คุณแม่ทั้งมือใหม่ และมือเก่าทุกคน ย่อมมีความกังวลสารพัดเรื่อง ทั้งเรื่องของความสะอาด เรื่องโรคภัย และเรื่อง ความปลอดภัยจากภัยอันตราย ต่างๆ รอบตัวลูกน้อย แม้ตอนนี้ทั้งครอบครัว จะระมัดระวังกันแทบทุกฝีก้าว แต่ลูกน้อยก็มีความซน และอยากเรียนรู้จึงอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
ความปลอดภัยจากภัยอันตราย รับมือได้
เพื่อเป็นการกันไว้ดีกว่าแก้ เราจึงอยากให้คุณแม่เรียนรู้วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยชีวิตลูก เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิด รวมถึงวิธีตั้งรับกับภัยรอบตัวที่อาจเกิดขึ้นได้
*1669 เบอร์นี้จำให้ขึ้นใจ
เป็นเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่สามารถโทร.ได้ภายในประเทศไทย แต่หาก คุณพ่อ คุณแม่ เดินทางไปต่างประเทศ ควรจดเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินของประเทศนั้นๆ ไว้ด้วย หรือถ้าสะดวกลงแอพพลิเคชั่นอย่าง “Police I lert u” หรือแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ที่ช่วยสอนวิธีกู้ชีวิตขั้นพื้นฐานติดไว้ด้วยก็ได้ แนะนำให้ศึกษาก่อน หากเกิดกรณีฉุกเฉินจะสามารถทำได้ทันท่วงที แต่ถ้าอยากลงลึกในรายละเอียด และฝึกทดลองทำ ปัจจุบัน มีโรงเรียนแพทย์หลายแห่ง เปิดสอนการปฐมพยาบาลแก่บุคคลทั่วไป คุณพ่อ คุณแม่ สามารถสอบถามเพื่อเข้าร่วมอบรมได้
*อุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่ควรมีติดบ้าน
- เบตาดีน
- น้ำเกลือ ใช้สำหรับล้างแผล แต่ทั้งนี้ควรล้างน้ำก๊อกก่อน แล้วจึงล้างน้ำเกลือตาม
- ผ้ากอซ เอาไว้ห้ามเลือด
- ผ้าพันแผลชนิดยืด
- ปลาสเตอร์ยา
- สำลี หรือคอตต้อนบัด
- กรรไกร
- ถุงมือ (สำหรับใช้ทำแผล)
- โคแบน ผ้ากอซยืดแบบมีกาว
- ปลาสเตอร์สำหรับติดผ้ากอซ
- ยาสำหรับน้ำร้อนลวก ไฟไหม้ แต่หลักสำคัญคือ ต้องล้างแผลด้วยน้ำก่อน แล้วค่อยทายา
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “ดูแลลูกเป็นไข้” คลิกหน้า 2
*ดูแลลูกเป็นไข้
ภาวะไข้ถือเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ซึ่งเด็กเล็กกว่า 5 ขวบ ถ้ามีไข้สูง 39 – 40 องศาเซลเซียส อาจทำให้ชักได้ คุณพ่อ คุณแม่ จึงควรปฐมพยาบาล เพื่อลดไข้ให้ลูกก่อน
- ให้ยาลดไข้ ซึ่งยาที่ดีที่สุดคือ พาราเซตามอล เนื่องจากผลข้างเคียงน้อย
- ใช้ผ้าชุบน้ำอุณหภูมิห้อง หรือน้ำอุ่นเช็ดบริเวณหน้า แขน ขา สลับกับพักผ้าตามตำแหน่งข้อพับนาน 15 – 20 นาที ส่วนไหนที่ไม่ได้เช็ดก็ห่มผ้าไว้เพื่อไม่ให้ลูกหนาว สามารถเช็ดได้บ่อยเท่าที่ คุณพ่อ คุณแม่ สะดวก จนรู้สึกได้ว่า ลูกตัวเย็นลง
- ให้ลูกจิบน้ำอุณหภูมิห้องบ่อยๆ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อ่านต่อ “อาการชัก” คลิกหน้า 3
อาการชัก
1.การชักในเด็ก เกิดได้จากหลายสาเหตุ
- จากการขาดยา
- ถูกกระตุ้นในเด็กที่ป่วยด้วยโรคลมชักเป็นทุนเดิม
- ชักจากอาการไข้
2.เมื่อไหร่ที่ลูกเกิดอาการชัก คุณพ่อ คุณแม่ ควรปฏิบัติดังนี้
- โทร.เรียกรถพยาบาล แม้เด็กจะชักเพียงไม่นาน แต่อาจมีการชักซ้ำ หรืออาจชักยาวนานเกิน 5 นาทีซึ่งเป็นอันตรายต่อสมองของเด็กได้ เมื่อเด็กเริ่มชัก คุณแม่จึงควรเรียกรถพยาบาลไว้ก่อน เพื่อให้มั่นใจว่าลูกน้อยจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
- ป้องกันไม่ให้เด็กบาดเจ็บจากการดิ้น และการกระแทก โดยจัดพื้นที่บริเวณที่เด็กชักให้ปลอดภัย เอาสิ่งของที่กีดขวางออก และหาผ้านุ่มๆ มาปูบริเวณนั้น
- หากเด็กชักจากอาการไข้สูง ให้เช็ดตัวลูกตามข้อพับต่างๆ ของร่างกาย เมื่อไข้ลดลงเด็กจะหยุดชักได้เอง
- โดยทั่วไปเด็กจะหยุดชักภายใน 5 นาที และเมื่อหยุดชักแล้ว ลูกน้อยจะยังไม่รู้สึกตัว คุณแม่ควรจัดตัวลูกให้อยู่ในท่านอนตะแคง (ท่าพักฟื้น) จนกว่าทีมช่วยเหลือจะไปถึง
*สิ่งนี้ห้ามทำเด็ดขาดเมื่อลูกชัก
- ไม่กดตัว หรือแขนขาเด็ก เพื่อพยายามหยุดอาการชัก เพราะนอกจากจะไม่ช่วยให้หยุดชักแล้ว ยังอาจทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บมากขึ้น
- ห้ามยัด หรือนำสิ่งใดเข้าไปในปากลูก รวมทั้งห้ามใช้มือของ คุณพ่อ คุณแม่ ยัดเข้าไปด้วย ทั้งนี้กรณีเด็กกัดลิ้น อาจทำให้เลือดออกก็จริง แต่คุณหมอยืนยันว่าไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต ขณะที่หากสิ่งของที่ใช้ยัดเข้าไปหักหลุดติดทางเดินหายใจ กรณีนี้ถือเป็นอันตรายอย่างแน่นอน
กองบรรณาธิการ
นิตยสาร Amarin Baby & Kids ฉบับคู่มือระวังภัย โลกยุคใหม่อันตรายรอบด้าน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
Save
Save
Save
Save