AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

7 ของใช้ในบ้าน เชื้อโรค สะสมมากรีบทำความสะอาดด่วน!!

Credit Photo : Pixabay , Shutterstock

ของใช้ในบ้าน เชื้อโรค สะสมอยู่มากๆ หยิบใช้กันทุกวันนั้นมีอยู่ด้วยกันถึง 7 อย่างที่เป็นแหล่งสะสม และแพร่เชื้อโรคสู่คนในบ้านอย่างคาดไม่ถึงเลยละค่ะ ทีมงาน Amarin Baby & Kids จะพาไปสำรวจของใช้ในบ้านที่เขาว่าเชื้อโรคชอบหมักหมมแอบซ่อนอยู่กันมากที่สุด ซึ่งเมื่อรู้แล้วต้องรีบเคลียร์ทำความสะอาด และหมั่นเปลี่ยนชิ้นใหม่กันบ่อยๆ ด้วยนะคะ

 

ของใช้ในบ้าน เชื้อโรค ชอบอาศัยอยู่มากที่สุด!!

ตกใจเลยค่ะพอบอกว่า ของใช้ในบ้าน เชื้อโรค ชอบแอบซ่อนอยู่มากที่สุด แล้วก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กๆ และทุกคนในบ้านป่วยกระเสาะกระแสะกันอยู่บ่อยๆ เราเองนี่อยากจะโละทิ้งเปลี่ยนใหม่ให้หมดเลย แต่ก็มานั่งตั้งสติว่าถ้าของใช้บางอย่างเราแค่หมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ ตากแดดฆ่าเชื้อโรคก็พอจะได้อยู่ แต่ถ้าเป็นของใช้ในบ้านบางอย่างที่ถ้าหมดอายุการใช้งานก็สมควรแก่การเปลี่ยนใหม่ นึกไปนึกมาว่าแต่ 7 ของใช้สะสมเชื้อโรคที่ว่านั้นมีอะไรบ้าง ไปค่ะไปสำรวจพร้อมกันทุกบ้านเลยค่ะ…

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกมาเตือนถึงของใช้ในบ้านที่ใช้กันอยู่ทุกวันมีอยู่ 7 อย่างที่ถือเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคสูงสุด และก็แนะนำให้ทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ หรือไม่ก็ควรเปลี่ยนเอาของเก่าออกไป แล้วใส่ของใหม่เข้าไปแทนที เพียงเท่านี้ก็ไม่กลายเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรค สุขภาพของลูกๆ รวมถึงทุกคนในบ้านก็แข็งแรงห่างไกลโรคแล้วค่ะ

1. ฟองน้ำล้างจาน ชาม ฯลฯ

เห็นหลายๆ บ้านเลยค่ะที่ใช้ฟองน้ำล้างจาน ชาม ภาชนะที่เหี่ยว เปื่อยแล้วก็ไม่ยอมเปลี่ยนใหม่สักที แนะนำว่าควรเปลี่ยนใช้ฟองน้ำชิ้นใหม่ได้แล้วนะคะ

วิธีทำความสะอาด

สำหรับฟองน้ำหลังจากที่ใช้ทำความสะอาดภาชนะเสร็จแล้ว ให้ล้างน้ำเปล่าให้สะอาด แล้วตากแดดไว้สัก 2-3 ชั่วโมง หรือใช้น้ำส้มสายชู 4 ช้อนโต๊ะผสมน้ำเปล่าครึ่งลิตร จากนั้นนำฟองน้ำแช่ไว้ 1 คืน หรือจะใช้เป็นผลิตภัณฑ์ล้างจานที่มีคุณสมบัติช่วยยับยังแบคทีเรียล้างทำความสะอาดฟองน้ำก็ได้เช่นกันค่ะ  ควรฆ่าเชื้อโรคที่ฟองน้ำประมาณ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ จนกว่าจะเปลี่ยนใช้ฟองน้ำก้อนใหม่ค่ะ

2. ใยอาบน้ำ ขัดผิว

บ้านไหนที่ชอบใช้ไม่ว่าจะเป็นใยบวบ หรือใยสังเคราะห์สำหรับอาบน้ำ คือบางทีบ้านนึงมีสมาชิก 5 คนก็ใช้ร่วมกัน ขอบอกว่านี่ก็เป็นของใช้ในบ้านอีกชิ้นที่เชื้อโรคชอบกันนัก

บทความแนะนำ คลิก>> วิจัยเผย!แปรงสีฟัน แหล่งสะสมเชื้อโรค เสี่ยงลูกเป็นโรคช่องปาก

วิธีทำความสะอาด

ในเมื่อถูกใช้งานมากก็ต้องทำความสะอาดให้หนักๆ หลังใช้เสร็จแล้วกันด้วยนะคะ เพื่อสุขอนามัยที่ดีของทุกคนในครอบครัว สำหรับใยอาบน้ำ หรือฟองน้ำอาบน้ำ ให้ซักด้วยสบู่และน้ำสะอาด จากนั้นนำไปแขวนผึ่งแดดให้แห้งเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค แนะนำว่าควรทำความสะอาดหลังใช้ทุกครั้ง หรืออย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ และก็ควรเปลี่ยนใย หรือฟองอาบน้ำใหม่ทุก 3 สัปดาห์ค่ะ

7 ของใช้ในบ้านแหล่งสะสมเชื้อโรค เสี่ยงป่วยเรื้อรัง หน้า 2

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

3. ฝักบัวอาบน้ำ

มีเชื้อโรคจริงๆ นะคุณ ทำไมไม่เชื่อกันบ้างเลย มีคนเถียงค่ะว่าเป็นไปไม่ได้ เอาเป็นว่าเจ้าฝักบัวอาบน้ำเนี่ยก็ตัวท็อปต้นๆ ที่เชื้อโรคชอบอาศัยอยู่กันนักแล เพราะอย่าลืมว่าฝักบัวที่อยู่ในห้องน้ำนั้นเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา แถมห้องอาบน้ำบางบ้านเป็นห้องที่ไม่มีหน้าต่าง ช่องลมให้ระบายอากาศ แน่นอนว่าชื้นๆ แบบนี้น้องเชื้อโรคชอบมากจ้ะ

วิธีทำความสะอาด

สำหรับฝักบัว แนะนำว่าให้ถอดตรงส่วนหัวฝักบัว แล้วใช้แปรงสีฟันที่ซื้อมาใหม่ หรือไม่ใช้แล้วค่ะ นำแปรงสีฟันมาขัดมาขัดคราบเหลืองและเศษสิ่งสกปรกออกด้วยผงซักฟอก หรือน้ำยาล้างจาน หรือจะใช้เป็นสบู่เหลวอาบน้ำที่มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียก็ได้เช่นกันค่ะ  (หัวฝักบัวที่ถอดได้เมื่อล้างทำความสะอาดแล้ว ก็เอาไปพึงแดด พึงลมให้แห้งค่ะ)

แต่ถ้าเป็นหัวฝักบัวที่แกะออกไม่ได้ ก็ให้ผสมน้ำกับน้ำส้มสายชูใส่ในถุงพลาสติก แล้วนำมาคลุมหัวฝักบัวมัดถุงให้แน่นแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 คืน แล้วน้ำมาขัดล้างให้สะอาดค่ะ  การทำความสะอาดฝักบัวควรทำอย่างน้อย 1 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อลดการสะสมของเชื้อโรค

4. แปรงหวีผม

หนังศีรษะที่เต็มไปด้วยเหงื่อ ฝุ่นละออง ไขมันจากน้ำมันบนเส้นผม หนังศีรษะฯลฯ เมื่อมาสัมผัสกับแปรงหวีผมที่เราใช้ๆ กันอยู่ทุกวันก็เกิดเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้เช่นกันค่ะ  แบบนี้เห็นทีจะปล่อยไว้ไม่ได้แล้วนะเนี่ย

วิธีทำความสะอาด

ของใช้ในบ้าน หรือของใช้ส่วนตัวก็ตาม ใช้แล้วก็ควรต้องหมั่นทำความสะอาดกันด้วยนะคะ เพื่อสุขอนามัยที่ดียังไงละค่ะ ส่วนแปรงหวีผมการทำความสะอาดง่ายมาก เพียงแค่ล้างด้วยผงซักฟอก หรือสบู่เหลวอาบน้ำที่มีคุณสมบัติช่วยฆ่าเชื้อโรค แบคเทียก็ได้ เพื่อขจัดคราบสกปรกและไขมันที่อยู่ตามซอกหวี หลังจากขจัดคราบบสกปรกออกแล้ว ก็ให้แช่ลงในน้ำยาฆ่าเชื้อโรคสัก 10-20 นาที จากนั้นก็ล้างน้ำให้สะอาด เช็ดให้แห้งแล้วก็พึงแดด พึงลมอีกซักหน่อย เท่านี้ก็ปลอดภัยจากเชื้อโรคเชื้อที่สะสมอยู่ในหวีแล้วค่ะ การทำความสะอาดแปรงหวีผมให้ทำสัปดาห์ครั้งเป็นใช้ได้ค่ะ

บทความแนะนำ คลิก>> วิธีฆ่าเชื้อ ล้างขวดนมลูก ให้สะอาดปลอดเชื้อโรค

5. ผ้าม็อบถูพื้นบ้าน

ถึงไม่บอกก็เชื่อว่ามีเชื้อโรคสะสมอยู่แน่นอนค่ะ ก็ใช้ถูพื้นทั้งบ้าน ทุกห้อง ทุกซอกทุกมุม แถมบางบ้านใช้ถูน้ำ ซับน้ำในห้องน้ำอีก แล้วถ้าซักทำความสะอาดไม่ดีพอ ไม่ตากแดดให้แห้ง ผ้าม็อบชื้นๆ นั่น น้องเชื้อโรคชอบมากนะจ๊ะ ทีนี้พอเอามาถูพื้นเชื้อโรคก็หล่นติดตามพื้นบ้าน พอเด็กๆ ลงไปนอน นั่งเล่น มือไปสัมผัสโดนพื้นแล้วมาหยิบจับขนม อาหารเข้าปากก็กินเชื้อโรคลงท้องไปด้วย ลูกป่วยไม่สบายได้นะ

วิธีทำความสะอาด

ให้ดึงผ้าถูพื้นออกจากไม้ม็อบ แล้วนำไปแช่ในผงซักฟอกผสมน้ำยาฆ่าเชื้อ ซักล้างให้สะอาดหมดจรด แล้วนำไปตากแดดให้แห้งสนิท จากนั้นก็เก็บผ้าถูพื้นไว้ในพื้นที่แห้งๆ ทุกครั้ง  การทำความสะอาดผ้าถูพื้นให้ทำทุกวันหลังใช้งานเสร็จแล้วค่ะ

7 ของใช้ในบ้านแหล่งสะสมเชื้อโรค ทำป่วยเรื้อรัง หน้า 3 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

6. พรมเช็ดเท้า

คิดดูซิค่ะเท้าของทุกคนในบ้านที่ต้องออกไปสัมผัสกับฝุ่น ควัน มีเหงื่อหมักหมม หรือไม่ก็ไปเหยีบบเศษอะไรติดมาบ้างก็ไม่รู้  พอกลับมาบ้านก็มาเช็ดทำความสะอาดลงบนพรมเช็ดเท้า เชื้อโรคก็สะสมอยู่ในพรมนั่นแหละค่ะ

วิธีทำความสะอาด

เช็ดเท้าลงบนพรมเช็ดเท้า เช็ดแล้วก็ต้องหมั่นเอาพรมไปทำความสะอาดกันด้วยค่ะ เพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคนในครอบครัว การทำความสะอาดไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก แค่เอาพรมเช็ดเท้ามาสะบัดเอาฝุ่นออกให้หมดก่อน จากนั้นก็ซักด้วยผงซักฟอก หรือจะผสมน้ำยาฆ่าเชื้อโรคลงไปด้วยก็ได้ ซักล้างให้สะอาด แล้วก็นำไปตากพึงแดดให้แห้ง เท่านี้ก็ช่วยให้มั่นใจในการใช้ในครั้งต่อๆ ไปแล้วค่ะ การทำความสะอาดพรมเช็ดเท้าควรทำสัปดาห์ละครั้ง

7. เขียง

ใช่ค่ะเขียงหั่นผัก หั่นเนื้อ เครื่องมือในครัวของครัวเรือนทุกคนนั่นแหละค่ะ เชื้อโรคก็ชอบมาสะสมอยู่นะ ทั้งเขียงไม้ เขียงพลาสติกแข็ง เชื้อโรคชอบไม่เกี่ยงได้หมดถ้าไม่ทำความสะอาดให้ดี

วิธีทำความสะอาด

หลังจากใช้งานเขียงเสร็จแล้ว ให้นำเขียงไปล้างทำความสะอาด จากนั้นพึงแดดให้แห้ง เพื่อป้องกันเชื้อรา เสร็จแล้วนำมาเก็บให้สูงกว่าพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร แนะนำว่าควรแยกใช้เขียงสำหรับหั่นอาหารดิบ กับเขียงหั่นอาหารปรุงสก และผลไม้ค่ะ  การทำความสะอาดเขียงสามารถทำได้ทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จ หรืออย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์

เป็นอย่างไรบ้างคะคุณแม่ เห็นแล้วตกใจเลยไม่คิดว่าของใช้ในบ้านที่เราใช้ๆ กันอยู่ทุกวันจะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคได้ขนาดนี้ เอาเป็นว่าเมื่อทราบกันแล้วก็ให้รีบเคลียร์ทำความสะอาด หรือของใช้ชิ้นไหนหมดสภาพการใช้งานแล้ว ก็เปลี่ยนควรเป็นชิ้นใหม่ได้แล้วค่ะ  ใช้แล้วรู้จักทำความสะอาด รับรองว่าเด็กๆ และทุกคนในบ้านสุขภาพดีไม่มีป่วยอย่างแน่นอน …ด้วยความใส่ใจและห่วงใยค่ะ

 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

อ่านต่อบทความเรื่องอื่นที่น่าสนใจคลิก

16 วิธีล้างผักผลไม้ ให้ปลอดสารก่อนให้ลูกทาน
วิธีล้างผักให้ปลอดภัย ไร้สารพิษตกค้าง
ประโยชน์ของน้ำส้มสายชู ที่เป็นมากกว่าเครื่องปรุง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมอนามัย