“ฝึกลูกนอนคว่ำ” อันตราย! เสี่ยงขาดอากาศหายใจ - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
ฝึกลูกนอนคว่ำ

“ฝึกลูกนอนคว่ำ” อันตราย! เสี่ยงขาดอากาศหายใจ

account_circle
event
ฝึกลูกนอนคว่ำ
ฝึกลูกนอนคว่ำ

โรคไหลตายในทารก คืออะไร?

โรคไหลตายในทารก หรือ โรคการเสียชีวิตเฉียบพลันในเด็กทารก หรือ อาการหลับไม่ตื่นในทารก ภาษาอังกฤษเรียกว่า Sudden Infant Death Syndrome (SIDS) อาจเรียกว่า cot death หรือ crib death

สามารถเกิดขึ้นได้กับทารกในขวบปีแรก ทุกคนและทุกช่วงเวลา มักเกิดขึ้นระหว่างการนอนหลับ โดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งยังเกิดขึ้นในทารกที่มีสุขภาพแข็งแรง และอาจเกิดขึ้นขณะพ่อแม่นำลูกเข้านอนและเมื่อตื่นมาพบว่าปลุกลูกไม่ตื่นอีกเลย โดยทารกจะไม่ปรากฏอาการใดนำมาก่อน เช่น ร้องงอแงหรือเคลื่อนไหวใดๆ ทั้งสิ้นก่อนเสียชีวิต

ทารกไหลตาย vs การขาดอากาศหายใจ ต่างกันยังไง?

ข้อมูลจาก Amarican SIDS Institute ระบุว่า SIDS เป็นการเสียชีวิตของทารกที่ไม่สามารถอธิบายได้ ซึ่งเป็นผลมาจากความผิดปกติทางการแพทย์ที่ไม่ทราบสาเหตุ มักจัดเป็นการเสียชีวิตตามธรรมชาติ แต่ การขาดอากาศหายใจโดยไม่ตั้งใจ เป็นการเสียชีวิตที่เกิดจากการอุดตันทางเดินหายใจบางส่วน ทำให้เสียชีวิตจาการขาดออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มขึ้นถูกจัดประเภทเป็นการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ

ในกรณีส่วนใหญ่ การเสียชีวิตของทารกที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ ไม่สามารถแยกได้อย่างชัดเจนว่าเกิดจาก SIDS หรือการขาดอากาศหายใจโดยไม่ตั้งใจ

โรค SIDS
โรค SIDS พบบ่อยสุดคืออายุ 1 ถึง 4 เดือน

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลันของลูกวัยทารกที่สัมพันธ์กับการนอน เรามีคำแนะนำดังนี้ค่ะ

  • คุณแม่ควรจับให้ลูกนอนหงายอยู่เสมอ ซึ่งการนอนหงายมีความปลอดภัยมากกว่าการนอนคว่ำ 6 เท่า และปลอดภัยกว่าการนอนตะแคง 2 เท่า
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดจากการสูบบุหรี่ เนื่องจากความเสี่ยงต่อโรคไหลตาย (SIDS) จะเพิ่มขึ้น หากมารดาสูบบุหรี่ระหว่างการตั้งครรภ์ รวมถึงมีหลักฐานบ่งชี้ว่า การที่ทารกได้รับควันบุหรี่มือสองอาจเพิ่มความเสี่ยงจากโรคไหลตาย (SIDS) ได้
  • ใช้ที่นอนที่แข็งแรงและมีขนาดพอดี ห้ามวางลูกลงบนผ้านวม หมอน หนังแกะ หรือเก้าอี้บีนแบค ฯลฯ
  • ลูกควรมีผ้าห่มของเขาเองและแน่ใจว่าเครื่องนอนไม่ไปปิดทับหน้าหรือศีรษะของเขา เมื่อห่มผ้าห่มให้ลูกน้อยควรสอดผ้าห่มไว้ใต้แขน ไม่วางผ้านวมที่มีขนนุ่มนิ่ม ที่กันกระแทกคล้ายหมอน ตุ๊กตายัดนุ่น และอื่นๆ บริเวณที่ลูกน้อยนอน
  • อย่าปล่อยให้ลูกน้อยรู้สึกร้อนจนเกินไป ห้ามสวมเสื้อผ้าทับกันหลายชั้นหรือทำให้ลูกน้อยรู้สึกร้อนเกินไปโดยห่มผ้าหลายชั้น
  • การสร้างภูมิต้านทาน ด้วยการฉีดวัคซีนให้ครบ รวมถึงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ช่วยให้เกิดผลด้านการป้องกันโดยตรงต่อโรคไหลตาย (SIDS)

ขอบคุณข้อมูลจาก www.fhs.gov.hk

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ท่านอนของลูกแต่ละวัย นอนท่าไหนถึงจะดี และเหมาะสม

ไอเดียสุดเจ๋ง ถุงมือแทนมือแม่แก้ ลูกติดมือ นอนหลับยาก

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up