเวณแขนท่อนบน คือส่วนที่ติดกับหัวไหล่
- ไม่ควรอุ้มลูกเล่น โดยการเหวี่ยงแขนลูก โยนตัวลูก เพราะอาจเกิดอันตรายได้รับบาดเจ็บอย่างอื่นตามมาได้อีกด้วย
คงไม่มีคุณพ่อคุณแม่คนไหน อยากจะเห็นลูกเจ็บปวด ทรมานใช่ไหมคะ โดยเฉพาะถ้าความเจ็บปวดของลูกนั้น มาจากการกระทำของผู้เป็นพ่อเป็นแม่เอง ซึ่งอาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่ก็ทำให้เสียใจไม่น้อย ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่ก็อย่าละเลยและควรระมัดระวังดูแลลูกน้อยอย่างดีที่สุดค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ
ขอบคุณภาพ Featured Image : Revista crescer
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
รวมการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ลูกน้อยที่ถูกต้องที่พ่อแม่ควรรู้!
คนท้องกินช็อกโกแลตได้ไหม อันตรายกับลูกในท้องหรือไม่
พ่อแม่เช็กด่วน! หลังจิตแพทย์เตือน! เลี้ยงลูกระวังเสี่ยง ภาวะเด็กถูกเร่ง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่