ตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง …จากสถิติทั่วโลก มะเร็งเต้านมได้กลายเป็นหนึ่งในเนื้อร้ายที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในผู้หญิง ในทุกๆปี ทั่วโลกมีอัตราการเพิ่มขึ้นของมะเร็งอย่างรวดเร็วคิดเป็นร้อยละ 0.2 – 8 ในจำนวนนี้ประเทศกำลังพัฒนามีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด ทุกๆ ปีประชากรจำนวนประมาณ 1.4 ล้านคนจากทั่วโลกได้รับวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านม เป็นหนึ่งในมะเร็งร้ายที่พบเห็นได้บ่อยที่สุดในเพศหญิง และปรากฏว่ามีอัตราการเกิดโรคเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี ทั้งยังมีแนวโน้มเกิดกับบุคคลที่อายุยังน้อยอีกด้วย จากข้อมูลสถิติพบว่า อัตราการเกิดโรคมะเร็งเต้านมเป็น 7%-10% ของโรคมะเร็งทั้งหมด โดยเฉพาะบุคคลที่มีอายุระหว่าง 40 – 60 ปี ส่วนใหญ่หญิงวัยก่อนหรือหลังหมดประจำเดือนจะมีอัตราการเกิดโรคค่อนข้างสูง
Must read : มะเร็งเต้านมคร่าชีวิต!! รู้ก่อน หายก่อน
วิธีการง่ายๆ ตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง เป็นวิธีการป้องกันมะเร็งเต้านมอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะสามารถทำได้บ่อย ๆ เพื่อคอยสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านมตนเองอยู่เสมอ ๆ หากตรวจพบก้อนเนื้อหรือสิ่งปกติใด จะได้นำไปสู่การตัดชิ้นเนื้อเพื่อตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้ารับการรักษาอย่างรวดเร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เนื้อร้ายเติบโตลุกลามจนยากแก่การรักษา
อาการในระยะแรกของโรคมะเร็งเต้านม ได้แก่
- เจ็บปวดเต้านม: แม้ว่าผู้ป่วยในระยะแรกบางส่วนไม่สามารถคลำสัมผัสพบก้อนเนื้อได้อย่างชัดเจน แต่มักจะมีอาการเจ็บภายในเต้านม เจ็บเหมือนถูกแทง หรือปวดบวม เป็นต้น หากมีอาการเจ็บปวดดังเช่นที่กล่าวมาข้างต้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อตรวจโดยการคลำสัมผัส หากจำเป็นก็สามารถตรวจโดยการอัลตร้าซาวด์ได้
- เต้านมสองข้างไม่เท่ากัน: เนื่องจากการมีเนื้องอกหรือเนื้องอกกับผนังทรวงอกยึดติดกัน เต้านมจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือรูปร่างไป ต้องระมัดระวังและเข้ารับการตรวจ
- มีน้ำไหลออกมาจากหัวนม: ส่วนใหญ่มักปรากฏเป็นน้ำนมสีขาวไหลออกมาจากหัวนม อาจเป็นของเหลวสีเหลืองอ่อน สีเลือด เป็นน้ำ หรือลักษณะเหมือนน้ำหนอง เป็นต้น
- ต่อมน้ำเหลืองโต: ผู้ป่วยในระยะแรกบางส่วนจะปรากฏต่อมน้ำเหลืองตรงรักแร้บวมโตขึ้น
- หัวนมเปลี่ยนไป: เมื่อเนื้องอกลุกลามถึงหัวนมหรือบริเวณใต้ลานหัวนม จะทำให้หัวนมเอียงไปข้างหนึ่ง หดตัวหรือบุ๋มลงไป
- ก้อนเนื้อที่เต้านม: เมื่อกดเต้านมจะสามารถสัมผัสได้ถึงก้อนเนื้อ มักมีก้อนเดียว ไม่สม่ำเสมอ เป็นก้อนเนื้อที่มีลักษณะแข็งเคลื่อนที่ได้ โดยปกติแล้วจะไม่รู้สึกเจ็บปวดอย่างชัดเจน แนะนำให้ผู้ป่วยไปตรวจอัลตราซาวด์ที่โรงพยาบาล เพื่อตรวจวินิจฉัยขนาดของก้อนเนื้อ รูปร่าง ลักษณะ เป็นต้น
- ผิวหนังเฉพาะส่วนเปลี่ยนไป: ผิวหนังเต้านมจะเปลี่ยนไปเหมือนผิวเปลือกส้ม บริเวณที่บวมน้ำและมีรูขุมขนจะบุ๋มลงไปอย่างชัดเจน ทำให้ผิวหนังขรุขระไม่สม่ำเสมอเหมือนกับผิวเปลือกส้ม
Must read : ลดเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม ด้วยวิธีง่ายๆ
หากเกิดอาการใดอาการหนึ่งดังที่กล่าวมาข้างต้น ควรให้ความสนใจและไปตรวจเต้านมอย่างละเอียดในโรงพยาบาลเฉพาะทาง ขณะเดียวกัน ในการใช้ชีวิตประจำวันนั้น ผู้หญิงทั้งหลายยังสามารถตรวจการเปลี่ยนแปลงของเต้านมด้วยตนเองได้
อ่านต่อ >> “4 วิธีการง่ายๆ ตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
อายุ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม พบว่ายิ่งอายุมากขึ้นโดยเฉพาะสตรีวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึงร้อยละ 50 – 60 รองลงมาคือการเคยผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านม และพบว่าเป็นซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติ (atypia) และการพบว่ามีญาติสนิท(แม่ พี่สาว น้องสาว หรือลูก) เป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2 คน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย ได้แก่ การเริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย การหมดประจำเดือน (วัยทอง) ช้า การไม่มีบุตร หรือมีบุตรยาก และการที่เคยใช้ยากลุ่มฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือนติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี เป็นต้น
การ ตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง เป็นสิ่งแรกที่ป้องกันตนเองจากมะเร็งเต้านมที่ผู้หญิงทุกคนสามารถทำได้หากมีความรู้ความเข้าใจ และทำอย่างถูกต้องโดยมี 3 ขั้นตอน ของการป้องกันมะเร็งเต้านมดังนี้คือ
- หมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือน หลังวันหมดประจำเดือนแล้ว 3 วัน
- หากพบสิ่งผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจออย่างละเอียด
- ตรวจด้วยเครื่องเมมโมแกรมอย่างละเอียดเมื่อมีอายุ 35 ปีขึ้นไป
√ การตรวจเต้านมด้วยตนเองมี 4 วิธี ดังนี้
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ควรทำอย่างสม่ำเสมอโดยทำการตรวจเดือนละ 1 ครั้ง ในช่วงตั้งแต่มีประจำเดือนประมาณ 7-10 วัน โดยเริ่มนับตั้งแต่วันแรกของการมีประจำเดือน หรือตรวจในช่วงที่รู้สึกว่าเต้านมนิ่มลง เนื่องจากในช่วงระยะเวลานั้นเต้านมจะไม่ตึงตัวมากจึงสามารถคลำก้อนได้ชัดเจน หรือคลำก้อนที่มีขนาดที่ยังเล็กได้โดยง่าย
ส่วนผู้ที่เข้าสู่วัยทองซึ่งประจำเดือนหมดไปแล้ว หรือได้รับการผ่าตัดมดลูกไปแล้ว ให้กำหนดวันที่แน่นอนสำหรับการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกเดือนเพื่อการจดจำง่าย และให้ตรวจวันเดียวกันของทุกเดือน เช่น วันที่ 1 ของเดือน หรือวันสุดท้ายของเดือน เป็นต้น
การดู
1. การสังเกตความผิดปกติด้วยการดูลักษณะภายนอกของเต้านม โดยยืนหน้ากระจก ให้สังเกตเปรียบเทียบเต้านมทั้งสองข้างว่าแตกต่างผิดไปจากเดิมหรือไม่ ทำการหันตัวเล็กน้อยเพื่อสามารถมองเห็นด้านข้างของเต้านมทั้งสองข้างได้อย่างชัดเจน สังเกตการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง รูปทรงสีผิว รอยบุ๋ม ยุบย่น ตรวจสอบหัวนม มีแผล สะเก็ด ความมัน มีเส้นเลือดสีดำใต้ผิวหนังมากเพิ่มขึ้นที่ผิดปกติหรือไม่ และมีของแหลวออกจากหัวนมหรือไม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงอื่นใดบ้างโดยยืนในท่าดังนี้
- วางมือข้างลำตัวลักษณะผ่อนคลาย
- ยกมือเหนือศีรษะมองจากด้านหน้า และด้านข้าง เพื่อสังเกตความผิดปกติของรอยบุ๋มของผิวหนังบริเวณเต้านมที่เกิดจากการดึงรั้ง เนื่องจากในรายที่เป็นมะเร็งอาจจะมีการดึงรั้งของเนื้อเยื่อให้เกิดรอยบุ๋มได้
- วางมือไว้ที่เอว เกร็งอก โน้มตัวไปข้างหน้า เพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกตึงตัว แล้วโน้มตัวไปข้างหน้าเพื่อให้สังเกตรอยดึงรั้งของผิวหนังได้ง่ายขึ้น เมื่อไม่พบความผิดปกติจากการสังเกตดูที่เต้านมแล้ว
อ่านต่อ >> “วิธีตรวจเต้านมด้วยด้วยเอง โดยการคลำ” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
การคลำ
2. การตรวจคลำเต้านม ควรทำทั้งในท่านั่งและท่านอน สิ่งที่สำคัญของการตรวจ คือ การตรวจให้ทั่วพื้นที่ของบริเวณเต้านม โดยใช้ด้านฝ่ามือของนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง บริเวณค่อนไปทางปลายนิ้ว เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไวต่อการสัมผัส การคลำเต้านมจะต้องคลำให้ทั่วทั้งพื้นที่ของเต้านม ในลักษณะคลึงวนเป็นก้นหอยเล็ก ๆ ไปตามเต้านม เนื่องจากตำแหน่งของเต้านมที่อยู่บนผนังทรวงอกเป็นตำแหน่งที่สามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมได้
สังเกตความผิดปกติว่ามีของเหลว หรือเลือดออกจากหัวนมในขณะที่กดบริเวณปานนมหรือไม่ การบีบบริเวณหัวนมควรทำด้วยความนิ่มนวล ไม่ควรบีบเค้นบริเวณหัวนมอย่างรุนแรง เพราะหากมีความผิดปกติจะพบว่ามีน้ำหรือเลือดออกจากหัวนมเมื่อมีการกดโดยไม่ต้องบีบเค้น
- การตรวจท่านอนราบ นอนในท่าสบาย สอดหมอน หรือม้วนผ้าไว้ใต้หัวไหล่ขาว (หาก ตรวจเต้านมด้านขวา) ยกแขนขวา เหนือ ศีรษะ เพื่อให้เต้านมขยาย ใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง (ของมือซ้าย) คลำทั่วทั้งเต้านม เพราะจะทำให้รู้สึกเหมือนเจอก้อนเนื้อ ซึ่งความจริงไม่ใช่ ถ้าต้องการตรวจเต้านมด้านซ้ายให้เริ่มต้นทำซ้ำอีกครั้ง
- การตรวจในท่านั่ง ใช้นิ้วมือคลำบริเวณเต้านม ส่วนที่อยู่ใต้รักแร้ว่ามีก้อนหรือต่อมน้ำเหลืองที่โตผิดปกติหรือไม่ โดยการห้อยแขนลงมาเพื่อให้กล้ามเนื้อหน้าอกหย่อนลง เนื่องจากหากกล้ามเนื้อตึงเกินไปจะไม่สามารถคลำรักแร้ได้อย่างชัดเจน
3. ตรวจขณะอาบน้ำ เป็นระยะเวลาที่ผิวหนังเปียกและลื่น จะทำให้การตรวจง่ายขึ้น การตรวจทำโดยใช้ปลายนี้วมือวาง ราบบนเต้านม คลำและเคลื่อนนิ้วมือ ในลักษณะคลึง เบาๆ ให้ทั่วทุกส่วนของเต้านม เพื่อค้นหาก้อนหรือ เนื้อที่แข็งเป็นไตผิดปกติ หลังอาบน้ำแล้วจึงทำการ ตรวจเต้านมขั้นต่อไป
4. วิธีการคลำ หากคุณเป็นสาวเต้าใหญ่ใช้มือข้างนั้นประคอง และตรวจคลำเต้านมจากด้านล่าง ส่วนมืออีกข้างให้ตรวจคลำจากด้านบน วิธีการคลำ 1. คลำแบบก้อนหอย 2. คลำแบบแนวรูปลิ่ม 3. คลำแนวขึ้นลง ซึ่งการคลำเต้านม จะใช้นิ้วมือ 3 นิ้ว คลำบริเวณเต้านมให้ทั่วทั้งเต้านม ในระดับความแรง 3 ระดับ คือ ระดับตื้นลงไปจากผิวหนังเล็กน้อย ระดับที่ลึกลงไป และระดับที่ลึกถึงผนังหน้าอก โดยทิศทางในการคลำสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้
- คลำในแนวก้นหอย โดยสามารถคลำได้ในทิศทางทั้งทวนเข็มนาฬิกา หรือตามเข็มนาฬิกาก็ได้
- การคลำในแนวดิ่ง จากใต้เต้านมจนถึงกระดูก ไหปลาร้า คลำจากบนลงล่าง หรือจากล่างขึ้นบนก็ได้
- คลำในแนวรูปลิ่ม ทิศทางเป็นเส้นตรงรัศมีในออกนอก หรือนอกเข้าในก็ได้เช่นเดียวกัน
การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นการตรวจที่จะเกิดประโยชน์อย่างมาก หากได้ทำการฝึกฝนเป็นประจำและสม่ำเสมอจนชำนาญ เพื่อให้ทราบสภาพของเต้านมตนเอง และเมื่อพบสิ่งผิดปกติที่เปลี่ยนแปลงไปจะสามารถสังเกตได้โดยง่าย สิ่งที่สำคัญของการตรวจเต้านมด้วยตนเอง คือ ทำการตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกวิธี เดือนละ 1 ครั้ง และคลำไปให้ทั่วบริเวณเต้านมและรักแร้
ในกรณีที่ตรวจพบความผิดปกติ หรือสงสัยในสิ่งที่ตรวจพบว่าอาจจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น คุณผู้หญิงควรจะไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจซ้ำหรือตรวจเพิ่มเติม เพื่อให้การวินิจฉัยและให้คำแนะนำที่ถูกต้องต่อไป
อ่านต่อ >> “ชมคลิป … สาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำได้ง่ายๆ กับหมอศิริราช พร้อมเผยเคล็ดไม่ลับในการป้องกันมะเร็งเต้านม”
คลิกหน้า 4
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ชมคลิปจาก : ศิริราช The Life [by Mahidol] สาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทำได้ง่ายๆ กับหมอศิริราช
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Mahidol Channel มหิดล แชนแนล
แม้การตรวจเต้านมด้วยตัวเองจะมีข้อจำกัด คือ จะพบก้อนเมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม มะเร็งแห่งชาติสถาบันมะเร็งแห่งประเทศสหรัฐอเมริการะบุว่า ผู้หญิงที่คลำเต้านมตัวเองเป็นประจำ สามารถพบก้อนผิดปกติแม้มีขนาดเล็กเพียง 1/4-1/2 นิ้ว ดังนั้น การตรวจเต้านมด้วยตัวเอง จึงมีประโยชน์ในแง่ที่จะกระตุ้นให้ผู้หญิงหันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพเต้านมมากขึ้น เมื่อตรวจพบความผิดปกติก็สามารถมาพบแพทย์ได้อย่างรวดเร็ว เมื่อตรวจพบได้แต่เนิ่น ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้
กระทรวงสาธารณสุขแนะนำเคล็ดไม่ลับในการป้องกันมะเร็งเต้านมด้วยวิธีดังต่อไปนี้
(1). เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน
(2). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ
(3). ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
(4). ลดไขมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันหมู มันสัตว์ ฯลฯ ซึ่งพบมากในอาหารประเภท “ผัดๆ ทอดๆ” ที่ขายในท้องตลาด และลดไขมันแฝงโดยไม่กินเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว แพะ แกะ หมู ฯลฯ มากเกินไป
(5). ทำใจให้ร่าเริง แจ่มใส (ข้อนี้ทำยาก แต่ถ้าทำได้จะป้องกันโรคภัยไข้เจ็บได้อย่างมากมาย)
หากตรวจพบสิ่งที่น่าสงสัย ควรเข้ารับการตรวจเพื่อการวินิจฉัยทันที
การตรวจเต้านมด้วยตนเองนี้ ถือเป็นมาตรฐานสำคัญในคำแนะนำการตรวจหามะเร็งเต้านมระยะเริ่มแรกที่มีความสำคัญที่สุด แต่ในกรณีที่มีประวัติในครอบครัว มีมารดาหรือพี่น้องที่เป็นมะเร็งเต้านม หรือ อยู่ในวัยที่เหมาสมในการตรวจ คือ อายุ 35 ปี ก็อาจจะพิจารณาตรวจด้วยการเอกซเรย์เต้านม (Mammography) ซึ่งจะมีข้อแนะนำความถี่ของการตรวจที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเมื่อพบความผิดปกติ ซึ่งจะมีแนวทางปฏิบัติตามชนิดของการตรวจพบ
ปัจจุบันมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบบ่อยอันดับหนึ่งในสตรีไทย หมั่นตรวจเช็ค และใส่ใจสักนิด คุณผู้หญิงก็จะปลอดภัยจากมะเร็งเต้านม หรือสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงทีนะคะ
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- สัญญาณเตือนโรค “มะเร็งรังไข่” ภัยเงียบที่ผู้หญิงควรรู้!
- แพทย์แนะหญิงไทย ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ทุกสามปี
- 19 สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง ที่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม
ขอบคุณข้อมุลและภาพจาก : www.wiennashop.com , medinfo2.psu.ac.th , www.ihealthythailand.org , www.xn--72c1albxqend6dwdva7e4f4b3c1a.com