AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

น้ำร้อนลวก ลูกโดนน้ำร้อนลวกจนเป็นแผลทำยังไงดี?

ลูกโดนน้ำร้อนลวกจนเป็นแผล

จากเรื่องราวในเฟสบุ๊คที่โพสต์ภาพหนูน้อยวัย 2 ขวบมีผ้าพันแผลพันรอบตัว พร้อมเล่าว่าคุณย่าของหนูน้อยวางน้ำร้อนไว้ที่โต๊ะแล้วเผลอ หนูน้อยเลยคว้าน้ำร้อน จนหกราดตัวเอง สร้างความตกใจให้พ่อแม่ และครอบครัว เรามาดูวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อลูกถูก น้ำร้อนลวก กันค่ะ

อุทาหรณ์ลูกน้อยโดนน้ําร้อนลวก

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก คือ การที่ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังถูกทำลาย ส่วนมากเกิดจากอุบัติเหตุ ความประมาท ขาดความระมัดระวัง ความรุนแรงของแผลขึ้นอยู่กับระยะเวลาในการสัมผัสความร้อน อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บ แบ่งเป็น 3 ระดับ ขึ้นอยู่กับความลึก และความกว้างของแผล

ระดับที่ 1 เป็นการไหม้บริเวณผิวหนังด้านนอก ชั้นหนังกำพร้า มีอาการเจ็บปวด ผิวหนังแดง แห้ง ไม่มีตุ่มพุพอง โดยปกติจะหายเร็ว และไม่เกิดแผลเป็น

ระดับที่ 2 เป็นการไหม้ถึงเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังบางส่วน หรือชั้นหนังแท้ มีลักษณะผิวเปียกชื้น แดง กดแล้วซีด มีตุ่มพุพอง ถ้าไม่ติดเชื้อแทรกซ้อนจะหายภายใน 2-3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความลึกของแผล

ระดับที่ 3 เป็นการไหม้ลึกถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังทั้งหมด ผิวไหม้เกรียม หดตึง ไม่มีความรู้สึก มักจะไม่หายเอง มีแนวโน้มติดเชื้อสูง ถ้ารักษาไม่ถูกวิธี

การปฐมพยาบาล

1.ล้างด้วยน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้อง ด้วยการเปิดน้ำไหลผ่าน ช่วยลดการหลั่งสารที่ทำให้เจ็บปวด

2.อย่าใช้ยาสีฟัน น้ำแข็ง หรือน้ำปลาทาแผล ห้ามใส่ยาใดๆ ลงบนแผล เพราะทำให้ระคายเคือง และติดเชื้อ

3.ซับด้วยผ้าแห้งสะอาด หรือใช้แผ่นความเย็นประคบไว้ ถ้ามีรอยถลอก ตุ่มพองใส ควรพบแพทย์

น้ําร้อนลวก ปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อ่านต่อ “การรักษา การดูแลหลังการรักษา และการป้องกัน” คลิกหน้า 2

ควรพักรักษาที่โรงพยาบาลเมื่อใด

1.มีแผลไหม้บริเวณกว้าง

2.เป็นเด็กอายุน้อยกว่า 5 ขวบ

3.ได้รับอุบัติเหตุจากไฟฟ้าแรงสูง

4.มีแผลไหม้ระดับ 3 เป็นวงรอบอวัยวะ เช่น รอบนิ้ว รอบแขนขา รอบลำตัว

5.มีปัญหาสุขภาพ ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น เบาหวาน หรือกินยากดภูมิคุ้มกัน

การดูแลหลังการรักษา

1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นผง หรืออะไรก็ตามที่ทำให้ระคายเคือง ห้ามสัมผัสสัตว์ทุกชนิด อาจติดเชื้อได้

2.รับประทานอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ เพื่อการสร้างเนื้อเยื่อ ให้บาดแผลสมานเร็วขึ้น

3.ไม่ควรเจาะตุ่มพุพอง ทำความสะอาดแผลไหม้ด้วยน้ำเกลือล้างแผล

4.หมั่นทายา และทานยาตามคุณหมอสั่ง ทำแผลทุก 24-48 ชั่วโมง และเปลี่ยนผ้าพันแผล

การป้องกัน

อุบัติเหตุไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยในชีวิตประจำวัน ควรระมัดระวังและไม่ประมาทขณะใช้ของร้อนหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ในบ้านที่มีเด็กเล็กควรระมักระวัง ไม่วางวัสดุที่มีความร้อนไว้ใกล้มือเด็ก เพราะเด็กอาจเอื้อมถึงได้

เครดิต: สมาชิกแหล่งรวบรวมคุณแม่ตั้งครรภ์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้(mom), โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, รศ.นพ.พรพรหม เมืองแมน ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

อ่านเพิ่มเติม คลิก!!

น้ำร้อนลวกลูกน้อย อุบัติเหตุที่พ่อแม่ควรระวัง

ปฐมพยาบาลลูกโดนน้ำร้อนลวกหรือของร้อน – easy baby & kids

วิธีช่วยเหลือลูกน้อย เมื่ออยู่ในสถานการณ์เสี่ยงตาย

Save

Save

Save

Save