จากประสบการณ์ของคุณแม่หลายๆ ท่าน ที่ได้รับอันตรายจาก น้ำแข็งแห้ง จนทำให้หายใจไม่ออก เหนื่อยหอบ มาแล้วหลายคน เนื่องจากซื้อไอศกรีมมารับประทานบนรถ หรือทำงานเกี่ยวของกับ Dry ice หรือน้ำแข็งแห้ง จนเสี่ยงกับการขาดอากาศหายใจ และเสียชีวิตได้โดยไม่รู้ตัว
ส่งต่อเพื่อเตือนกันค่ะ
วันนี้ไปซื้อไอติมฮาเก้นดาสแล้วให้เขาใส่น้ำแข็งแห้ง กะสักประมาณ 4 ชั่วโมงกว่าจะถึงบ้านเพราะต้องแวะไปซื้อของที่อื่นด้วย ไปได้สัก 1 ชั่วโมงเราก็จอดลงไปซื้อขนมประมาณครึ่งชั่วโมงเห็นจะได้ ขึ้นมาบน รถเห็นแฟนที่รออยู่บนรถหอบเหนื่อยก็ไม่อะไรสตาร์ทรถออกมาตามปรกติ เราก็ไม่เอะใจอะไร สักพักลูกเรา 5 เดือนก็ร้องไห้จ้าขึ้นมา ปรกติเขาไม่เคยร้องแบบนี้ เราก็เอานมให้ลูกกินคิดว่าลูกหิว เขาก็ไม่กิน เราเองก็รู้สึกเหนื่อยขึ้นทุกทีคล้ายจะหอบ ก็เลยบ่นกับแฟนว่าเป็นอะไรไม่รู้ รู้สึกเหนื่อยเหลือเกิน แฟนก็เลยบอกว่าเขาก็เป็น
อ่านต่อ “น้ำแข็งแห้ง อันตรายใกล้ตัวที่ทุกครอบครัว” คลิกหน้า 2
เหตุการณ์ที่ 2
ทางร้านก็แพ็คใส่กล่องโฟม มีสติ๊กเกอร์แปะอยู่ 2 ข้างเพื่อไม่ให้ฝาหลุด ขากลับน้องปลื้มไม่ยอมนั่งคาร์ซีท เลยเอาไอติมวางไว้ที่คาร์ซีท แล้วน้องปลื้มก็มานั่งกับเราที่ตอน 3 ระหว่างทางอาม่าก็บอกว่าทำไมรู้สึกเหนื่อยจัง เหมือนหายใจไม่ออก แล้วเค้าก็มีอาการหอบ ป๊าของน้องปลื้มก็บอกว่าเค้าก็เป็น ทำไมถึงเป็นไม่รู้
คุยกันไปมานึกว่าเค้า 2 คนกินอะไรเหมือนกันที่คนอื่นไม่ได้กินหรือเปล่า เราก็สังเกตเห็นทำไมน้องปลื้มหายใจแรงจัง หายใจหอบๆ เสียงลมหายใจฟี้ดๆ แล้วน้องปลื้มก็เอานิ้ว แคะจมูก เราก็นึกว่ามี ขี้มูกทำให้หายใจไม่สะดวก ก็เลยแคะให้แต่ก็ไม่เห็นมีนี่นา
ตกอกตกใจกันไปทั้งรถ มัวแต่หาสาเหตุอื่นๆ ไม่ได้คิดถึงกล่องไอติมเลย รู้ทั้งรู้ แต่นึกไม่ถึงค่ะ ถ้ารถเก๋งวางไว้กระโปรงหลังคิดว่าคงไม่เป็นไร แต่นี่รถ 3 ตอน แถมวางไว้ตรงตอน 2 กลางรถพอดี มันก็เลยไหลเวียนอยู่ในรถนั่นแหละ น่ากลัวมากๆ เลย ไม่อยากนึกเลยว่าถ้าทุกคน หลับกันหมด หรือน้องปลื้มหลับ เค้าจะมีอาการแสดงให้เราเห็นหรือเปล่า
ป๊าของน้องปลื้มบอกว่ารู้แล้วว่าคนขาดอากาศหายใจตายเป็นไง รีบเอา Dry ice ทิ้งหมดเลยค่ะ หรือถ้า แพ็คใส่กล่องแต่ปิดเทปรอบปากกล่องก็คงดีกว่า เลยอยากมาเล่าให้พ่อๆ แม่ๆ ฟังกัน เรื่องที่รู้ทั้งรู้นะแต่นึกไม่ถึงว่าจะอันตรายขนาดนี้คราวหน้าคราวหลังถ้าซื้อไอติมมาคงต้องแพ็คให้หนาแน่นกว่านี้
อ่านต่อ “น้ำแข็งแห้ง อันตรายใกล้ตัวที่ทุกครอบครัว” คลิกหน้า 3
เหตุการณ์ที่ 3
จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส ซึ่งให้ข้อมูลว่า เมื่อก่อนน้ำแข็งแห้งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ทำฝนเทียม ทำน้ำยาดับเพลิงเพียงอย่างเดียว แต่ในปัจจุบันมีการนำน้ำแข็งแห้งมาใช้เป็นหมอกควันจำลอง เพิ่มความเย็น หรือบรรจุใส่รถไอศกรีมเพื่อไม่ให้ไอศกรีมละลาย เพราะน้ำแข็งแห้งมีอุณหภูมิเย็นจัด -80 องศา ซึ่งน้ำแข็งธรรมดาทั่วไปมีแค่ 0 องศา จึงนิยมนำมาใช้แช่แข็งอาหารต่างๆ ทั้งเนื้อสัตว์ ขนม นม ไอศกรีม เพื่อถนอมอาหาร
ถ้าใช้อย่างถูกวิธีก็ถือว่าเป็นประโยชน์ แต่ถ้าใช้ผิดวิธีอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เพราะน้ำแข็งแห้งคือคาร์บอนไดออกไซด์ชนิดแข็ง คือการนำคาร์บอนไดออกไซด์มาอัด และลดอุณหภูมิภายใต้ความดันสูง ออกมาเป็นคาร์บอนไดออกไซด์เหลว แล้วลดความดันอย่างรวดเร็ว ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์แข็ง
น้ำแข็งแห้งไม่หลอมละลายเหมือนน้ำแข็งทั่วไป แต่จะระเหิดกลายเป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แทน ความเย็นจัดของน้ำแข็งแห้ง ทำให้เราบาดเจ็บได้จากการสัมผัสด้วยมือเปล่า ทำให้ผิวหนังไหม้จากการถูกอุณหภูมิเย็นจัด มีอาการปวดแสบ ปวดร้อนยิ่งกว่าถูกไหม้จากน้ำร้อนลวก
ถ้าจำเป็นต้องสัมผัสน้ำแข็ง ต้องใช้ถุงมือ หรือกระดาษรองไว้ เพื่อลดอันตราย ถ้าถูกน้ำแข็งกัดต้องรีบล้างมือโดยเร็ว ด้วยน้ำสะอาดในปริมาณมาก แล้วรีบไปพบแพทย์ และสิ่งที่อันตรายยิ่งกว่าการสัมผัส คือการหายใจเอาน้ำแข็งแห้งเข้าไป
น้ำแข็งแห้ง คือ คาร์บอนไดออกไซด์เพียวๆ ที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ ถ้าต้องใช้น้ำแข็งแห้ง ควรใช้ในที่ๆ อากาศถ่ายเทสะดวก หรืออยู่กลางแจ้ง ห้ามเก็บน้ำแข็งแห้งในปริมาณมากๆ ในห้องแคบๆ หรือเพดานต่ำ เพราะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะระเหิดออกมาแทนที่ก๊าซออกซิเจน ทำให้ขาดอากาศหายใจ เสี่ยงเสียชีวิตได้ และไม่ควรเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท เพราะอาจรวมตัวและระเบิดขึ้นได้
ห้ามนำน้ำแข็งแห้งไปเก็บในตู้เย็น เพราะจะทำให้ตู้เย็นไม่ทำงาน ที่สำคัญที่สุด!! ห้ามรับประทานน้ำแข็งแห้ง หรือนำมาใช้แทนน้ำแข็งธรรมดา และเก็บไว้ให้พ้นมือเด็ก
จากเหตุการณ์ดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุปในทางการแพทย์ แต่มีความเป็นไปได้ เพราะน้ำแข็งแห้ง คือ ก๊าซคาบอนไดออกไซด์ ที่เย็นจัดจนอยู่ในรูปของแข็ง คนที่สูดดม ก็เป็นอันตรายได้ Amarin Baby & Kids ก็อยากให้ทุกคนระมัดระวัง เพราะสิ่งของทุกอย่างมีทั้งข้อดี และข้อเสีย
Save
Save
Save
Save
Save
Save