คุณพ่อคุณแม่ทราบหรือไม่ว่า.. เด็กบางคนไม่สามารถแยกแยะเหตุการณ์ที่เป็นอันตรายกับสิ่งที่เป็นจินตนาการได้ จนบางทีคุณอาจจะเผลอว่าลูกไปว่า “เพ้อเจ้อ” ซึ่งเราไม่ควรตัดสินใจจนกว่าจะค้นหาว่าเป็นข้อมูลจริงหรือไม่? เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเข้ามาใกล้ลูกเรา เมื่อเด็กมาขอความช่วยเหลือ จึงไม่ควรมองข้าม
เมื่อเด็กมาขอความช่วยเหลือ
ประโยคที่ 1 “(แม่/พ่อ/ป้า/ฯลฯ) เชื่อหนูนะ”
บอกเด็กว่าคุณเชื่อในสิ่งที่เขาพูด แม้จะยังพิสูจน์ไม่ได้ว่าความจริงเป็นอย่างไร คำพูดนี้จะทำให้เด็กรู้สึกดีที่จะเล่าปัญหาที่เกิดขึ้นให้คุณฟัง
ประโยคที่ 2 “หนูไม่ผิด”
เด็กหลายๆ คน เข้าใจว่าเขาต้องมีส่วนร่วมเพื่อรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นความรู้สึกผิด เด็กบางคนจึงไม่อยากเล่าเพราะกลัวถูกลงโทษ
ประโยคที่ 3 “หนูทำถูกแล้วที่มาบอก”
คำพูดนี้เป็นคำชมที่เด็กจะกล้าเล่าปัญหาของเขาให้ผู้ใหญ่ฟัง เป็นการให้กำลังใจเด็ก
ประโยคที่ 4 “ฉันจะช่วยหนู”
เป็นคำพูดที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นคำที่จะทำให้เด็กมั่นใจว่าเขาจะได้รับการช่วยเหลืออย่างแน่นอน
แต่ก่อนที่จะลงมือช่วยเหลือนั้นคุณต้องประเมินเหตุการณ์และสถานการณ์นั้นก่อนว่ามีอันตรายหรือไม่? หากไม่สามารถแก้ไขได้คนเดียวหรือเป็นเรื่องร้ายแรงอาจจะต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่ (ครู ฯลฯ) ในโรงเรียน หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อช่วยเหลือเด็ก และตระหนักว่าต้องสอดส่องดูแลบุตรหลานของตัวเองไม่ให้ตกอยู่ในสถานการณ์เสี่ยง หากพบภัยเสี่ยงกับเด็กสามารถโทรขอความช่วยเหลือได้ที่ 1300
อ่านต่อ บทความน่าสนใจ
ทำอย่างไรดี? เมื่อพบเด็กถูกใช้ความรุนแรง