ความปลอดภัย เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรระวัง - amarinbabyandkids
ความปลอดภัย

ความปลอดภัย เรื่องสำคัญที่พ่อแม่ควรระวัง

event
ความปลอดภัย
ความปลอดภัย

จุดเสี่ยงอันตรายภายในบ้าน

แม้ว่าจะอยู่ภายในบ้าน คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรละเลยที่จะต้องระมัดระวัง เพราะอุบัติเหตุในเด็ก สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอันตรายที่อาจกิดขึ้นกับลูกน้อยนั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันค่ะ

ความปลอดภัย
ควรปิดที่เสียบปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้ด้วยพลาสติกสำหรับปิด หรือติดตั้งกล่องครอบปลั๊กไฟ

1. ปลั๊กไฟ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ควรปิดที่เสียบปลั๊กไฟที่ไม่ได้ใช้ด้วยพลาสติกสำหรับปิด หรือติดตั้งกล่องครอบปลั๊กไฟ ต่อสายดินกับอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น ตู้เย็น ตู้กดน้ำดื่ม เครื่องซักผ้า และต่อเครื่องมือตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ2. เก้าอี้ โซฟา คุณพ่อคุณแม่บางคนชอบวางลูกไว้บนโซฟา ซึ่งเด็กแรกเกิดเคลื่อนโดยการถีบขา ส่วนเด็กวัย 4-6 เดือน เริ่มพลิกคว่ำพลิกหงายได้ อาจจะทำให้เกิดการพลัดตกจากเตียง เก้าอี้ หรือโซฟาได้ หากจำเป็นต้องวางเด็กบนที่สูงเพื่อหยิบผ้าอ้อม หรือเตรียมนม ต้องวางมือข้างหนึ่งบนตัวเด็กไว้เสมอ

3. เตียงเด็ก หรือเปล ก็เป็นสิ่งของที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในเด็กได้เช่นกัน ยิ่งเปลเด็กที่ไม่ได้มาตรฐาน อาจทำให้เกิดอันตรายจากการดิ้นของเด็ก จนศีรษะเข้าไปติดค้างได้ บางครั้งอาจติดค้างระหว่างริมเบาะที่นอนกับผนังเปล หรือเบาะที่นอนด้านที่ชิดกำแพงได้ มุมเสาทั้ง 4 ด้านของเปลที่ยกสูงขึ้นมา อาจเกี่ยวรั้งเสื้อผ้าของเด็ก และเกิดการรัดคอ จึงควรเลือกประเภทของเปลและจัดวางเบาะที่นอนให้เหมาะสมสำหรับเด็ก

ความปลอดภัย
เมื่อเด็กเดินหรือวิ่งได้แล้วก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการตกบันไดมากขึ้น

4. หน้าต่าง ในเด็กเล็กนั้น กำลังชอบการเกาะยืน ปีนป่ายเฟอร์นิเจอร์ที่วางชิดหน้าต่าง และอาจพลัดตกลงไปได้ จึงควรปิดหน้าต่างหรือมุ้งลวดให้มิดชิด ไม่วางเฟอร์นิเจอร์ในตำแหน่งที่ชิดกับหน้าต่างเกินไป

5. บันได เด็กเล็กในวัย 6-12 เดือน จะเริ่มเคลื่อนที่ได้ดี และเร็วขึ้นจากการกลิ้ง คลาน เกาะเดิน  เมื่อเด็กเดินหรือวิ่งได้แล้วก็ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการตกบันได หกล้ม มากขึ้น ดังนั้น จึงควรระมัดระวัง หากลูกน้อยเริ่มมีการคลานหรือเดินไปที่บันได

7. ประตูห้อง จุดนี้ถือว่าเป็นจุดที่ค่อนข้างอันตรายสำหรับเด็กวัยหัดคลาน หัดเดินเป็นอย่างมาก เพราะอาจถูกประตูหนีบมือได้ง่าย คุณพ่อคุณแม่อาจจะจัดเตรียมอุปกรณ์ที่สามารถใช้ป้องกันประตูหนีบมือลูกได้

8. อ่างน้ำ เด็กที่จมน้ำส่วนใหญ่ มักเกิดจากการเผลอ หรือประมาทชั่วขณะของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่อาจจะปล่อยให้เด็กเล่นน้ำตามลำพัง หรือไม่ได้ระวังให้อยู่ในสายตาตลอด เด็กก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุจมน้ำได้

9. ตู้ต่างๆ ชั้นวาง โต๊ะวางทีวี  เด็กในวัยเริ่มอายุ 1 – 2 ปี จะมีความสามารถในการปีนป่าย ยืนบนเก้าอี้ เพื่อหยิบของจากที่สูง โต๊ะวางสิ่งของเหล่านี้จึงควรวางบนพื้นราบ มั่นคง ไม่ล้มง่าย เฟอร์นิเจอร์ไม่ควรมีมุมคม หรือหากมีก็ควรใส่อุปกรณ์กันกระแทกที่มุมของทุกมุม

10. ความร้อน เด็กในวัย 3-5 เดือน เริ่มคว้าสิ่งของได้ อาจปัดไปโดนกาน้ำร้อนที่อยู่บนโต๊ะ หรือถูกเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อนลวกมือได้ อย่าอุ้ม หรือให้เด็กนั่งตัก เมื่อมีของร้อนอยู่ใกล้ๆ และไม่ควรวางต่ำจนเกินไป เพราะเด็กอาจสามารถเอื้อมถึงได้

11. สัตว์เลี้ยงในบ้าน เด็กในวัย 6 เดือนขึ้นไป มักสนใจสิ่งรอบข้าง โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยง ลูกน้อยการมีความเสี่ยงถูกเลีย กัด ข่วน ได้ หากแหย่สัตว์เลี้ยง หรือเล่นกับสัตว์เลี้ยงไม่ถูกวิธี นอกจากนี้ ในน้ำลาย และตามเลบของสัตว์เลี้ยง อาจมีสิ่งสกปรก หรือโรคติดต่อซ่อนอยู่ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคอื่นๆ ที่อาจทำให้เด็กเล็กๆ ติดเชื้อ คุณพ่อคุณแม่จึงควรระวังเป็นพิเศษ

ขอบคุณข้อมูลจาก  mthai

อ่านต่อ “วิธีป้องกันอุบัติเหตุในเด็ก” คลิกหน้า 3

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up