ยาจุดกันยุง อันตราย ทั้งยุงและมนุษย์เราด้วย โดยทางอย.ได้ออกมาเตือน พบเจอสารที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เสี่ยงเกิดอันตรายต่อเด็กๆ และทุกคนในครอบครัว หากได้รับสารหรือกลิ่นควันนั้นในปริมาณมากๆ
เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเพิ่มขึ้น หนึ่งในโรคที่น่ากลัวในช่วงฤดูฝน คือ โรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และหนึ่งในวิธีการป้องกันยุงลายอย่างง่ายนั้น คือการใช้ยาจุดกันยุงเพื่อป้องกันไม่ให้ยุงกัด
ระวัง! ยาจุดกันยุง อันตราย 5 ยี่ห้อ อย.เตือนพบสารไม่ขึ้นทะเบียน
ยากันยุง เป็นผลิตภัณฑ์กันยุงสำหรับพื้นที่หรือจากระยะไกล สามารถใช้เพื่อลดการเผชิญหน้าระหว่างคนและยุงในพื้นที่กว้าง ๆ เช่น บริเวณนั่งเล่นนอกบ้าน สนามหญ้า หรือแม้แต่ภายในบ้าน ยากันยุงช่วยปกป้องไม่ให้ลูกน้อยหรือคนในบ้านเรา รวมไปถึงสัตว์เลี้ยง โดนยุงกัดในระหว่างการทำกิจกรรมต่าง ๆ ตั้งแต่การเล่นนอกบ้านไปจนถึงงานเลี้ยงครอบครัวประสิทธิผลและระยะเวลาของการปกป้องจะแตกต่างกันไปอย่างมาก
โดยทั่วไปแล้ว ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐฯ (U.S Centers for Disease Control and Prevention – CDC) ได้กล่าวว่า “ยิ่งส่วนผสมออกฤทธิ์มีความเข้มข้นมากเท่าไหร่ ก็จะให้การปกป้องที่ยาวนานขึ้นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมชนิดใดก็ตาม” แต่อย่างไรก็ตาม การที่ส่วนผสมออกฤทธิ์มีความเข้มข้นสูง ก็ไม่ได้หมายความว่าผลิตภัณฑ์นั้นจะไล่ยุงได้ดีกว่าเสมอไป
ซึ่งหากคุณแม่ต้องซื้อยากันยุง ควรตรวจดูความเข้มข้นของส่วนผสมออกฤทธิ์ที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมของคุณเสมอ และทาหรือใช้ผลิตภัณฑ์ตามคำแนะนำของผู้ผลิต
โดยยาจุดกันยุง จะมีลักษณะเป็นแท่งรูปทรงกระบอกขดไปมาเป็นลักษณะวงกลม ยาจุดกันยุง ตามคำนิยามของ มอก. 309-2522 หมายถึง ผลิตภัณฑ์ยากันยุงที่เมื่อจุดใช้สามารถระเหยสารออกฤทธิ์ขับไล่ยุงหรือฆ่ายุงได้ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ยาจุดกันยุงชนิดแท่ง โดยมีน้ำหนักของแท่งเดี่ยวไม่ต่ำกว่า 12.00 กรัม
- ยาจุดกันยุงชนิดขด โดยมีน้ำหนักของขดเดี่ยวไม่ต่ำกว่า 5.50 กรัม
ทั้งนี้ ยาจุดกันยุงต่างกับสเปรย์กันยุง และยาทากันยุงตรงที่ยาจุดกันยุงสามารถป้องกัน และฆ่ายุงได้ ส่วนสเปรย์กันยุง และยาทากันยุงมีลักษณะการใช้เพื่อป้องกันยุงมากกว่า และลักษณะการใช้งานจะใช้วิธีการจุดฟันเพื่อให้เกิดควันพิษแก่ยุง
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : เปรียบเทียบสารสำคัญในสเปรย์กันยุงและแผ่นแปะกันยุง ซื้ออย่างไร แบบไหนดี?
คุณลักษณะจำเป็นตาม มอก.
- ยาจุดกันยุงทั้งสองชนิด เมื่อแยกออกจากกันจะแตกหรือหักไม่เกินร้อยละ 5
- ยาจุดกันยุงชนิดขด เมื่อทดสอบตามมาตรฐาน มอก. ต้องไม่แตกหรือร้าวเป็นวงแหวนมากกว่าร้อยละ 8
- ยาจุดกันยุงชนิดแท่ง เมื่อทดสอบตามมาตรฐาน มอก. ต้องไม่แตกหรือร้าวเป็นวงแหวนมากกว่าร้อยละ 5
- ควันที่เกิดจากการเผาต้องไม่เป็นอันตรายเฉียบพลันต่อผู้ใช้
- สามารถทำให้ยุงตกมาหงายท้องได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ใน 20 นาที
- อัตราการเผาไหม้ในห้องอับลม สำหรับชนิดขด ขดเดี่ยวต้องจุดได้นานไม่ต่ำกว่า 6 ชั่วโมง ชนิดแท่งเดี่ยวต้องจุดได้นานไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง
- ความชื้นต้องไม่เกินร้อยละ 12
อ่านต่อ >> “อย.พบ ยาจุดกันยุง 5 ยี่ห้อ มีสารไม่ขึ้นทะเบียน” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ซึ่งล่าสุด เภสัชกร สมชาย ปรีชาทวีกิจ ปฏิบัติหน้าที่รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่ อย. ออกสุ่มตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพในท้องตลาดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังความปลอดภัยของผู้บริโภคนั้น ล่าสุดได้ตรวจพบว่ามีการจำหน่ายยาจุดกันยุง และธูปหอมไล่ยุงในหลายจังหวัดทางภาคอีสาน จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่
1.) ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุงฉลากภาษาจีน บรรจุกล่องกระดาษสีเหลือง-สีฟ้า
2.) ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุงฉลากเป็นภาษาเขมร บรรจุกล่องกระดาษสีเขียว-สีเหลือง
3.) ผลิตภัณฑ์ธูปหอมไล่ยุง Ranger Scout บรรจุกล่องกระดาษสีน้ำเงิน-สีเขียว
4.) ผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงชนิดขดตราหัวเสือฉลากเป็นภาษาจีน บรรจุกล่องกระดาษสีแดง-สีขาว ห่อด้วยพลาสติกใสไม่มีสี
5.) ยาจุดกันยุงชนิดขดตรา Laojun ปิดด้วยแผ่นกระดาษ สีฟ้า-สีเหลือง-สีดำ มีรูปเด็กบนฉลาก ฉลากเป็นภาษาต่างประเทศ
จากการตรวจสอบพบว่าทั้ง 5 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว จัดเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ซึ่งต้องขึ้นทะเบียน แต่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับ อย. จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผิดกฎหมาย
นอกจากนี้ได้มีการส่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตรวจวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการตรวจพบว่ามีสารเมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) เป็นสารสำคัญในผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นสารที่ อย. ไม่เคยรับขึ้นทะเบียนมาก่อน ไม่ผ่านการประเมินด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพ รวมถึงความเหมาะสมของอัตราการใช้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงอันตรายต่อผู้ใช้ได้
การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันยุง
โดยรองเลขาธิการฯ ยังกล่าวในตอนท้ายว่า การนำเข้าและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มิได้ขึ้นทะเบียนมีความผิดทางกฎหมาย ทั้งนี้ผู้บริโภคควรให้ความสำคัญและตรวจดูเลขทะเบียน และเครื่องหมาย อย. ในผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ด้วย เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าปลอดภัย ใช้แล้วไม่เกิดอันตราย
ทั้งนี้ ยาจุดกันยุงส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารไล่หรือป้องกันยุงในกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) ซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่สกัดได้จากพืชตระกูลเบญจมาศ (สารสกัดไพรีทรัม หรือ pyrethrum extract)
ส่วนผสมหลักที่ใช้
- สารออกฤทธิ์ คือ สารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ เช่น
- แอลเลอทริน (Allethrin) มีลักษณะเป็นน้ำมัน สีเหลืองอ่อน มีจุดเดือด 140 องศาเซลเซียส ละลายน้ำได้เล็กน้อย และละลายได้ดีในตัวทำละลายอินทรีย์
- ไบโอแอลเลอทริน หรือ ดี-แอลเลอทริน (Bioallethrin, d-Allethrin) ออกฤทธิ์รุนแรงกว่าแอลเลอทริน มีลักษณะเป็นของเหลวเหนียวเป็นยาง สีเหลืองอำพัน ไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์
ตัวอย่างสารออกฤทธิ์กลุ่มไพรีทรอยด์ที่นิยมใช้ในยาจุดกันยุงและขึ้นทะเบียนไว้กับ อย. เช่น ดี-อัลเลทริน (d-allethrin), เอสไบโอทริน (esbiothrin), เมโทฟลูทริน (metofluthrin) เป็นต้น
- วัสดุช่วยเผาไหม้ เช่น ผงไม้โกบ๊วย
- สารยึดเกาะ เช่น แป้งจากธรรมชาติ
- สารเติมแต่ง เช่น สี ยากันบูด
นอกจากนี้บางผลิตภัณฑ์อาจมีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพรที่ให้กลิ่น และช่วยออกฤทธิ์ เช่น ตะไคร้ ขมิ้น มะกรูด สะเดา เป็นต้น
ลักษณะการป้องกัน และกำจัดยุง
- ใช้ด้วยการจุดไฟ โดยหันหรือวางไว้ในทิศทางเหนือลมหรือบริเวณที่ต้องการไล่ยุง และกำจัดยุง
- ยุงเมื่อสัมผัสกับควันพิษในระดับความเข้มข้นน้อยที่ไม่มีผลทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้หรือตายจะไม่เข้าไกล้กับแหล่งควันหรือบริเวณที่เกิดควัน
- เมื่อยุงได้รับสารพิษจากควันสู่ผิวหนังจะทำให้ลดการเคลื่อนไหวของยุง และทำให้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้
- เมื่อได้รับพิษในระยะหนึ่งจะทำให้ยุงตาย
อ่านต่อ >> “การป้องกันอันตรายเมื่อใช้ยาจุดกันยุง” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- 5 วิธีปราบยุง ต้นเหตุไข้เลือดออก แบบไม่บาป
- เมื่อลูกโดนยุงกัดทิ้งรอยดำ! ทำอย่างไรดี?
- 10 ต้นไม้ไล่ยุง ที่ควรปลูกไว้บริเวณบ้าน
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
กลไกการออกฤทธิ์
สารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุงจะไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตกลงมาหงายท้อง นอกจากนี้สารไพรีทรอยด์ยังมีฤทธิ์ในการไล่ยุงด้วย ควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงที่มีส่วนผสมของไพรีทรอยด์จึงช่วยลดอัตราการกัดของยุงและป้องกันการรบกวนจากยุงในบริเวณที่จุดได้
ในปัจจุบันยาจุดกันยุงมีการพยายามปรับแต่งกลิ่นให้มีกลิ่นหอมเลียนแบบธรรมชาติเพื่อกลบกลิ่นเผาไหม้และกลิ่นของสารเคมี โดยทั่วไปสารไพรีทรอยด์มีความเป็นพิษต่ำกว่าสารเคมีกำจัดแมลงกลุ่มอื่น การใช้ยาจุดกันยุงในขนาดและวิธีการใช้ปกติมักไม่พบการเกิดพิษ
อย่างไรก็ตาม หากสูดดมควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงในปริมาณมาก เช่น อยู่ในบริเวณที่คับแคบไม่มีอากาศถ่ายเทติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นอันตรายได้ โดยความรุนแรงของอาการพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย หากได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการพิษเฉียบพลัน ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้ ส่วนอาการพิษอื่น ๆ ที่พบ ได้แก่ อาการแพ้ทางผิวหนัง คัน มีผื่นแดง หากเข้าตาอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้
ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดต่อสุขภาพ ผู้บริโภคควรปฏิบัติตามนี้เมื่อจะใช้ยากันยุง
- จุดยาจุดกันยุงในห้องที่มีอากาศถ่ายเท มีการระบายอากาศได้ดีและเก็บให้มิดชิด
- หลังจากสัมผัสยาจุดกันยุงทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาด
- ใช้สำหรับเฉพาะการจุดไฟเพื่อให้เกิดควัน
- จุด และวางไว้บริเวณเหนือจุดที่ต้องการไล่ยุงในทิศเหนือลม
- การจุดต้องใช้วัสดุโลหะรองทุกครั้ง เพื่อป้องกันไฟไหม้
- ห้ามนำเข้าปากหรือรับประทานเด็ดขาด
- ไม่ควรใช้ขณะที่มีเด็กเล็ก แม่ท้องหรือ แม่ให้นมลูกอาศัยอยู่
- หากมีอาการแพ้ควันให้รีบดับ และเลิกใช้
- ไม่ควรใช้ในบริเวณที่มีอาหารหรือขณะรับประทานอาหาร
- ควรเก็บให้ห่างจากมือเด็ก
และควรใช้ขาตั้งหรือถาดรองยาจุดกันยุงที่ทำด้วยโลหะหรือวัสดุที่ไม่ติดไฟ ขณะใช้ควรวางให้ห่างวัตถุไวไฟหรือของที่เป็นเชื้อไฟได้ เพื่อป้องกันอัคคีภัย
ทั้งนี้ หากได้รับอันตรายจากการใช้ยาจุดกันยุง หรือพบผลิตภัณฑ์ที่สงสัยว่าไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ” คลิก!
- วิธีกำจัดยุง ป้องกันไข้เลือดออก และไวรัสซิกา
- สารพัดวิธีกำจัดยุงร้าย ใกล้ลูกน้อยแบบปลอดภัย
- ปลายฝนต้นหนาว ไข้เลือด ออกกลับมาอีกแล้ว พ่อแม่เฝ้าระวังด่วน!
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.khaosod.co.th , health.kapook.com ,www.today.jackpotded.com
Save