อุบัติเหตุในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็กนั้น เป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวังเป็นอย่างมาก เพราะเพียงแค่เสี้ยววินาทีที่เผลอ ก็อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นกับลูกน้อยได้ ดังนั้นเรื่อง ความปลอดภัย จึงเป็นสิ่งสำคัญ มีกรณีตัวอย่างจากคุณแม่ท่านหนึ่ง ที่แชร์ประสบการณ์เพื่อเป็นอุทาหรณ์ เมื่อลูกน้อยได้รับอุบัติเหตุภายในบ้านของตัวเอง
ความปลอดภัย เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรระวัง
คุณแม่ท่านหนึ่งได้แชร์ประสบการณ์ไว้ในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นกับลูกน้อยวัยเพียง 7 เดือน จากการเอานิ้วมือไปแหย่พัดลมว่า
วันนี้จะมาแชร์ประสบการณ์ #ลูกน้อยแสนซนกับพัดลมตัวเก่ง #อยากให้แม่ๆแวะที่โพสต์นี้ก่อน เพียงคำว่าเผลอของแม่ เพียงเสี่ยววินาที!!! เสี่ยววินาทีเท่านั้นเอง
เข้าเรื่อง เมื่อตอนสายๆ ของวันนี้ลูกสาววัย 7 เดือน 7 วัน นางเห็นอะไรก็พยายามจะจับจะเกาะยืนไปหมด และวันนี้นางไปวนเวียนตรงพัดลม นางจะชอบปิดพัดลม ปกติจะคลานไปปิดแล้วก็คลานออกมา แต่วันนี้นางปิดเสร็จเราก็นั่งดูนางอยู่ แต่หันไปปูที่นอนแปปเดียว ปูเพื่อจะให้นางมานอนเล่นบนที่นอนปูไม่ทันเสร็จ นางร้องจ๊ากขึ้นมา!!!หันไปดูคือนางเอามือแหย่เข้าไปตรงที่เราวงไว้ คือหันไปคิดว่าต้องเลือดแน่ๆ คือใจเสียมาก รีบวิ่งไปดึงมือลูกออกและอุ้มลูกมากอด ได้แต่โทษตัวเอง ลูกเจ็บมากแบบร้องกลั้นเลย อยากให้แม่ๆ ระวังมากขึ้นกับพัดลม ไม่อยากคิดเลยถ้าเอามือไปแหย่ตรงที่มันสูงกว่านี้นิ้วนางจะเป็นยังไง เห้อ ความเผลอเพียงเสี่ยววินาทีมันอาจทำให้คนที่เรารักมากที่สุดเจ็บที่สุดก็ได้ เห้อ สัญญากะตัวเองว่าจะไม่เผลอกับลูกอีกแล้ว
#มาแชร์ประสบการณ์ให้แม่ๆระวังมากกว่านี้นะคะ #ที่ว่าระวังแล้วอาจไม่มากพอ #คงเป็นเพราะเราคิดว่าจะไม่จับไม่โดน #เด็กวัยนี้เป็นเด็กที่เผลอไม่ได้จริงๆ #ไม่มาม่านะคะกินหมูทะอิ่มแล้ว
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Facebook Nanthicha Sukprasong
เรียกได้ว่าเด็กในวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลเป็นพิเศษ ละสายตาไม่ได้ เพราะอันตรายสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งสำหรับเด็กเล็กนั้น อันตรายอยู่ใกล้ตัวเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ภายในบ้านของตัวเอง มาเช็คกันว่ามีอะไรบ้างที่เป็นอันตรายกับลูกน้อย
อ่านต่อ “จุดเสี่ยงอันตรายภายในบ้าน” คลิกหน้า 2
จุดเสี่ยงอันตรายภายในบ้าน
แม้ว่าจะอยู่ภายในบ้าน คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรละเลยที่จะต้องระมัดระวัง เพราะอุบัติเหตุในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอันตรายที่อาจกิดขึ้นกับลูกน้อยนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ
1. ปลั๊กไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ควรปิดที่เสียบปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้ด้วยพลาสติกสำหรับปิด หรือติดตั้งกล่องครอบปลั๊กไฟ ต่อสายดินกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ตู้กดน้ำดื่ม เครื่องซักผ้า และต่อเครื่องมือตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ2. เก้าอี้ โซฟา คุณพ่อคุณแม่บางคนชอบวางลูกไว้บนโซฟา ซึ่งเด็กแรกเกิดเคลื่อนโดยการถีบขา ส่วนเด็กวัย 4-6 เดือน เริ่มพลิกคว่ำพลิกหงายได้ อาจจะทำให้เกิดการพลัดตกจากเตียง เก้าอี้ หรือโซฟาได้ หากจำเป็นต้องวางเด็กบนที่สูงเพื่อหยิบผ้าอ้อม หรือเตรียมนม ต้องวางมือข้างหนึ่งบนตัวเด็กไว้เสมอ
3. เตียงเด็ก หรือเปล ก็เป็นสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในเด็กได้เช่นกัน ยิ่งเปลเด็กที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้เกิดอันตรายจากการดิ้นของเด็ก จนศีรษะเข้าไปติดค้างได้ บางครั้งอาจติดค้างระหว่างริมเบาะที่นอนกับผนังเปล หรือเบาะที่นอนด้านที่ชิดกำแพงได้ มุมเสาทั้ง 4 ด้านของเปลที่ยกสูงขึ้นมา อาจเกี่ยวรั้งเสื้อผ้าของเด็ก และเกิดการรัดคอ จึงควรเลือกประเภทของเปลและจัดวางเบาะที่นอนให้เหมาะสมสำหรับเด็ก
4. หน้าต่าง ในเด็กเล็กนั้น กำลังชอบการเกาะยืน ปีนป่ายเฟอร์นิเจอร์ที่วางชิดหน้าต่าง และอาจพลัดตกลงไปได้ จึงควรปิดหน้าต่างหรือมุ้งลวดให้มิดชิด ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ในตำแหน่งที่ชิดกับหน้าต่างเกินไป
5. บันได เด็กเล็กในวัย 6-12 เดือน จะเริ่มเคลื่อนที่ได้ดี และเร็วขึ้นจากการกลิ้ง คลาน เกาะเดิน เมื่อเด็กเดินหรือวิ่งได้แล้วก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการตกบันได หกล้ม มากขึ้น ดังนั้น จึงควรระมัดระวัง หากลูกน้อยเริ่มมีการคลานหรือเดินไปที่บันได
7. ประตูห้อง จุดนี้ถือว่าเป็นจุดที่ค่อนข้างอันตรายสำหรับเด็กวัยหัดคลาน หัดเดินเป็นอย่างมาก เพราะอาจถูกประตูหนีบมือได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดเตรียมอุปกรณ์ที่สามารถใช้ป้องกันประตูหนีบมือลูกได้
8. อ่างน้ำ เด็กที่จมน้ำส่วนใหญ่ มักเกิดจากการเผลอ หรือประมาทชั่วขณะของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่อาจจะปล่อยให้เด็กเล่นน้ำตามลำพัง หรือไม่ได้ระวังให้อยู่ในสายตาตลอด เด็กก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้
9. ตู้ต่างๆ ชั้นวาง โต๊ะวางทีวี เด็กในวัยเริ่มอายุ 1 – 2 ปี จะมีความสามารถในการปีนป่าย ยืนบนเก้าอี้ เพื่อหยิบของจากที่สูง โต๊ะวางสิ่งของเหล่านี้จึงควรวางบนพื้นราบ มั่นคง ไม่ล้มง่าย เฟอร์นิเจอร์ไม่ควรมีมุมคม หรือหากมีก็ควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมของทุกมุม
10. ความร้อน เด็กในวัย 3-5 เดือน เริ่มคว้าสิ่งของได้ อาจปัดไปโดนกาน้ำร้อนที่อยู่บนโต๊ะ หรือถูกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนลวกมือได้ อย่าอุ้ม หรือให้เด็กนั่งตัก เมื่อมีของร้อนอยู่ใกล้ๆ และไม่ควรวางต่ำจนเกินไป เพราะเด็กอาจสามารถเอื้อมถึงได้
11. สัตว์เลี้ยงในบ้าน เด็กในวัย 6 เดือนขึ้นไป มักสนใจสิ่งรอบข้าง โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยง ลูกน้อยการมีความเสี่ยงถูกเลีย กัด ข่วน ได้ หากแหย่สัตว์เลี้ยง หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงไม่ถูกวิธี นอกจากนี้ ในน้ำลาย และตามเลบของสัตว์เลี้ยง อาจมีสิ่งสกปรก หรือโรคติดต่อซ่อนอยู่ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคอื่นๆ ที่อาจทำให้เด็กเล็กๆ ติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังเป็นพิเศษ
ขอบคุณข้อมูลจาก mthai
อ่านต่อ “วิธีป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก” คลิกหน้า 3
วิธีป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก
♦ น้ำร้อนลวก/ไฟฟ้าดูด
วิธีป้องกัน
- ไม่ควรทิ้งเด็กเล็กไว้ตามลำพัง
- อย่าให้เด็กเล่นไม้ขีดไฟ
- ไม่ควรวางของเล่นใกล้บริเวณเตาไฟ
- อย่าวางกระติกน้ำร้อนในที่เด็กคว้าง่าย ควรปิดฝาให้แน่นเสมอ
- ระวังผ้าปูโต๊ะปล่อยชาย ที่เด็กจะคว้าถึง
- ติดตั้งปลั๊กไฟให้สูง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกแหย่เล่น
- ระวังอย่าให้ลูกเข้าใกล้เมื่อต้มน้ำหรือรีดผ้า และควรดึงปลั๊กไฟฟ้าออกทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จ
♦ อุบัติเหตุจมน้ำ
วิธีป้องกัน
- ควรทำฝาปิดบ่อน้ำหรือภาชนะกักน้ำบริเวณบ้าน
- อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำตามลำพัง
- หัดให้เด็กว่ายน้ำเป็นโดยเร็ว
♦ อุบัติเหตุบนถนน
วิธีป้องกัน
- พ่อแม่ควรอุ้ม หรือจูงมือลูกให้แน่น ขณะพาข้ามถนน
- ถ้าลูกเริ่มโต ควรสอนให้ลูกรู้จักข้ามถนนในทางม้าลาย หรือใช้สะพาน
- ถ้านั่งรถยนต์ควรล็อคประตู และรัดเข็มขัดนิรภัย สำหรับเด็กเล็กควรนั่งคาร์ซีท
- พยายามหลีกเลี่ยง อย่าให้เด็กซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์
♦ อุบัติเหตุจาการได้รับสารพิษ
วิธีป้องกัน
- ขวดยาต่างๆ ผงซักฟอก น้ำยาเคมี หรือสารพิษอื่นๆ ควรปิดฉลาก และจุกให้แน่น และเก็บในที่ปลอดภัยพ้นมือเด็ก
- อย่าลืมอ่านฉลากก่อนให้ลูกกินยาทุกครั้ง
- ยาที่หมดอายุ หรือไม่ใช้แล้ว ควรทิ้งให้พ้นมือเด็ก
♦ อุบัติเหตุจากของมีคม
วิธีป้องกัน
- พ่อแม่ต้องเก็บของมีคม อันตรายให้มิดชิด หรือให้พ้นมือลูก
เมื่อคุณพ่อคุณแม่ทราบแบบนี้แล้ว ก็ควรจะระมัดระวังกันมากขึ้น รวมถึงอย่าลืมดูแลลูกหลานกันอย่างใกล้ชิดจะได้ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นกับลูกๆ นะคะ
ขอบคุณข้อมูลจาก bangkokhealth
อ่านบทความที่น่าสนใจเพิ่มเติม คลิก!!
รวม 12 อุบัติเหตุที่แม่ท้อง ต้องระวัง!
4 อุบัติเหตุไม่คาดฝันในบ้าน พ่อแม่ห้ามประมาท
น้ำร้อนลวกลูกน้อย อุบัติเหตุที่พ่อแม่ควรระวัง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่