AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ระวัง! “ลูกกระดูกหัก” ไม่รู้ตัว สังเกตสัญญาณ ขาโก่ง-บวม-ไม่ขยับ

“ลูกกระดูกหัก” หรือไม่? คุณพ่อคุณแม่ช่วยสังเกตอาการของลูกได้ จะได้รักษาได้ทันท่วงที

โรคกระดูกหักในเด็กนับเป็นภาวะที่พบได้บ่อย เนื่องจากวัยเด็กเป็นวัยที่กำลังซุกซนและมีกิจกรรมมากทำให้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย แม้เด็กมีโอกาสกระดูกหักได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามภาวะกระดูกหักในเด็กมีความแตกต่างจากกระดูกหักในผู้ใหญ่ค่อนข้างมากด้วยเหตุผลหลายประการด้วยกัน เช่น

1. คุณสมบัติของกระดูกเด็ก

กระดูกเด็กมีความแตกต่างจากผู้ใหญ่ ดังอาจเคยได้ยินว่า “เด็กกระดูกยังอ่อน” คำกล่าวนี้นับว่าถูกต้อง กระดูกเด็กหักค่อนข้างง่ายและมีลักษณะการหักบางอย่างที่เป็นลักษณะเฉพาะที่ไม่พบในผู้ใหญ่เช่น การบิดงอผิดรูปของกระดูก (plastic deformity) การย่นของกระดูก หรือการหักลักษณะคล้ายกิ่งไม้สด (green stick) ที่มีการหักที่ด้านหนึ่งและอีกด้านที่งอผิดรูปแต่ไม่แตกออก

อ่านต่อ “เด็กกระดูกหัก ต่างจากผู้ใหญ่อย่างไร?” คลิกหน้า 2

2. กระดูกยังคงมีการเจริญเติบโต

การที่กระดูกเด็กยังคงมีการเจริญเติบโตได้ คือ ศูนย์การเจริญเติบโตของกระดูก (physeal plate) ยังไม่ปิด ซึ่งส่งผลอย่างมากที่ทำให้การรักษากระดูกหักในเด็กมีความต่างจากผู้ใหญ่ เพราะศูนย์การเจริญเติบโตของกระดูกมีลักษณะเป็นกระดูกอ่อนที่จะให้การเจริญเติบโตเพื่อเพิ่มความยาวของกระดูกตามร่างกายที่เติบโตขึ้น ส่วนนี้ของกระดูกยังไม่มีการสะสมของแคลเซียมทำให้เป็นส่วนที่อ่อน ง่ายต่อการบาดเจ็บ แต่กลับไม่สามารถมองเห็นได้จากการ X-Ray ทำให้การวินิจฉัยทำได้ยาก และในการรักษาก็ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เกิดการบาดเจ็บต่อส่วนนี้ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการยึดกระดูกที่ปกติใช้ในผู้ใหญ่ก็อาจใช้ไม่ได้ในเด็กเพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บของศูนย์การเจริญเติบโต ซึ่งจะนำมาสู่การหยุดการเติบโตของกระดูกและทำให้เกิดผลตามมาที่ร้ายแรงเช่น กระดูกผิดรูปบิดเบี้ยว หรือทำให้แขนขาสั้นยาวไม่เท่ากันได้

3. การฟื้นตัวของกระดูก

ในเด็กกระดูกหักง่ายแต่ก็ติดง่าย โดยทั่วไปแล้วในเด็กเมื่อมีกระดูกหักจะมีการฟื้นตัวและการกลับมาติดของกระดูกที่หักเร็วกว่าผู้ใหญ่ รวมถึงเมื่อกระดูกติดแล้วแต่ไม่ตรงหรือมีความผิดรูปของกระดูกหลงเหลืออยู่ก็พบว่าเมื่อกระดูกเติบโตขึ้น กระดูกก็สามารถกลับมาตรงได้เอง ด้วยคุณลักษณะแบบนี้ การรักษากระดูกหักในเด็กจึงเหมาะกับการใส่เฝือกมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะกระดูกติดเร็วจึงไม่ต้องใส่เฝือกนาน และไม่จำเป็นที่กระดูกต้องตรงโดยสมบูรณ์เพราะกระดูกสามารถกลับมาตรงได้เอง ดังนั้นการผ่าตัดเพื่อจัดกระดูกให้ตรงจึงอาจไม่จำเป็น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถรักษาด้วยการใส่เฝือกได้เสมอไป ต้องขึ้นกับปัจจัยอีกหลายอย่างทั้งตำแหน่งและลักษณะของกระดูกที่หัก ช่วงอายุของเด็กในขณะที่กระดูกหัก และสภาพแวดล้อมอื่นๆ รวมถึงกระดูกหักบางชนิดในเด็กก็อาจต้องการการรักษาเฉพาะความชำนาญพิเศษ หรือต้องการใช้อุปกรณ์พิเศษในการยึดกระดูกที่หัก จึงต้องพิจารณาเป็นกรณีไป

อ่านต่อ “การดูแลเมื่อเด็กกระดูกหัก” คลิกหน้า 3

การดูแลเมื่อเด็กกระดูกหัก

เมื่อเด็กได้รับบาดเจ็บแล้วสงสัยว่ามีกระดูกหัก เช่น มีอาการบวมมาก ไม่ยอมขยับส่วนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการผิดรูปโก่งงอของอวัยวะ สิ่งที่ควรทำคือ

 

เรื่อง: นพ. ปวริศร สุขวนิช ศัลยแพทย์กระดูกและข้อในเด็ก โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111

เรียบเรียง: กองบรรณาธิการเว็บไซต์ Amarin Baby & Kids

ภาพ: Shutterstock

อ่านเพิ่มเติม

เลี้ยงลูกให้สูงตามเกณฑ์

ลูกกระดูกเปราะแต่กำเนิด เพราะแม่ท้องกินอาหารที่มีแต่ผงชูรส จริงหรือ?