พ่อแม่ระวังลูกน้อยให้ดี นี่คือ 6 โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว ที่ลูกน้อยของคุณอาจป่วยแน่ๆ ไม่โรคใดก็โรคหนึ่ง แล้วจะมีโรคใด และวิธีรับมืออย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลย
ระวังลูกป่วยแน่ 6 โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว
เพราะในระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคม มักเป็นช่วงที่อากาศกำลังเปลี่ยนแปลง คือ เริ่มเย็นลง ซึ่งสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยระวัง และทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มักออกมาเตือนบ่อยๆ ก็คือ โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว เพราะด้วยสภาพอากาศที่แปรปรวน บางพื้นที่ยังมีฝนตกสลับอากาศร้อน และอากาศเริ่มเย็นลงในช่วงเช้า ขณะที่ร่างกายปรับตัวไม่ทัน อาจทำให้ติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง อย่าง เด็กเล็กและผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งเสี่ยงเจ็บป่วยได้ง่ายกว่ากลุ่มอื่น
ถึงแม้เราจะหลีกเลี่ยงสภาพอากาศ และอาการป่วยของลูกน้อยได้ แต่คุณพ่อคุณแม่ก็ควรรู้ว่า มี โรคฮิต ช่วง ปลายฝนต้นหนาว อะไรบ้างที่ลูกอาจป่วยได้ พร้อมกับทราบถึงวิธีรับมือดูแลรักษา เพื่อให้ลูกหาย หรือไม่เป็นหนักขึ้นกว่าเดิม ตามมาดูกันเลยค่ะ
โดยมีข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 1 ตุลาคม 2561 พบผู้ป่วย โรคไข้หวัดใหญ่ 130,448 ราย
- เสียชีวิตแล้ว 21 ราย
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและวัยทำงาน อายุ 25-34 ปี
- รองลงมา 35-44 ปี
ส่วน ผู้ป่วยโรคปอดบวม 214,283 ราย เสียชีวิต 155 ราย
- ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป
- รองลงมาคือกลุ่มเด็กเล็ก อายุระหว่าง 5 – 10 ขวบ หรือต่ำกว่า
อ่านต่อ “6 โรคฮิต ลูกเป็นแน่ ช่วงปลายฝนต้นหนาว” คลิกหน้า 2
1. โรคไข้หวัดใหญ่
โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว อันดับแรก ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง เพราะโรคนี้สามารถติดต่อกันได้ง่าย จากการไอหรือจามรดกัน โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในน้ำมูก น้ำลายหรือเสมหะของผู้ป่วย หลังรับเชื้อมักมีอาการทันทีหรือประมาณ 1-2 วัน จะมีอาการไข้สูง ตัวร้อน หนาว ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อมาก อ่อนเพลีย มีน้ำมูกใส
Must read : ชวนเด็กๆ มา ล้างมือป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่กัน!
วิธีการรักษา
คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกน้อยดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย และเมื่อมีไข้ต้องคอยเช็ดตัวทุกชั่วโมง และทานยารักษาตามอาการ แต่ถ้าไข้ขึ้นสูงเกิน 40 องศาเซลเซียส เมื่อไหร่ให้รีบพาลูกไปหาหมอทันที
การดูแลลูกน้อย และตัวเองให้ห่างไกล จาก ไข้หวัดใหญ่ หนึ่งใน โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว
สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เด็กเล็ก, หญิงตั้งครรภ์, คนชรา, และผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรัง ให้ไปรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ได้ตามโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยทั่วประเทศ นอกจากนี้ต้องไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็น แก้วน้ำ, ผ้าเช็ดหน้า เช็ดตัว, ช้อน เป็นต้น และต้องปิดปาก ปิดจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม หรือควรใส่หน้ากากอนามัย ก่อนออกจากบ้านเมื่อเริ่มมีอาการ สุดท้ายควรให้ลูกน้อยหมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำสบู่ หรือเจลแอลกฮอลล์ และใช้ทิชชู่เปียก ทำความสะอาดพื้นผิว และสิ่งของที่มีคนสัมผัสบ่อย ๆ
◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊
2. โรคปอดบวม / ปอดอักเสบ
เป็นอีกหนึ่งโรคที่มีความรุนแรง เกิดจากการติดเชื้อหลายชนิด เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส โดยผู้ป่วยจะมีไข้สูง ไอมีเสมหะ น้ำมูกเปลี่ยนสีจาก สีเหลืองเป็นสีเขียวข้น เจ็บหน้าอก เหนื่อยหอบง่าย ซึมลง แล้วเริ่มมีไข้สูงเกิน 2 วัน ซึ่ง โรคปอดบวม มักจะพบหลังจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง หรือในคนที่โรคหอบหืด และมักเป็นกับเฉพาะกับกลุ่ม คนชรา และเด็กเล็กอายุระหว่าง 5 – 10 ขวบ หรือต่ำกว่า
Must read : โรคปอดบวมในเด็ก หาหมอช้าอาจสูญเสียอวัยวะบางส่วนได้
วิธีรักษา
โรคนี้ค่อนข้างเรื้อรัง จึงต้องระมัดระวังในการรักษา หากไม่ลูกน้อยสบาย คุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเฝ้าดูอาการ อย่างใกล้ชิด ควรให้ลูกดื่มน้ำบ่อย ๆ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารที่ย่อยง่าย และถ้าหากมีไข้ ตัวร้อน ให้เช็ดตัวเรื่อย ๆ แล้วทานยาลดไข้เพื่อรักษาอาการ อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายภายใน 1 สัปดาห์ แต่ถ้าหากไม่ดีขึ้น มีอาการ ซึมลง, ไข้สูง, ทานอาหารและน้ำไม่ได้, ไอ หายใจเร็ว, หายใจมีเสียง ให้รีบไปพบแพทย์โดยด่วน เพราะนั่นคืออาการของ โรคปอดบวมเริ่มแรก
การดูแลลูกน้อย และตัวเองให้ห่างไกล จาก โรคปอดบวม
เมื่อรู้ว่าลูกเริ่มมีอาการไข้หวัด ให้รีบรักษา และพาไปพบแพทย์สม่ำเสมอ อีกทั้งควรหมั่นดื่มน้ำอุ่น และให้ลูกอยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ที่สำคัญควรให้ลูกได้รับการฉีดวัคซีนปอดบวม ที่โรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยใกล้บ้านด้วยถ้าเป็นไปได้ สุดท้ายหลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด และหมั่นล้างมือทุกครั้งหลังทำกิจกรรมนอกบ้าน หรือก่อนกินข้าว
3. โรคอุจจาระร่วง
อุจจาระร่วง ก็เป็น โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก “เชื้อโรต้าไวรัส” และมักพบในเด็ก อายุต่ำกว่า 5 ขวบ ที่พบบ่อยที่สุดคือเด็กอายุ 6- 12 เดือน เพราะเด็กในวัยนี้ กำลังเป็นวัยเรียนรู้ และชอบที่จะหยิบของทุกสิ่งเข้าปาก โดยที่เชื้อตัวนี้ จะแฝงอยู่ในสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก … มักจะพบได้มากในช่วง เดือนตุลาคม – กุมภาพันธ์ อาการของโรค คือ ลูกจะถ่ายเหลวเป็นน้ำ จะมีอาการไข้และอาเจียนร่วมด้วย มักมีก้นแดง โดยปกติแล้ว อาการถ่ายเหลวจะหายภายใน 3 – 7 วัน แต่ก็ยังต้องดูแลใกล้ชิด และสังเกตลักษณะ ของอุจจาระด้วยว่า มีเลือด หรือมูกเลือดปนออก มาด้วยหรือไม่ ถ้ามีปนออกมาแล้วมีอาการหวัดร่วมด้วยให้รีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาต่อไป
Must read : 3 มาตราการป้องกัน โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในเด็ก
วิธีการรักษา
หากลูกถ่ายมากจนเสียน้ำ ให้จิบสารละลายเกลือแร่ น้อย ๆ แต่บ่อย ๆ ไปทั้งวันเพื่อรักษาอาการขาดน้ำ สังเกตง่าย ๆ คือเด็กจะเริ่มปากแห้ง กระหายน้ำ ปัสสาวะน้อย ก็ในจิบโดยทันที แต่ถ้าเด็กไม่สามารถทานเกลือแร่ได้ ก็ต้องใช้เป็นการให้น้ำเกลือทางเส้นเลือดแทน และอย่างดอาหาร เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกาย ขาดสารอาหารซ้ำเข้าไปอีก เพียงแต่เปลี่ยนอาหาร ให้เน้นอาหารจำพวกแป้ง และโปรตีน ทีละน้อย ๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผักและผลไม้ ส่วนเด็กที่ยังดื่มนมอยู่ ก็ให้ดื่มนมได้ตามปกติ
การดูแลลูกน้อย และตัวเองให้ห่างไกล จาก โรคอุจจาระร่วง
ให้ความสำคัญกับสุขอนามัย ภายในบ้าน เพราะเชื้อไวรัสตัวนี้อยู่รอบ ๆ ตัวเรา ให้ล้างมือทุกครั้งที่หยิบจับของสกปรก ทำความสะอาดสถานที่ ของเล่นของใช้บ่อย ๆ และหลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปสถานที่ที่แออัด หรืออีกทางเลือกหนึ่ง คือพาเด็กไปรับการหยอดวัคซีน ที่โรงพยาบาล โดยจะหยอดวัคซีนในเด็กอายุ 2 – 4 เดือน แต่ราคาของวัคซีน ตัวนี้อาจมีราคาสูง คุณพ่อ คุณแม่อาจจะต้อง พิจารณาดูตามความเหมาะสม
อ่านต่อ >> “โรคฮิต ลูกเป็นแน่ช่วงปลายฝนต้นหนาว” คลิกหน้า 3
4. โรคหลอดลมอักเสบ
อีกหนึ่ง เป็นโรคที่อาจเกิดตามหลังไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จะมีอาการไอและไอมากตอนกลางคืน โดยระยะแรกจะไอแห้ง ๆ มีเสียงแหบและเจ็บหน้าอกมาก เสมหะมีสีเหลืองหรือเขียว มีไข้ อ่อนเพลีย ในเด็กอาจไอมากจนอาเจียน บางรายมีอาการคล้ายหอบหืดจากภาวะหลอดลมหดเกร็งตัว
Must read : เพราะ ควันบุหรี่ จากเสื้อพ่อ ทำลูกเหลือปอดข้างเดียว
โดยปกติโรคนี้สามารถหายได้เองภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม ก็อาจลุกลามถึงขั้นปอดอักเสบได้
การรักษาเบื้องต้น คือ ให้ลูกน้อยพักผ่อนให้มาก และควรดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ เพื่อช่วยให้เสมหะระบายออกได้ง่ายขึ้น และไม่ควรให้ลูกอยู่ใกล้คนสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงอยู่ในที่ ที่มีอากาศเสียหรือฝุ่นละอองมาก ๆ
◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊◊
5. โรคหัด
ก็เป็นอีกหนึ่ง โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว พบมากในเด็กอายุตั้งแต่ 1-6 ขวบ ติดต่อได้จากการไอ จามรดกัน หรือได้รับละอองเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย เข้าไป โรคหัดมักเกิดในช่วงฤดูหนาวยาวต่อช่วงฤดูร้อน อาการของ โรคหัด จะเริ่มจากมีไข้ น้ำมูก ไหล ไอ ตาแดง อาการจะรุนแรงมากขึ้น จนมีอาการปวดเมื่อยตัว ถ่ายเหลว ผื่นของไวรัสหัดจะขึ้นราววันที่ 4 หลังรับเชื้อ หลังจากนั้นไข้จะค่อย ๆ ลด เมื่อผื่นกระจายทั่วตัว ระหว่างนั้นต้องระวัง การเสียชีวิตจากภาวะโรคแทรกซ้อน เช่น ปอดอักเสบ อุจจาระร่วง สมองอักเสบ และภาวะทุพ โภชนาการ
Must read : เตือนพ่อแม่ระวัง! โรคหัดในเด็ก ระบาดหนักในเด็กแรกเกิด 4 ปี
Must read : โรคหัด – หัดเยอรมัน ต่างกันอย่างไร
โรคหัด สามารถป้องกันได้
โรคหัด ป้องกันได้ หากเด็กได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด (Measles Vaccine) ครบตามกำหนด โดยวัคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อป้องกัน คือวัคซีน Measles-Mumps-Rubella Vaccine (MMR) ซึ่งเป็นวัคซีนที่ป้องกันได้ทั้งโรคหัด (Measles) คางทูม (Mumps) และหัดเยอรมัน (Rubella)
- ทารกสามารถรับวัคซีนได้ครั้งแรกเมื่ออายุครบ 9-12 เดือน และรับวัคซีนครั้งต่อไปเมื่ออายุ 4-6 ปี
- เด็กวัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่มีภูมิคุ้มกัน สามารถรับวัคซีนได้ 2 เข็ม โดยเว้นช่วงการรับวัคซีนแต่ละรอบให้ห่างกันอย่างน้อย 28 วัน
การได้รับวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าวก็ก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้เช่นกัน โดย 15 เปอร์เซ็นต์ของเด็กที่ได้รับวัคซีนเป็นไข้ 6-12 วันหลังจากได้รับวัคซีน และเด็กอีก 5 เปอร์เซ็นต์มีอาการผื่นขึ้นคล้ายผื่นโรคหัดและหายไปเอง
6. ไวรัสอาร์เอสวี
RSV (Respiratory Syncytial Virus) อีกหนึ่ง โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว ซึ่งถือเป็นโรคร้ายที่มีอาการคล้ายไข้หวัด แต่อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงถึงขั้นปอดอักเสบได้ ซึ่งโรคนี้จะเป็นไวรัสที่อยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาว เป็นเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในเด็กเล็ก
Must read : 7 ข้อ รู้ให้เท่าทัน กัน ลูกป่วย โรคRSV บ่อย!
การรักษา
โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโดยเฉพาะ แต่เมื่อเด็กโตขึ้นระบบภูมิคุ้มกันก็จะแข็งแรงขึ้นไวรัสตัวนี้ก็มีโอกาสกำเริบน้อยลง หรือแม้จะกำเริบขึ้นมาอาการก็ไม่รุนแรงอาจมีแค่ น้ำมูก เป็นไข้อ่อนๆ เท่านั้น
การป้องกัน โรค RSV
สำหรับการป้องกันโรคนี้ ทุกคนในครอบครัวสามารถช่วยกันปฏิบัติ เพื่อป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อได้ โดยการล้างมือให้ถูกวิธีหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้ที่เด็กจะต้องสัมผัสอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงให้เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและทารกในช่วงอายุ 1-2 เดือนแรกสัมผัสผู้ที่ติดเชื้อ ทำความสะอาดบ้านไม่ควรใช้แก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะทารกที่ได้รับควันบุหรี่เข้าไปมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส RSV และพบอาการที่รุนแรงได้มากกว่าจะเห็นได้ว่าการที่จะเกิดโรค ส่วนใหญ่เกิดจากตัวเราล้วนๆ ไม่ป้องกันตัวเองละเลยในเรื่องของสุขอนามัยถ้าเรารักษาตัวเองและคนในครอบครัวเป็นอย่างดีก็จะทำให้เรานั้นห่างไกลจากโรคภัยต่างๆ
ทั้งนี้อย่างไรก็ดี ทางกรมควบคุมโรค เตือนว่าคุณพ่อคุณแม่สามารถป้องกัน 6 โรคฮิตปลายฝนต้นหนาว ได้ โดยยึดหลัก “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ได้แก่
- ปิด คือ ปิดปาก ปิดจมูก เมื่อไอ จาม ต้องใส่หน้ากากอนามัย ผ้า หรือ กระดาษทิชชูปิดปากและจมูกทุกครั้ง
- ล้าง คือ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่เมื่อสัมผัสสิ่งของ เช่น กลอนประตู ลูกบิด ราวบันได ราวบนรถโดยสาร
- เลี่ยง คือ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย หรือในสถานที่แออัด มีคนอยู่รวมกันจำนวนมาก
- หยุด คือ เมื่อป่วยควรหยุดเรียน หยุดงาน หยุดกิจกรรม แม้ลูกจะมีอาการไม่มากก็ควรหยุดพักรักษาตัวอยู่ที่บ้านจนกว่าจะหายเป็นปกติ
ทั้งนี้หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยเกี่ยวกับสถานการณ์ของโรค สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422
อ่านต่อบทความน่าสนใจ คลิก :
- เด็กทารก แรกเกิด กับ 10 โรคฮิตที่พ่อแม่ต้องระวัง!
- แม่หมดห่วง 5 โรคหน้าฝน ใช้สิทธิประกันสังคม ป่วยรักษาฟรี
- เด็กป่วย ต้องป่วยแค่ไหน? ถึงหยุดเรียน
- โรคเด็ก ที่พบบ่อย โรคในเด็ก ยอดฮิต พ่อแม่ต้องระวัง
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.voicetv.co.th
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่