ลูกไม่สบาย กับ 10 สิ่งที่กุมารแพทย์อยากบอกกับคุณแม่ - amarinbabyandkids

10 สิ่งที่กุมารแพทย์อยากบอกกับคุณแม่ของผู้ป่วยเด็กน้อย

event

ลูกไม่สบาย

3. การใช้แปะแผ่นลดอุณหภูมิกับลูก

แผ่นแปะที่หัวช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายได้น้อยมาก (หรืออาจจะเรียกว่าเกือบไม่ได้เลย ทางที่ดีควรมีผ้าหมาดหลายผืนจุ่มน้ำอุณหภูมิห้องแล้วเช็ดตัวหลายๆ ครั้งแบบที่พยาบาล ที่ รพ.ทำ เมื่อผ้าร้อนแล้วก็เปลี่ยนผ้าอีกผืนทำแบบนี้หลายๆ ครั้ง ทำให้อุณหภูมิของเด็กลดได้มากกว่าการใช้แผ่นแปะหลายเท่านัก)

ทั้งนี้หากต้องการลดไข้ หรือลดอุณหภูมิความร้อนให้ลูกน้อย คุณแม่สามารถทำได้ง่ายๆ โดยการเช็ดตัว ซึ่งเป็นวิธีที่ปฏิบัติกันมาแต่โบราณ โดยอาศัยหลักของการนำความร้อนออกจากร่างกายด้วยน้ำ เป็นวิธีที่ทำได้สะดวก มีอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ใกล้ตัว และสามารถให้ผลลัพธ์ในการช่วยลดไข้ได้ดี โดยเฉพาะในเด็กทารกและเด็กเล็กที่มีสัดส่วนของพื้นที่ผิวกาย มากเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว ซึ่งจะได้ผลในการลดอุณหภูมิร่างกายได้อย่างรวดเร็ว แต่ผลในการเช็ดตัวจะอยู่ได้ไม่นาน ท่านผู้ดูแลต้องให้ยาลดไข้แก่เด็กร่วมด้วย ซึ่งชนิดและขนาดของยาที่ให้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก และต้องไม่รับประทานยาลดไข้นานติดต่อกันเกิน 5 วันโดยไม่ทราบสาเหตุของไข้ และใน 1 วันควรรับประทานยาลดไข้ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง โดยใน 1 วันไม่ควรรับประทานติดต่อกันเกิน 5 ครั้ง

ทั้งนี้ การเช็ดตัวลดไข้ จะมีประโยชน์มากหากท่านไม่ต้องการให้เด็กรับประทานยาติดต่อ กันหลายครั้งมาก นอกจากนั้น ยาลดไข้จะใช้เวลาในการออกฤทธิ์ประมาณ 30 นาที ท่านสามารถทำการเช็ดตัวลดไข้ให้บุตรหลานของท่าน ทันทีก่อนยาออกฤทธิ์ เมื่อบุตรหลานของท่านมีไข้ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี ที่มีประวัติชักเมื่อมีไข้สูง (ไข้ชัก) วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้เบื้องต้นได้ดีทีเดียว3

⇒ บทความแนะนำควรอ่าน : การเช็ดตัวลดไข้ให้ลูกอย่างถูกวิธี

4. เมื่อลูกมีอาการไอ

ยาแก้ไอที่ดีที่สุดของเด็กในทางการแพทย์ คือ การพักผ่อน น้ำอุ่น น้ำผึ้งผสมมะนาว

ทั้งนี้อาการไอส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการอักเสบติดเชื้อ  โดยเฉพาะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ  ที่มักพบได้บ่อยคือ โรคหวัด ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้เด็กมีไข้ น้ำมูกไหล  มีอาการคันและระคายคอ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กไอ  อาการไอแบ่งได้  3  ประเภท คือ   1. ไอแห้ง ๆ   2. ไอแบบระคายคอ  และ  3. ไอแบบมีเสมหะ  ซึ่งอาจเกิดจากการที่เด็กมีน้ำมูกแล้วสูดลงคอจนเกิดอาการไอ

  • ในเด็กวัยทารก อาการไอโดยไม่มีไข้อาจเกิดจากความผิดปกติ หรือความพิการแต่กำเนิด
  • ในเด็กเล็ก ควรคิดถึงสาเหตุจากการติดเชื้อ เช่น  เชื้อไวรัส และเชื้อแบคทีเรียที่อาจทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดบวม รวมทั้งการติดเชื้ออื่นๆ เช่น เชื้อวัณโรค โรคไอกรน  แต่ถ้าไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ อาจเกิดจากการสำลักสิ่งแปลกปลอมลงไปในหลอดลม หรืออาจเกิดจากหลอดลมมีความไวกว่าปกติซึ่งเป็นผลมาจากโรคหืด
  • แต่ถ้าเป็นการไอในเด็กโตหรือวัยรุ่น อาจเกิดจากการติดเชื้อ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม หรือ ไซนัสอักเสบ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การแพ้ตัวไรในฝุ่นละอองในผู้ป่วยที่เป็นโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือหลอดลมอักเสบจากโรคหืด หรืออาจเกิดจากการระคายเคือง เช่น จากควันบุหรี่ เป็นต้น

ซึ่งถ้าเป็นการไอจากการที่มีน้ำมูกมาก การล้างจมูกหรือหยอดจมูกด้วยน้ำเกลือ ร่วมกับการให้ยาลดน้ำมูกที่เหมาะสมจะทำให้อาการดีขึ้น  ส่วนการไอที่เกิดจากหวัด จะดีขึ้นเมื่อโรคหวัดทุเลาลงค่ะ  ที่น่าเป็นห่วงคือ อาการไอตลอดทั้งวันแม้กระทั่งตอนนอน   สันนิษฐานว่าเป็นโพรงจมูกอักเสบหรือที่เรียกกันว่าไซนัสอักเสบ ถ้าหากไอเฉพาะเวลากลางคืน อาจเกิดจากภาวะหอบจากโรคหืด หรือเป็นโรคภูมิแพ้  ควรพามาพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป4

⇒ บทความแนะนำควรอ่าน : ยาแก้ไอ สําหรับทารก เลือกแบบไหน อย่างไรให้ลูกดี?

5. การอาเจียนหลังไอ

ไม่ได้หมายความว่าเด็กต้องได้ยาแก้อาเจียน แต่เป็นอาการระคายเคืองที่คอของเด็กเป็นผลทำให้อาเจียน จึงต้องแก้ที่อาการระคายเคืองนี้ต่างหาก

ทั้งนี้การอาเจียน เป็นอาการอย่างหนึ่งที่พบร่วมในโรคต่างๆ มากมาย อาทิเช่น โรคของทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย ลำไส้อุดตัน โรคของระบบประสาท เช่น เยื้อหุ้มสมองอักเสบ เนื้องอกในสมอง ภาวะน้ำคั่งในสมอง โรคของระบบเมตาบอลิซึ่มบางอย่าง หรืออาจเกิดจากรับประทานยาบางอย่างก็ได้ อาจเกิดได้โดยไม่มีโรคทางกายใดๆ กรณีเช่นนี้ก็พบได้บ่อย โดยเฉพาะในทารก หรือเด็กเล็กที่ดื่มนมมากไป แล้วไม่ได้อุ้มเด็กพาดบ่าให้เรอมากพอ หรือคุณแม่อาจจะให้นมไม่ถูกวิธี เช่นให้นอนดูดนม แทนที่จะอุ้มให้ดูดนม เป็นต้น

การสังเกตอาการอาเจียนของลูกน้อย

  • เมื่อลูกอาเจียน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะอาเจียนที่ออกมา ว่าเป็นเศษอาหาร เสมหะ สีอะไร อาเจียนแบบพุ่ง หรือไม่พุ่ง เนื่องจากลักษณะอาเจียนต่างๆ จะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้
  • เมื่ออาเจียนออกมาแล้วมักจะสบายขึ้น เมื่อลูกอาเจียนจึงควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และให้การรักษาต่อไป
  • เมื่อเด็กมีอาการอาเจียน โดยเฉพาะถ้ามีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ควรพาเด็กไปปรึกษาแพทย์ไม่ควรซื้อยาให้รับประทานเองเด็ดขาด เพราะยาแก้อาเจียน ถ้ารับประทานเกินขนาด อาจเกิดอันตรายได้ นอกจากนี้โรคบางอย่าง ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันการหรือถูกวิธี ก็อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

6. ลูกมีน้ำมูกสีเขียว

น้ำมูกเขียว ไม่ได้หมายถึงการติดเชื้อแบคทีเรียหรืออาการหวัดที่เป็นมากขึ้นของเด็ก แต่หลายๆ ครั้งมันแค่หมายถึงอาการหวัดของเด็กใกล้หายแล้วต่างหาก โดยเฉพาะหากมีน้ำมูกเขียวตอนไข้ลดลง หรือเด็กสดชื่นขึ้นแล้ว

⇒ บทความแนะนำควรอ่าน : สีของน้ำมูก สามารถบอกสุขภาพของลูกได้

อ่านต่อ >> “สิ่งที่กุมารแพทย์อยากบอกกับคุณพ่อคุณแม่ของคนไข้เด็กน้อย” คลิกหน้า 3

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

 

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up