3.ใส่อะไรเล่นน้ำดีนะ?
- ในต่างประเทศเด็กยังไม่สามารถบอก อึ ฉี่ได้ จะให้ใส่ผ้าอ้อมสำหรับว่ายน้ำโดยเฉพาะ แต่ถ้าลูกบอก อึ ฉี่ได้แล้ว ก็สามารถเปลี่ยนเป็นชุดว่ายน้ำธรรมดา และควรให้ลูกขับถ่ายก่อนลงสระ
- ไม่แนะนำให้ใส่ชูชีพ เพราะเด็กจะได้เคลื่อนไหวตามธรรมชาติ การใส่ปลอกแขน ห่วงยาง จะบังคับให้ลูกลอยตัวตั้งขึ้น ขาจมน้ำ เคลื่อนไหวไปข้างหน้าลำบาก
- การกอดเป็นห่วงยางที่ดีที่สุด ลูกจะได้เรียนรู้การเคลื่อนไหวในน้ำ การรักษาสมดุล การยกหัว ยกแขน ยกตัว และใกล้ชิดกับพ่อแม่มากขึ้น
4.รู้จักสระว่ายน้ำก่อนเล่นน้ำ
- สระมาตรฐานทั่วไป จะกรองน้ำผ่านเครื่องกรองทุกวัน และเปลี่ยนน้ำทั้งสระทุก 2 สัปดาห์ สระรุ่นใหม่มีการยิงโอโซนลงไปในน้ำ ช่วยลดคลอรีน แต่สระส่วนใหญ่ยังคงใช้คลอรีนระบบเดิมอยู่
- สวนน้ำ กับสระน้ำมีการป้องกันเชื้อโรคแตกต่างกัน สระน้ำใช้คลอรีน และระบบกรองน้ำฆ่าเชื้อโรค แต่สวนน้ำใช้แสดงแดด และระบบไหลเวียนน้ำชะล้างเชื้อโรค ก่อนไปถึงระบบกรองน้ำ
- สระเกลือ ใช้สำหรับการบำบัด ไม่ใช่สระทั่วไป เพราะใส่เกลือลงไปเพิ่มความหนาแน่นในน้ำ คนที่ลงไปจะลอยตัว ไม่จมน้ำ แม้เกลือจะช่วยฆ่าเชื้อ แต่ความเค็มอาจทำให้เด็กแสบตา
- สระเด็ก เด็กวัย 1 – 3 ขวบ สามารถเล่นได้ มีข้อดีคือ เท้าลูกแตะถึงพื้นสระ แต่ควรอยู่ในความดูแลของพ่อแม่ ไม่แนะนำให้ลูกเล่นคนเดียว
- สังเกตสระว่ายน้ำก่อนลงเล่นน้ำทุกครั้ง ว่าสระน้ำมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในน้ำหรือไม่ น้ำขุ่นหรือไม่ และที่สำคัญควรสังเกตฝาปิดตัวกรองน้ำ ว่าปิดเรียบร้อยดีหรือไม่ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายกับลูกน้อย
5.ป้องกันอุบัติเหตุเมื่อเล่นน้ำ
- อย่าพยายามฝึกลูกว่ายน้ำ ถ้าเขายังไม่พร้อม เพราะจะเป็นอันตรายกับตัวลูก
- ความประมาท เป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะพบนอกสระ เช่น ลื่นล้ม วิ่งซน กระโดดลงสระไม่พ้นขอบ บางสระมีโต๊ะกินข้าว ลูกขึ้นมามองไม่เห็นชนอาหารร้อนลวกได้
- พ่อแม่อย่าจับกลุ่มคุยกัน แล้วปล่อยให้ลูกเล่นน้ำ เพราะอุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ
เครดิต: TomoNews Thailand, S-momclub