รักษาฟรี ผู้ป่วยฉุกเฉิน …ตามนโยบายรัฐบาล “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ มีสิทธิ์ทุกที่” กำหนดให้ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ได้ทุกแห่ง เพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาอย่างทันท่วงที โดยไม่ต้องสำรองจ่ายเงินในระยะ 72 ชั่วโมงแรก
รักษาฟรี ผู้ป่วยฉุกเฉิน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560
โดยกรม สบส.ได้ทำหนังสือแจ้งเวียนไปยังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป หน่วยงานภาครัฐ /รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศซึ่งขณะนี้ขึ้นทะเบียนกับกรม สบส.จำนวน 347 แห่ง เพื่อการปฏิบัติตามกฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับ ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ประชาชนทุกคนที่เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ จะได้รับการดูแลช่วยชีวิตอย่างทันท่วงที และเท่าเทียมกัน มีมาตรฐานเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่งมีทั้งการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติจากอุบัติเหตุและจากโรคประจำตัวกำเริบ มีโอกาสรอดชีวิตและได้รับการดูแลจนปลอดภัยใน 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2559 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 ขณะนี้กฎหมายลูกทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย
1.ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย การกำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน
2.ประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินและการระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมการช่วยเหลือเยียวยาและจัดให้มีการส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น
3.หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2560 เป็นต้นไป
โดยเว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว (1 เมษายน 2560) ระบุใจความว่า
อ่านต่อ >> “ข้อรู้ก่อนใช้สิทธิ ป่วยวิกฤตรักษาฟรี 72 ชม.” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ทั้งนี้เพราะเนื่องจากช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีสถิติการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้นเท่าตัว จึงได้มีประสานไปยังศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการตรวจสอบหมายเลขโทรศัพท์ สายด่วน 1669 ให้พร้อมใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติการฉุกเฉินไว้ในประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินแล้ว โดยผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต คือ บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่งมีภาวะคุกคามต่อชีวิต และหากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว และเมื่อมาถึงสถานพยาบาลแล้วผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติจะต้องได้รับการตรวจรักษาภายใน 0-4 นาที
ซึ่งผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติที่ต้องได้รับการวินิจฉัยและให้การตรวจรักษาทันที ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ จะใช้สัญลักษณ์ “สีแดง” ดังตัวอย่าง เช่น ภาวะหัวใจหยุดเต้น ภาวะหยุดหายใจ ภาวะช็อกจากการเสียเลือดรุนแรง ชักตลอดเวลาหรือชักจนตัวเขียว รวมถึง อาการซึม หมดสติ ไม่รู้สึกตัว อาการเจ็บหน้าอกรุนแรงจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันที่มีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด อาการทางสมองจากหลอดเลือดสมองตีบตันทันทีมีความจำเป็นต้องได้รับยาละลายลิ่มเลือด เลือดออกมากอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา เป็นต้น
ซึ่งทางด้านศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิฯ ยังได้จัดทำข้อมูลเผยแพร่ในชื่อชุด 9 ข้อควรรู้ก่อนใช้สิทธิ์ UCEP ให้ประชาชนไว้ใช้ศึกษาก่อนเพื่อทำความเข้าใจก่อนใช้สิทธิ UCEP ซึ่งชุดข้อมูลมีรายละเอียดดังนี้
(ขอบคุณข้อมุลและภาพจาก : www.manager.co.th)
อ่านต่อ >> “หลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดง 25 กลุ่มอาการ” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
หลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดง 25 กลุ่มอาการ มีดังต่อไปนี้
1. ปวดท้องบริเวณหลัง เชิงกราน และขาหนีบ | 13. พิษ รับยาเกินขนาด |
2. แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สัตว์ต่อย แอนาฟิแล็กซิส ปฏิกิริยาภูมิแพ้ | 14. มีครรภ์ คลอด นรีเวช |
3. สัตว์กัด | 15. ชัก มีสัญญาณบอกเหตุการณ์ชัก |
4. เลือดออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ | 16. ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุจำเพาะ |
5. หายใจลำบาก หายใจติดขัด | 17. อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความรู้สึก ยืนหรือเดินไม่ได้เฉียบพลัน |
6. หัวใจหยุดเต้น | 18. ไม่รู้สติ ไม่ตอบสนอง หมดสติชั่ววูบ |
7. เจ็บแน่นทรวงอก หัวใจ มีปัญหาทางด้านหัวใจ | 19. เด็ก กุมารเวช |
8. สำลัก อุดกั้นทางเดินหายใจ | 20. ถูกทำร้าย |
9. เบาหวาน | 21. ไหม้ ลวกเหตุความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าช็อต |
10. ภาวะฉุกเฉินเหตุสิ่งแวดล้อม | 22. ตกน้ำ จมน้ำ บาดเจ็บทางน้ำ |
11. ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกทางตา หู คอ จมูก | 23. พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ เจ็บปวด |
12. คลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท อารมณ์ | 24. อุบัติเหตุยานยนต์ และ 25. อื่นๆ |
หากมีข้อสงสัย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะเป็นหน่วยงานกลางคอยให้คำปรึกษา และให้ความเห็นภายใน 15 นาที ทั้งนี้ในเรื่องของคำนิยาม “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต” หน้าห้องฉุกเฉินของรพ.ต่างๆ เพื่อให้ญาติผู้ป่วย และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ซึ่งจะเป็นเบื้องต้นเท่านั้น เนื่องจากข้อเท็จจริงแพทย์ฉุกเฉินทราบเรื่องนี้แล้ว อย่างไรก็ตาม สำหรับกลุ่มอาการฉุกเฉินวิกฤต หลักๆ มี 6 กลุ่ม คือ
- หัวใจหยุดเต้น ไม่หายใจ ไม่ตอบสนองต่อการเรียกหรือกระตุ้น ไม่มีชีพจร จำเป็นต้องได้รับการกู้ชีพทันที
- การรับรู้ สติเปลี่ยนไป บอกเวลา สถานที่ คนที่คุ้นเคยผิดอย่างเฉียบพลัน
- ระบบหายใจมีอาการดังนี้ ไม่สามารถหายใจได้ปกติ หายใจเร็ว แรง และลึก หายใจมีเสียงดังผิดปกติ พูดได้แค่สั้นๆ หรือร้องไม่ออก ออกเสียงไม่ได้ สำลักอุดทางเดินหายใจกับมีอาการเขียวคล้ำ
- ระบบไหลเวียนเลือดวิกฤติอย่างน้อย 2 ข้อ คือ ตัวเย็นและซีด เหงื่อแตกจนท่วมตัว หมดสติชั่ววูบ หรือวูบเมื่อลุกยืนขึ้น
- อวัยวะฉีกขาด เสียเลือดมาก เสี่ยงต่อการพิการ
- อาการอื่นๆ ที่มีภาวะเสี่ยงต่อชีวิตสูง เช่น เจ็บหน้าอกรุนแรงแขนขาอ่อนแรงทันทีทันใด หรือกำลังชักขณะแรกรับที่จุดคัดแยก
หากสังเกตว่าลูกน้อยหรือคนในบ้านมีอาการดังกล่าว ควรรีบพาไปโรงพยาบาลเเพื่อทำการรักษาโดยด่วนนะคะ เพื่อความปลอดภัยของชีวิต
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- 10 ข้อควรรู้ เมื่อต้องการใช้สิทธิบัตรทอง
- ต้องรู้! สิทธิประกันสังคมฟรี ที่เพิ่มมาในปี 2560
- อาการเจ็บป่วยของลูกน้อย ที่ไม่ควรมองข้าม
ขอบคุณข้อมูลจากและภาพจาก
ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทย , www.nationtv.tv , www.tnews.co.th