สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่เลี้ยงลูกในเมืองใหญ่ ทาง SSHEsociety องค์กรไม่แสวงผลกำไร ได้จัดทำคลิปวิดีโอเพื่อเตือนใจคุณพ่อ คุณแม่นี้ขึ้น เพื่อไม่ให้เหตุการณ์ การลักพาตัว ในเด็ก เกิดขึ้นอีก เพราะคนใจร้ายมีอยู่ทุกที่ในสังคม แม้แต่ในสถานที่ที่ไม่น่าเป็นอันตราย ให้คุณพ่อ คุณแม่ระวัง!!
การลักพาตัว
จากข้อมูลสถิติของมูลนิธิกระจกเงา พบว่า สถิติเด็กหายเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี 2558 ที่ผ่านมา เพียง 6 เดือนแรก มีเด็กหายไปแล้วกว่า 300 คน สังคมที่ปลอดภัยต้องมาจากการช่วยเหลือกันของคนในสังคม และเราทุกคนคือส่วนหนึ่งในสังคมนั้น
ในคลิปวิดีโอนี้เป็นเรื่องราวของ น้องพลอย เด็กหญิงวัยประถม ที่วิ่งเล่นในสวนสาธารณะ ในขณะที่คุณแม่กำลังคุยโทรศัพท์ และละสายตาไปจากลูกเพียงชั่ววินาทีเดียว ปรากฏว่าลูกสาวก็ได้หายตัวไปแล้ว เหลือทิ้งไว้เพียงกำไลข้อมือ คุณแม่จึงรีบแจ้งตำรวจ
หลังจากนั้น ตำรวจก็แจ้งว่าพบศพเด็กผู้หญิงถูกกระทำชำเรา และเผา อยู่บริเวณใกล้ๆ กับที่ลูกหาย เหตุการณ์จะเป็นอย่างไร แล้วน้องพลอยจะเสียชีวิตไปแล้วจริงหรือไม่ เราไปชมคลิปเพื่อเป็นอุทาหรณ์เตือนใจกันค่ะ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีสอนลูกไม่ให้ถูกลักพาตัว
1.สอนให้ลูกรู้จัก เข้าใจเรื่องความปลอดภัย และความไม่ปลอดภัย ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นได้ง่าย เพราะในสังคมมีทั้งคนดี และคนไม่ดี ภัยจากคนแปลกหน้า หรือแม้แต่คนรู้จัก ท่าทางเป็นมิตร สุภาพใจดีก็อาจเกิดขึ้นได้ ถ้ามีคนมาชวนไปไหนมาไหนโดยที่พ่อแม่ไม่รู้ ควรสอนให้ลูกรับ หรือปฏิเสธสิ่งของที่เขาให้
2.ฝึกลูกให้เป็นเด็กช่างสังเกต สนใจสิ่งรอบตัว และที่สำคัญมีสติ เหล่านี้จะช่วยบ่มเพาะให้เขารู้จักระวังตัว และเอาตัวรอดได้ในยามคับขัน การสังเกตที่ว่า หมายรวมถึงจดจำสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นด้วย ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ของคุณพ่อ คุณแม่ ชื่อซอยบ้าน สถานที่ตั้งของบ้าน และสถานที่ใกล้เคียง เผื่อว่าหากเกิดเหตุการณ์ร้าย เขายังสามารถบอกพิกัดต่างๆ ได้ พยายามฝึกบ่อยๆ ถึงเวลาจึงจะนำมาใช้ได้โดยอัตโนมัติ
3.สอนให้ลูกเรียนรู้วิธีเอาตัวรอดในสถานการณ์คับขัน เช่น การวิ่ง ศิลปะป้องกันตัวเบื้องต้น หรืออาจส่งลูกไปเข้าคลาสมวยไทย หรือเทควันโดก็ได้ โดยเราต้องกำกับเพิ่มเติมลงไปด้วยว่า ศิลปะการต่อสู้เหล่านี้เรียน และฝึกไว้เพื่อใช้แก้ไขให้ยามคับขัน เพื่อให้เอาตัวรอดออกมาได้ รวมถึงหยิบยกเหตุการณ์ที่เป็นข่าวเอามาเป็นตัวอย่าง ให้ลูกฝึกคิดว่าเขาจะทำอย่างไร เช่น จะตอบปฏิเสธอย่างไรให้ตัวเองปลอดภัยในกรณีที่เกิดไม่ไว้วางใจคนที่เข้ามาคุยด้วย และลองพูดจริงๆ โดยคุณพ่อ คุณแม่เป็นคนป้อนคำถาม การยกเหตุการณ์จากข่าว ยิ่งทำบ่อย ลูกจะยิ่งได้ฝึกคิดแก้ไขได้ฉับไวมากขึ้น
4.ปลูกจิตสำนึกต่อส่วนรวมให้กับลูก ด้วยการสอนให้เขารู้จักช่วยเหลือผู้อื่น ถ้าทำได้ และรู้วิธีการขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น และไม่ดูดายกับความไม่ถูกต้อง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
วิธีตรวจสอบรอบบ้าน ป้องกันลูกน้อยถูกลักพาตัว
1.เพื่อนบ้าน และพื้นที่รอบบ้านของคุณพ่อ คุณแม่เป็นอย่างไร
- คุณพ่อ คุณแม่อาศัยอยู่ในย่านชุมชนที่มีรถราวิ่งขวักไขว่ หรืออยู่ในซอยเล็กๆ เงียบสงบ
- บริเวณบ้าน (หรือหมู่บ้าน) ของคุณพ่อ คุณแม่มีรั้วรอบขอบชิด หรือเปิดโล่งให้ใครๆ เข้ามาได้หรือไม่
- มีคนที่ไม่น่าไว้ใจมาป้วนเปี้ยนอยู่แถวบ้านหรือเปล่า
- คุณพ่อ คุณแม่รู้จักเพื่อนบ้านดีแค่ไหน กรณีที่ลูกต้องการความช่วยเหลือ พวกเขาจะเข้ามาช่วยหรือไม่
2.พื้นนิสัยของลูกเป็นอย่างไร
- ลูกเชื่อฟังคำสั่ง และปฏิบัติตามคำสั่งของคุณพ่อ คุณแม่เสมอ หรือมีแนวโน้มที่จะแหกกฎทันทีที่คุณพ่อ คุณแม่หันหลังกลับเข้าบ้าน
- คุณพ่อ คุณแม่เชื่อใจว่าลูกจะทำเฉพาะสิ่งที่สามารถทำได้ และไม่ทำสิ่งที่พ่อแม่ห้าม เช่น เดินออกนอกรั้วบ้าน ปีนต้นไม้ใหญ่ที่อันตราย หรือแอบปีนไปเล่นสระว่ายน้ำของเพื่อนบ้าน ฯลฯ หรือเปล่า?
3.คุณพ่อ คุณแม่มองเห็นลูกจากภายในบ้านได้หรือไม่
- คุณพ่อ คุณแม่สามารถเปิดหน้าต่าง หรือประตูบานเลื่อนแล้วมองออกไปเห็นจุดที่ลูกกำลังเล่นอยู่ได้หรือไม่
- คุณพ่อ คุณแม่ควรมองเห็น และได้ยินเสียงลูก และควรตรวจดูลูกทุกๆ 10 นาที ดังนั้นช่วงที่ลูกออกไปเล่นข้างนอก คุณพ่อ คุณแม่จึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่กินเวลานานๆ เช่น อาบน้ำ สระผม ทำความสะอาดห้องเก็บของ หรือล้างห้องน้ำไว้ก่อน
4.ลูกรู้จักวิธีรับมือกับอันตรายจากคนแปลกหน้ามากแค่ไหน
- ลูกต้องรู้กฎว่า ห้ามพูด รับของ หรือเข้าไปในรถของคนแปลกหน้า ไม่ว่าคนคนนั้นจะดูเป็นมิตรและไว้ใจได้แค่ไหน
- ถ้ามีใครเข้ามาประชิดตัว พวกเขาจะต้องกรีดร้องให้ดัง แล้ววิ่งเข้าบ้านหรือวิ่งไปหาผู้ใหญ่ที่รู้จักซึ่งอยู่ใกล้ที่สุดทันที
เครดิต: SSHEsociety องค์กรไม่แสวงผลกำไร
อ่านเพิ่มเติม คลิก!!
ลูกถูกลักพาตัวในที่ทำงาน พ่อแม่ควรระวังสถานที่คุ้นเคย และคนใกล้ตัว
ลักพาตัวต่อหน้าพ่อแม่ ภัยใกล้ตัวลูกน้อยที่ต้องระวัง
6 พื้นที่เสี่ยงถูกลักพาตัว และ 5 ไม่ ป้องกันการลักพาตัว
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save
Save