เจมี่ และจูเลี่ยน เด็กชายวัย 13 และ 9 ขวบ อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย กำลังเล่นน้ำในสระว่ายน้ำกันอย่างสนุกสนาน ภายใต้การดูแลของแม่ แล้วจู่ๆ ไม่คิดเลยว่าจะเกิด อันตรายจากสระว่ายน้ำ เจมี่ลูกชายคนโตถูกดูดเข้าไปในมุมหนึ่งของสระว่ายน้ำ ไหล่ของเจมี่ถูกดูดเข้าไปติดกับเครื่องกรองของสระน้ำ เขาร้องขอความช่วยเหลือ
คุณแม่ และพนักงานดูแลสระน้ำ อีก 2 คน พยายามที่จะช่วยเขาให้เป็นอิสระจากตัวกรอง โดยรีบปิดตัวกรอง แต่ก็ยังใช้เวลานานหลายนาที ก่อนที่ผู้ใหญ่ทั้ง 3 คนจะช่วยเจมี่ได้ หลังจากเหตุการณ์นั้น เจมี่มีรอยฟกช้ำที่น่ากลัว และเส้นประสาทถูกทำลายบางส่วน แต่คุณหมอมั่นใจว่าเขาจะหายดี
ทางผู้จัดการ ได้ตรวจสอบสระว่ายน้ำ และพิจารณาสวมเครื่องครอบฟิลเตอร์ที่สระว่ายน้ำ และมีป้ายเตือนว่าเด็กควรอยู่ในการดูแลของผู้ใหญ่ และไม่ควรยืนกั้นฟิลเตอร์
ชมคลิปได้ที่นี่
เล่นน้ำในสระว่ายน้ำให้ปลอดภัย
1.เด็กๆ เริ่มเล่นน้ำได้ตั้งแต่กี่ขวบ?
- เด็กเล็กๆ สามารถเริ่มเล่นน้ำได้ตั้งแต่ 3 เดือน แต่สมาคมกุมารเวชศาสตร์ในอเมริกาแนะนำให้รอถึง 4 ขวบ เพราะเด็กที่อายุน้อยกว่านั้นมีภูมิคุ้มกันต่ำ
- สมาคมกุมารแพทย์ในอังกฤษแนะนำให้ฉีดวัคซีนต่างๆ ให้ครบก่อนพาลูกไปเล่นน้ำ ซึ่งในประเทศไทยมีการฉีดให้เด็กตามปกติอยู่แล้ว
- ถ้าลูกมีอาการป่วย เช่น ท้องเสีย ติดเชื้อในหู เป็นหวัด หรือพึ่งฉีดวัคซีนใหม่ๆ ควรรอ 2 วัน หรือให้หายจากอาการป่วย แล้วค่อยพาลูกไปเล่นน้ำ เพราะลูกอาจเป็นไข้มากขึ้นได้
2.ควรเล่นน้ำเวลาไหนดี?
- ไม่มีเวลาจำกัด ว่าควรเล่นน้ำเมื่อไหร่ แต่ให้ดูอุณหภูมิน้ำเป็นหลัก เช่น ฤดูหนาวอาจเป็นตอนกลางวัน ฤดูร้อนอาจเป็นตอนเย็น
- อุณหภูมิน้ำควรอยู่ที่ 30-33 องศา เหมือนตอนอาบน้ำธรรมดา เด็กจะรู้สึกสบายตัว
- สามารถเล่นน้ำได้สัปดาห์ละ 4 ครั้ง โดยเริ่มแรกเล่นไม่เกิน 15 นาที และมากที่สุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง
- ควรเว้นระยะการรับประทานอาหารของลูกก่อนลงสระ 1 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการสำลัก
- ก่อน และหลังเล่นน้ำ ควรล้างมือ ล้างเท้า ล้างตัวให้สะอาดเสมอ
- ระวังการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ เพราะเมื่อขึ้นจากน้ำอาจมีลมพัด ทำให้หนาวสั่น รีบห่มผ้า แล้วพาไปอาบน้ำ สระผม ไม่ควรอาบน้ำเย็นเกินไป
คลิกอ่านต่อ “ใส่อะไรเล่นน้ำดีนะ รู้จักสระว่ายน้ำก่อนลงเล่นน้ำ และป้องกันอุบัติเหตุเมื่อลงเล่นน้ำ” คลิกหน้า 2
3.ใส่อะไรเล่นน้ำดีนะ?
- ในต่างประเทศเด็กยังไม่สามารถบอก อึ ฉี่ได้ จะให้ใส่ผ้าอ้อมสำหรับว่ายน้ำโดยเฉพาะ แต่ถ้าลูกบอก อึ ฉี่ได้แล้ว ก็สามารถเปลี่ยนเป็นชุดว่ายน้ำธรรมดา และควรให้ลูกขับถ่ายก่อนลงสระ
- ไม่แนะนำให้ใส่ชูชีพ เพราะเด็กจะได้เคลื่อนไหวตามธรรมชาติ การใส่ปลอกแขน ห่วงยาง จะบังคับให้ลูกลอยตัวตั้งขึ้น ขาจมน้ำ เคลื่อนไหวไปข้างหน้าลำบาก
- การกอดเป็นห่วงยางที่ดีที่สุด ลูกจะได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวในน้ำ การรักษาสมดุล การยกหัว ยกแขน ยกตัว และใกล้ชิดกับพ่อแม่มากขึ้น
4.รู้จักสระว่ายน้ำก่อนเล่นน้ำ
- สระมาตรฐานทั่วไป จะกรองน้ำผ่านเครื่องกรองทุกวัน และเปลี่ยนน้ำทั้งสระทุก 2 สัปดาห์ สระรุ่นใหม่มีการยิงโอโซนลงไปในน้ำ ช่วยลดคลอรีน แต่สระส่วนใหญ่ยังคงใช้คลอรีนระบบเดิมอยู่
- สวนน้ำ กับสระน้ำมีการป้องกันเชื้อโรคแตกต่างกัน สระน้ำใช้คลอรีน และระบบกรองน้ำฆ่าเชื้อโรค แต่สวนน้ำใช้แสดงแดด และระบบไหลเวียนน้ำชะล้างเชื้อโรค ก่อนไปถึงระบบกรองน้ำ
- สระเกลือ ใช้สำหรับการบำบัด ไม่ใช่สระทั่วไป เพราะใส่เกลือลงไปเพิ่มความหนาแน่นในน้ำ คนที่ลงไปจะลอยตัว ไม่จมน้ำ แม้เกลือจะช่วยฆ่าเชื้อ แต่ความเค็มอาจทำให้เด็กแสบตา
- สระเด็ก เด็กวัย 1 – 3 ขวบ สามารถเล่นได้ มีข้อดีคือ เท้าลูกแตะถึงพื้นสระ แต่ควรอยู่ในความดูแลของพ่อแม่ ไม่แนะนำให้ลูกเล่นคนเดียว
- สังเกตสระว่ายน้ำก่อนลงเล่นน้ำทุกครั้ง ว่าสระน้ำมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในน้ำหรือไม่ น้ำขุ่นหรือไม่ และที่สำคัญควรสังเกตฝาปิดตัวกรองน้ำ ว่าปิดเรียบร้อยดีหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับลูกน้อย
5.ป้องกันอุบัติเหตุเมื่อเล่นน้ำ
- อย่าพยายามฝึกลูกว่ายน้ำ ถ้าเขายังไม่พร้อม เพราะจะเป็นอันตรายกับตัวลูก
- ความประมาท เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพบนอกสระ เช่น ลื่นล้ม วิ่งซน กระโดดลงสระไม่พ้นขอบ บางสระมีโต๊ะกินข้าว ลูกขึ้นมามองไม่เห็นชนอาหารร้อนลวกได้
- พ่อแม่อย่าจับกลุ่มคุยกัน แล้วปล่อยให้ลูกเล่นน้ำ เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
เครดิต: TomoNews Thailand, S-momclub