ลูกหกล้ม มีแผล จะรู้ได้อย่างไรว่า แผลอักเสบ หรือติดเชื้อ … ร่วมกันหาคำตอบพร้อมกันได้ที่นี่!
ลูกหกล้ม ได้รับแผลเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กวัยกำลังซน ไม่อยากให้ลูกต้องมีแผลอักเสบติดเชื้อละก็ คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องทำความเข้าใจกับเรื่องนี้เป็นการด่วนเลยค่ะ … ฟังดูอาจจะไกลตัวเกินไปใช่ไหมละคะ แต่จริง ๆ นั้นใกล้ตัวนิดเดียวเองละค่ะ
และในวันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ก็จะมาขอนำเสนอวิธีการดูแผลของลูกค่ะว่า อาการของแผลที่อักเสบนั้น มีลักษณะอย่างไร แล้วถ้าไม่อยากให้ลูกเป็นจะดูแลป้องกันแบบไหน พร้อมแล้วไปอ่านบทความนี้พร้อม ๆ กันเลยค่ะ
อ่านต่อ >> เนื้อหาเพิ่มเติม คลิก
แผลอักเสบ คืออะไร?
ไม่ว่าจะเป็นแผลอักเสบหรือแผลติดเชื้อ คือแผลที่มีการอักเสบลุกลามเป็นบริเวณวงกว้าง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือสิ่งปนเปื้อนมากในแผล ทำให้มีอาการปวด บวม แดง ร้อน หลังจากนั้นจะเกิดเป็นหนองหรือช้ำเลือดช้ำหนอง ซึ่งจะส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเริ่มตาย โดยแผลส่วนใหญ่นั่นส่วนใหญ่แล้วเกิดจากอุบัติเหตุเป็นหลัก
สาเหตุของการติดเชื้อ
แผลที่อักเสบหรือได้รับการติดเชื้อนั้น เกิดจากการที่มีบาดแผลอยู่แล้ว และส่วนใหญ่มักจะเกิดจากอุบัติเหตุมาก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็น หกล้ม แผลถลอก หรือแผลที่เกิดจากตะปูตำ เป็นต้น และมีเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า (สเตรปโตค็อกคัสหรือสแตฟฟีโลค็อกคัส) เข้าไปทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองนั่นเองค่ะ
อาการของแผลเป็นอย่างไร?
- คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยสังเกตว่าบาดแผลของลูกนั้นมีลักษณะเป็นแผลเปื่อย มีน้ำเหลืองหรือหนอง มีอาการบวม แดง ร้อน และปวดหรือเจ็บแผลบ้างหรือไม่
- ถ้าหากใช่ละก็ แสดงว่าแผลของลูกนั้นอักเสบแล้วละค่ะ ถ้าเป็นเช่นนั้น คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นะคะ เพราะเกิดอักเสบรุนแรงขึ้นมาละก็ เชื้อโรคอาจจะลามเข้าสู่กระแสเลือดจนทำให้โลหิตเป็นพิษได้ค่ะ
อ่านต่อ >> เนื้อหาเพิ่มเติมได้ที่นี่
วิธีการป้องกันแผลไม่ใช้อักเสบและติดเชื้อ
- ให้ล้างแผลด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยการใช้น้ำเกลือล้างแผลทันที เพื่อช่วยชะล้างเอาสิ่งสกปรกออกไป
- หลังจากนั้นใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบ ๆ บริเวณแผล โดยให้เช็ดจากข้างในวนมาข้างนอกทางเดียว และไม่ต้องเช็ดลงบนแผลโดยตรง เพราะจะทำให้แสบระคายเคืองและแผลหายช้า
- ใส่ยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยยาฆ่าเชื้อโรคที่เหมาะสำหรับแผลสดที่นิยมใช้กันมาก คือ ทิงเจอร์ไทเมอรอซอล, โพวิโดนไอโอดีน หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อทางการค้าว่า “เบตาดีน” (Betadine) เป็นต้น
- ปิดแผลด้วยปลาสเตอร์หรือผ้าก๊อซสะอาด ไม่ควรใช้สำลี เพราะเมื่อแผลแห้งแล้วจะติดกับสำลีทำให้ดึงออกยากเกิดความเจ็บปวดและอาจทำให้มีเลือดไหลได้อีก
- ให้ทำความสะอาดแผลเป็นประจำทุกวัน หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสกปรกหรือเปียกน้ำ เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบเป็นหนองหรือหายช้า
- หากบาดแผลสกปรก ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะภายใต้การดูแลของแพทย์ (อย่าใช้ยาปฏิชีวนะจนกว่าจะได้รับคำแนะนำจากแพทย์โดยเฉพาะยาปฏิชีวนะแบบครีม)
- พยายามอย่าปล่อยให้แผลเรื้อรัง จนไม่สามารถรักษาได้ เพราะแผลติดเชื้อบางทีก็น่ากลัวกว่ามะเร็ง เนื่องจากเชื้ออาจลุกลามเข้าสู่กระแสเลือดทำให้เป็นโลหิตเป็นพิษและเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็วเลยละค่ะ
ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่พบว่าลูกได้รับบาดแผลละก็ คุณพ่อคุณแม่ควรที่จะล้างทำความสะอาดบาดแผลให้ถูกวิธี ที่สำคัญ อย่าลืมสังเกตแผลของลูกกันด้วยนะคะว่า มีอะไรผิดปกติตามที่กล่าวไปแล้วหรือไม่
ขอบคุณที่มา: MedThai
อ่านต่อเรื่องอื่นที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่