4 เรื่องพ่อแม่ต้องระวัง 7 วันอันตรายปีใหม่ ลูกต้องปลอดภัย - Page 2 of 2 - Amarin Baby & Kids
7 วันอันตรายปีใหม่

4 เรื่องพ่อแม่ต้องระวัง 7 วันอันตรายปีใหม่ ลูกต้องปลอดภัย

event
7 วันอันตรายปีใหม่
7 วันอันตรายปีใหม่

 ในส่วนของอุบัติเหตุจากรถปิกอัพหรือรถยนต์

  • พบเด็กนั่งในส่วนกระบะขนของบนรถปิกอัพ

>> การนั่งในส่วนกระบะขนของบนรถปิกอัพถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย แต่ทุกหน่วยงานก็ยอมรับว่าไม่สามารถควบคุมได้ เพราะครอบครัวที่ไม่ค่อยมีฐานะและมีลูกน้อยก็จำเป็นต้องใช้

  • เด็กนั่งรถยนต์ส่วนตัว รถสาธารณะ ไม่ได้ใช้เข็มขัดนิรภัย ถึงใช้ก็อาจผิดวิธี ไม่สามารถลดการบาดเจ็บได้

> สำหรับเรื่องละเลยข้อสุดท้ายคือภัยทางถนน ที่ทำให้เด็กได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ซึ่งมักเกิดในช่วง 7 วันอันตรายปีใหม่ คือ การใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือรถสาธารณะ ที่ทั้งกฎหมายและการสนับสนุนอื่นๆ รองรับสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น แต่สำหรับเด็ก การใช้เข็มขัดและระบบยึดเหนี่ยวในรถยนต์ยังไม่มีใครสนับสนุน

7 วันอันตรายปีใหม่

นอกจากนี้ปัญหา 7 วันอันตรายปีใหม่ ที่รองลงมา คือ เรื่องความรุนแรง และการจมน้ำ โดยปัญหาความรุนแรงของเด็ก มาจากครอบครัวที่อ่อนแอ และถูกกระตุ้นจากสื้อที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับระบบเครือข่ายออนไลน์ และการใช้สารเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาการตายใหม่ที่สังคมไทยต้องตระหนัก

ในส่วนของปัญหาการจมน้ำ มักเกิดขึ้นที่สวนน้ำ แหล่งน้ำชุมชน โดยขาดการจัดพื้นที่เล่นที่มีความปลอดภัย ซึ่งแม้ว่าจะมีกฎหมายควบคุมการจัดพื้นที่สวนน้ำและเครื่องเล่นแล้ว แต่ก็ยังขาดการดำเนินการอย่างจริงจัง เช่นเดียวกับการที่เด็กต้องเดินทางทางน้ำก็ขาดอุปกรณ์ชูชีพที่เหมาะสมอีกด้วย

7 วันอันตราย ปีใหม่ 2563 เริ่มวันไหน

สำหรับช่วง 7 วันอันตราย ปี 2563 นี้ อยู่ระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 62 ถึงวันที่ 2 ม.ค 63 โดยรศ.นพ.อดิศักดิ์ ได้ขอความร่วมมือให้คุณพ่อคุณแม่และชุมชน รวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความปลอดภัยของเด็ก ให้ตระหนักและจริงจังกันมากขึ้นเพื่อลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นกับลูกน้อย

7 วันอันตรายปีใหม่

แต่อย่างไรก็ดีทางสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล ได้จัดกิจกรรม The Safety Hunter ภารกิจพิชิตจุดเสี่ยงฝึก “10 ทักษะความปลอดภัยก่อน 10 ปีต้องมี 10 อย่าง” สำหรับเด็กวัย 6-10 ปี เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีทักษะในการอยู่รอดปลอดภัยด้วยตนเอง โดย 10 ทักษะ อาทิ ทักษะความปลอดภัยในการเดินทาง และเดินเท้า ทักษะการช่วยเหลือคนตกน้ำด้วยวิธีการ “ตะโกนโยนยื่น” วิธีการสวมเสื้อชูชีพที่ถูกต้อง ทักษะความปลอดภัยภายในบ้านและการอยู่บ้านคนเดียว ทักษะความปลอดภัยสนามเด็กเล่น ทักษะการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพเบื้องต้น รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ด้านการใช้สื่อที่ปลอดภัย เป็นต้น

โดยโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีทั้งในวันทำการ และวันเสาร์-อาทิตย์ วันละ 2 รอบ รอบละ 3 ชั่วโมง รอบเช้า 09.00-12.00 น. รอบบ่าย 13.00-16.00 น. ฝึกเป็นหมู่คณะ รอบละอย่างน้อย 36 คน ไม่เกิน 45 คน จัดกิจกรรม ณ ชั้น 5 อาคารปัญญาวัฒนา สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ค่าลงทะเบียน 350 บาท/คน/รอบ (รวมอาหารว่าง 1 มื้อ) โดยวันธรรมดา จะมีผู้สนับสนุนเหมารอบให้สถาบันฯ ไปรับนักเรียนจากโรงเรียนมาทำกิจกรรม ส่วนวันเสาร์-อาทิตย์ จะเป็นรอบของผู้ปกครอง

หากหน่วยงานโรงเรียนครู อาจารย์ หรือพ่อแม่ผู้ปกครองและผู้สนใจ อยากส่งลูกหลาน เข้ามาเรียนรู้ทักษะการเอาตัวรอดเพื่อความปลอดภัยของเด็กในระดับอนุบาล 3-ประถมศึกษาปีที่ 3 สามารถติดต่อจองได้ที่ โทร. 0-2441-0601-10 ต่อ คุณศุภรดา 1417, 1422 เบอร์มือถือ 092-4145296 (วันและเวลาราชการ) FB: สถาบันเด็กมหิดล บริการวิชาการสู่สังคม หรือ FB: NICFD Mahidol

 

อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก : 

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up