AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ยาใส่แผล ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย

ยาใส่แผลสำหรับลูกน้อย

แผลเกิดจากการบาดเจ็บของผิวหนัง หรืออวัยวะภายในร่างกาย มีทั้งแผลเปิดซึ่งสามารถมองเห็นได้ เช่น แผลจากของมีคม หรือแผลถลอก ส่วนแผลที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่าคือแผลที่ผิวหนังถูกกระแทก ฟกช้ำ แม่น้องเล็กมี ยาใส่แผล 5 ชนิดมาแนะนำ และยาชนิดไหนใช้กับแผลอะไรบ้างค่ะ

ยาใส่แผล เลือกใช้ยาให้เป็น เพื่อลูกไม่เจ็บ ไม่ร้อง

1.น้ำเกลือล้างแผล ความเข้มข้น 0.90%

น้ำเกลือล้างแผล

เครดิตภาพ: theopsdeck.com

เป็นสารละลายน้ำเกลือใช้ทำความสะอาดแผล ขณะล้างแผลจะไม่รู้สึกแสบมากนัก บางตำรับถูกนำไปใช้ล้างคอนแทคเลนส์ ไม่มีสารกันบูด หากใช้ไม่หมดสามารถเก็บได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง

สรรพคุณ ใช้ล้างทำความสะอาดแผล กลุ่มแผลเปิด ล้างสิ่งสกปรกที่มีขนาดเล็กออก ระคายเคืองน้อย

การจัดจำหน่าย ขนาดบรรจุขวด 100, 1000 มิลลิลิตร

ขนาด/วิธีการใช้ ชะล้างบาดแผลได้เท่าที่ต้องการหรือพิจารณาเห็นว่าบาดแผลสะอาดจนเป็นที่พอใจแล้ว

ข้อควรระวัง ทุกครั้งที่เปิดใช้แล้วต้องปิดขวดให้สนิท ไม่ปล่อยให้สัมผัสอากาศ ลดการปนเปื้อน

การเก็บรักษา เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง เก็บให้พ้นมือเด็ก หากเปิดใช้เกิน 24 ชั่วโมง ให้เททิ้งไม่สมควรเก็บไว้

ชื่อการค้า Saline for Irrigation (ซาไลน์ ฟอร์ เออริเกชั่น), Klean & Kare (คลีนแอนด์แคร์)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ ยาใส่แผล ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย ” คลิกหน้า 2

2.โพวิโดน ไอโอดีน

โพวิโดน ไอโอดีน

ใช้ทาป้องกัน และรักษาแผลบริเวณผิวหนังมีใช้อย่างแพร่หลาย ฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ยับยั้งการเจริญเติบโตของยีสต์ (เชื้อราที่เป็นเซลล์เดียว) ไวรัส เชื้อรา และโปรโตซัว (เชื้อโรคที่เป็นสัตว์เซลล์เดียว)

สรรพคุณ ใช้ทาป้องกัน และรักษาการติดเชื้อบริเวณผิวหนัง

การจัดจำหน่าย ขนาดความเข้มข้น 10% บรรจุขวด 15, 30, 500 มิลลิลิตร บรรจุแกลลอน 4,500 มิลลิลิตร

ขนาด/วิธีการใช้ ทาบริเวณแผลเพื่อป้องกันการติดเชื้อ โดยหยดบนสำลี หรือหยดห่างจากแผล ไม่ให้เปื้อนปากแผล หลังใช้ปิดฝาให้เรียบร้อย ป้องกันการเสื่อมสภาพ หากหมดอายุควรทิ้งไปได้เลย

ข้อควรระวัง ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้ อาจมีอาการแพ้ ตั้งแต่ผื่นคัน ไปจนถึงปากบวม หายใจไม่ออก ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์ มารดาที่ให้นมบุตร เด็กแรกเกิด เด็กที่มีน้ำหนักต่ำกว่า 1.5 กิโลกรัม เพราะอาจดูดซึมและเป็นสาเหตุลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ได้

การเก็บรักษา สามารถเก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิห้อง เก็บให้พ้นมือเด็ก

ชื่อการค้า Bacteden (แบคทีดีน), Betadine (เบตาดีน), Betamed Solution (เบตาเมด โซลูชั่น), Ipodine (ไอโพดีน), Isodine (ไอโซดีน), P-Vidine (พี-วิดีน), Pactadine (แพคทาดีน), Pharmadine (ฟาร์มาดีน)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ยาใส่แผล ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย” คลิกหน้า 3

3.แอลกอฮอล์ 70%

แอลกอฮอล์ 70 %

ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่สามารถนำไปรับประทานได้ ในท้องตลาดมักจะผสมสีฟ้า และเพิ่มสารที่มีรสขม เพื่อป้องกันการนำไปดื่มแทนสุรา

สรรพคุณ ใช้ทาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนัง

การจัดจำหน่าย ขนาดความเข้มข้น 70% บรรจุขวด 15, 24, 30, 60, 450 มิลลิลิตร

ขนาด/วิธีการใช้ ทารอบแผล ห้ามทา หรือเทราดแผลโดยตรง เพราะจะระคายเคือง แสบ ทำให้แผลหายช้า

ข้อควรระวัง ห้ามนำไปดื่มแทนสุราจะส่งผลเสียต่อร่างกายเช่น ตาบอด เป็นแผลในกระเพาะอาหาร-ลำไส้

การเก็บรักษา เก็บในที่ที่มีอากาศถ่ายเท เก็บในอุณหภูมิห้อง เก็บให้พ้นมือเด็ก หลังใช้ต้องปิดขวดให้มิดชิด

ชื่อการค้า Denatured Ethanol 70% (ดีเนเจอร์เอทานอล 70%), Alcohol Sahakarn (แอลกอฮอล์ สหการ), Alcohol UD (แอลกอฮอล์ ยูดี)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ยาใส่แผล ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย” คลิกหน้า 4

4.ไฮโดรเจน เพอร์ออกไซด์

ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

เครดิตภาพ: punyarx.com

เป็นยาที่ใช้ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อในแผลที่มีคราบหนอง หรือคราบเลือด สามารถเจือจาง และใช้อมบ้วนปากได้ ในทางทันตกรรมสามารถใช้ฟอกสีฟันเพื่อทำให้ฟันขาว

สรรพคุณ ใช้ฆ่าเชื้อและยับยั้งการเจริญเติบโตของแผลที่มีคราบหนองหรือเลือดติดอยู่ที่บาดแผล ขณะใช้มักเกิดปฏิกิริยาเป็นฟองอากาศและทำให้คราบเลือด หนอง หรือเศษผิวหนังที่เปื่อยหลุดออกมา

การจัดจำหน่าย ขนาดความเข้มข้น 6% บรรจุขวด 15, 24, 30, 60, 400 และ 450 มิลลิลิตร

ขนาด/วิธีการใช้ ทาแผลที่มีคราบหนอง คราบเลือดตามเหมาะสม หากใช้น้อยเกินไป คราบหนองเลือดจะหลุดออกยาก และแผลอาจจะติดเชื้อต่อได้ หรือถ้าใช้มากเกินไป จะทำให้เนื้อเยื่อส่วนที่ดีถูกทำลายไปด้วย

ข้อควรระวัง หากใช้อมบ้วนปากให้ระวังการกลืนลงท้อง ด้วยเป็นยาที่ให้ปริมาณแก๊สมากและกัดเนื้อเยื่อของร่างกาย ไม่ควรใช้กับแผลสด แผลมีดบาด เพราะจะทำให้ระคายเคืองและแผลหายช้า

การเก็บรักษา เก็บในที่อุณหภูมิห้อง เก็บให้พ้นมือเด็ก

ชื่อการค้า Hydrogen Peroxide Sahakarn (ไฮโดรเจน เปอร์ออกไซด์ สหการณ์)

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

อ่านต่อ “ยาใส่แผล ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยกับลูกน้อย” คลิกหน้า 5

5.ซิงค์ ไฮอะลูโรเนท

ยาใส่แผล ซิงค์ ไฮอะลูโรเนท

เครดิตภาพ: mims.com

จัดเป็นยาที่ใช้กับแผลเรื้อรัง โดยใช้กลไกการรักษาความชุ่มชื้นให้กับผิวหนังและเป็นตัวกรองแบคทีเรียไม่ให้ไปสัมผัสกับบาดแผล จึงทำให้การสมานแผลมีประสิทธิภาพมากขึ้น

สรรพคุณ รักษาบาดแผลเรื้อรัง เช่น แผลกดทับ แผลจากโรคเบาหวาน แผลเปื่อยตามผิวหนัง

การจัดจำหน่าย เจลบรรจุหลอด ขนาด 15 กรัม

ขนาด/วิธีการใช้ ทาแผลเปื่อย แผลกดทับ แผลเบาหวาน ควรปรึกษาแพทย์เภสัชกรเพื่อรับคำแนะนำการใช้

ข้อควรระวัง ระวังการใช้ยากับผู้ที่แพ้ยานี้

การเก็บรักษา สามารถเก็บยาที่อุณหภูมิห้องได้ เก็บให้พ้นมือเด็ก

ชื่อการค้า Curiosin (คูริโอซิน)

ลูกน้อยช่วงวัยหัดเดิน และกำลังหัดวิ่ง มักจะได้รับอุบัติเหตุ มีอาการบาดเจ็บ บาดแผลเล็กๆ น้อยๆ ตามร่างกาย ด้วยความซุกซนตามประสาเด็กๆ เมื่อลูกเกิดบาดแผลคุณพ่อ คุณแม่ก็ต้องหายามารักษาแผลให้ลูกตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้บาดแผลของลูกน้อยเกิดการติดเชื้อ และลุกลามใหญ่โตได้ด้วยนะคะ

เครดิต: นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ, เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง คลิก!

แผลในปาก ลูกน้อย สาเหตุและวิธีการดูแลรักษา

น้ำร้อนลวก ลูกโดนน้ำร้อนลวกจนเป็นแผลทำยังไงดี?

5 ขั้นตอน ทำแผลให้ลูกอย่างง่าย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

Save

Save