AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

10 ยาอันตรายต่อลูก! ไม่ช่วยรักษาแถมยังทำร้ายลูกน้อย

10 ยาอันตรายต่อลูก! ไม่ช่วยรักษาแถมยังทำร้ายลูกน้อย

แม้ยาจะช่วยรักษาลูกน้อยจากอาการ เจ็บปวดเป็นไข้ แต่ก็มี ยาอันตราย ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง เพราะอาจทำให้เด็กไม่โต และป่วยด้วยยาในที่สุด

สำหรับลูกน้อยในวัยเด็ก จะมีอวัยวะต่างๆ ที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กระบวนการทำลายพิษยาและการขับถ่ายของเสียไม่สมบูรณ์ ร่างกายของเด็กจึงไวต่อพิษยามาก ดังนั้นการใช้ยาในเด็กจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

10 ยาอันตราย ไม่ช่วยรักษาแถมยังทำร้ายลูกน้อย

ยา ถือเป็น 1 ใน 4 ปัจจัยสำคัญพื้นฐานของชีวิต แต่อย่างไรก็ตามจากพฤติกรรมการที่คุณพ่อคุณแม่มักซื้อยากินเอง การกินยาพร่ำเพรื่อไม่ระมัดระวัง หรือไม่เกรงกลัวอันตรายต่อยา ทำให้นำไปสู่ปัญหาการกินยาเกิน ปัญหาการดื้อยา และปัญหาอันตรายต่อสุขภาพจนถึงชีวิตของลูกน้อยได้

โดยทางกระทรวงวิทยาศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ได้มอบหมายศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติให้ความรู้ประชาชนเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในการเลือกบริโภคอาหารและยาอย่างมีคุณภาพ ซึ่งได้มีการออกมาเตือนพ่อแม่อย่าหลงเชื่อโฆษณา และระดมยาให้เด็กเกินสมควร เพราะอาจทำให้เด็กไม่โต และป่วยด้วยยาในที่สุด

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า เด็กยุคใหม่ถูกจับให้กินยาประจำหลายขนานราวกับผู้ใหญ่ ถ้ามีการเก็บสถิติคงติดอันดับต้น ๆ ในเรื่องการกินยากันเลยทีเดียว ทั้งที่ความจริงแล้วการให้ยาในปริมาณยิ่งมากยิ่งไปกดภูมิคุ้มกันเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่เป็นภูมิแพ้ที่จะต้องกินยาหลังอาหารทุกมื้อ ทำให้โรคที่เป็น ดีขึ้นในตอนแรก แต่หลังจากนั้นจะพบกับสภาพที่หนักกว่าเดิม

ดังนั้น ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติท่านนี้ได้เตือนพ่อแม่ระวัง “ยาร้าย” ดังต่อไปนี้

1. ยาภูมิแพ้ ยาฆ่าเชื้อ และยาแก้แพ้

ทำให้เด็กเรียนหนังสือไม่รู้เรื่องได้ ยิ่งหลายขนานยิ่งมีโอกาสตีกันกับยาชนิดอื่น ความน่ากลัวของยาชนิดนี้ อยู่ที่การต้องกินต่อเนื่องเป็นเวลานาน ถ้าไม่จำเป็นเมื่อแพ้หายแล้วควรหยุดใช้ ซึ่งสำหรับในเด็กที่ได้รับยาฆ่าเชื้อนี้เป็นเวลานาน ๆ จะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำ อ่อนแอจนป่วยง่าย และยาฆ่าเชื้อบางชนิดเป็นตัวกระตุ้นไข้ได้เองถ้าใช้ติดต่อกันนาน (Drug fever)

⇒ Must read : วัคซีนรักษาภูมิแพ้ ในเด็ก คืออะไร? ปลอดภัยหรือไม่?
⇒ Must read : โรคภูมิแพ้ รักษาได้ด้วยต้นไม้มหัศจรรย์

รวมถึงยาแก้เมารถด้วย เมาเรือ เมาเครื่องบิน ด้วยที่ควรหลีกเลี่ยง นอกเสียจากว่าเป็นยาที่แพทย์สั่ง เพราะอาการเหล่านี้แม้อาจจะทำให้ลูกอาเจียน แต่ก็เป็นอาการระยะสั้น และร่างกายของลูกก็สามารถรับมือได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพายาใดๆ ในทางกลับกันหากคุณให้ลูกกินยาเหล่านี้ แทนที่ลูกจะหายอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาก็ได้

2. ยาสเตียรอยด์

ถือเป็นยาตัวร้ายสุดมีทั้งแบบ พ่นจมูก พ่นคอ ยากิน และยาทา สเตียรอยด์ที่ว่าเป็นยายอดนิยมที่ถูกจ่ายให้คนไข้ภูมิแพ้มาก โดยฤทธิ์ของมันจะไปปิดกระดูกให้หยุดโต เด็กจะตัวแกร็น และอ้วนฉุ ที่สำคัญคือจะไปทำให้กระดูกผุ ปิดกั้นความสูงของเด็กจนเสียโอกาสไปในเด็กวัยกำลังโต

⇒ Must read : ทารกขึ้นผื่น หมอบอกผิวหนังอักเสบแนะนำให้ใช้ครีมสเตียรอยด์
แต่คุณแม่ก็พบว่ามันไม่ใช่!

3. ยาขยายหลอดลม

ยากลุ่มนี้ หากเด็กได้รับมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย คล้ายไฮเปอร์ลามไปถึงใจสั่น ทรมานถึงขนาดเรียนไม่รู้เรื่อง หงุดหงิดง่าย และนอนไม่หลับทั้งคืนได้

⇒ Must read : อาหารและยา ที่ไม่ควรกินร่วมกัน 10 อย่าง

อ่านต่อ >> “ยาอันตรายที่ไม่ช่วยรักษาแถมยังทำร้ายลูกน้อย” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

4. ยาลดน้ำมูกแบบเมา ๆ

ยาน้ำลดน้ำมูกที่นิยมกันมีการใส่แอลกอฮอล์เข้าไปมาก  ทำให้รสอร่อย เช่น รสองุ่น รสส้ม จิบเข้าไปแล้ว เด็กจะไม่ตื่นมาโยเย เพราะเมาจากยาที่ผสมแอลกอฮอล์นั่นเอง

⇒ Must read : วิธีใช้ลูกยางแดง ดูดน้ำมูก-เสมหะ ให้ลูกน้อยหายใจสะดวก
⇒ Must read : อาบน้ำต้มใบมะขาม สูตรโบราณจากคุณยาย ช่วยไล่หวัด

5. ยาแก้ปวด

อย่าเห็นพาราเซตตามอลเป็นเรื่องเล่น ๆ ดูเป็นยาปลอดภัยแต่อันตรายเหมือนกัน เพราะถ้าใช้ผิดขนาด เช่น เอาของผู้ใหญ่มาแบ่งครึ่งให้เด็กก็อาจทำอันตรายต่อตับของเด็กได้ ทางที่ดี ควรเลือกยาที่เฉพาะกับเด็กโดยตรงจะดีกว่า

6. ยาลดไข้

สำหรับยาบรรเทาอาการลดไข้ แก้ตัวร้อนสำหรับลูกน้อย ก็ไม่ธรรมดาเหมือนกันโดยเฉพาะยาลดไข้กลุ่ม เอ็นเสด (NSAIDs) อย่างไอบูโพรเฟ่นที่เด็กป่วยไข้เลือดออกกินแล้วอาจชักได้  ในเด็กที่มีไข้ยังไม่ทราบสาเหตุไม่ควรให้ยาลดไข้กลุ่ม “เร็วสั่งได้” นี้เพราะมีสิทธิ์ที่จะช็อคได้สูง

⇒ Must read : วิธีลดไข้ให้ลูกอย่างได้ผล!
⇒ Must read : ยาน้ำลดไข้ ของเด็ก แต่ละยี่ห้อแตกต่างกันอย่างไร พ่อแม่ควรรู้!

7. ยาธาตุ

เด็กน้อยปวดท้องบ่อยมักถูกป้อนด้วยยาธาตุ เอามหาหิงคุ์ทาพุงจนกลิ่นตลบ ในเด็กโรคกระเพาะถ้าได้ยาธาตุน้ำขาวพวกอะลั่มมิลค์บ่อยเกินไปยาจะไปยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุ วิตามิน รวมไปถึงยาอื่น ๆ และการได้ธาตุอลูมิเนียมจากยาน้ำขาวพวกนี้มากไปก็อาจมีผลต่อสมองได้

⇒ Must read : แก้ปัญหาลูกน้อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง เลือกยาตัวไหนให้ลูกดี?

8. ยาระบาย

ไม่ว่าแบบน้ำ เม็ด หรือยาสวนก้น ต้องดูสุขภาพเด็กให้ดี ถ้ามีอาการเพลีย หรือซึมจากการขาดน้ำอยู่แล้ว ยาถ่ายที่ทำให้ท้องเสียอันตรายถึงช็อคได้ ส่วนในเด็กท้องผูกต้องดูแผลปากทวาร (Anal fissure) ให้ดีก่อนสวนด้วย

⇒ Must read : ลูกท้องผูก ระบบขับถ่ายไม่ดี ของแบบนี้แก้ไขได้!
⇒ Must read : ลูกท้องผูก ถ่ายยาก ทำไงดี?

9. ยาช่วยนอน

ถ้าเด็กนอนไม่หลับควรหาสาเหตุให้พบเสียก่อน รวมไปถึงยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทเด็ก เช่น ยาแก้โรคสมาธิสั้น โดยการรักษาที่ดีต้องใช้พฤติกรรมบำบัด  และกิจกรรมบำบัดควบคู่ไปด้วยจะดีที่สุด

10. วิตามินสังเคราะห์

ในเด็กที่กินอาหารไม่ครบ วิตามินเสริมเป็นตัวช่วยที่ดี แต่ต้องระวังวิตามินประเภทสังเคราะห์อย่างกรดวิตามินเอ วิตามินอี และน้ำมันตับปลาที่มากเกินไปเพราะอันตรายต่อตับเด็กได้

⇒ Must read : ระวัง! วิตามิน & อาหารเสริม เพิ่มอันตรายให้ลูกน้อย

อ่านต่อ >> “5 ตัวยาต้องห้ามสำหรับลูกน้อย” คลิกหน้า 3


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.manager.co.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

5 ตัวยา ต้องห้ามสำหรับเด็กน้อย!

นอกจากนี้ยังมีในเรื่องชนิดของยาต่างๆ ก็เป็นเรื่องสำคัญในการเลือกซื้อหรือให้ลูกรับประทานยาอะไร ทานแค่ไหนจึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญและใส่ใจเป็นพิเศษด้วย อย่างไรก็ตาม คำแนะนำดังต่อไปนี้จะช่วยให้คุณคัดยาเหล่านี้ออกไปได้เลย เพราะมันไม่สามารถให้ลูกน้อยทานได้เลย

1. ยาชนิดเคี้ยว

สำหรับหนูน้อยวัยเตาะแตะ หรือเด็กอ่อน ยาชนิดเคี้ยวสามารถติดคอและเป็นอันตรายต่อลูกได้ หากจำเป็นต้องใช้ยาชนิดเคี้ยวกับลูก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนว่าสามารถบดยาก่อนให้ลูกรับประทานหรือผสมในอาหารอ่อนหรือนมหรือน้ำดื่มได้หรือไม่ นอกจากนี้ ควรมั่นใจว่าเจ้าตัวน้อยจะกินยาที่บดจนหมด เพื่อให้ได้รับยาในปริมาณที่เหมาะสมด้วย

2. ยาสำหรับผู้ใหญ่-ยาเด็กโต

การให้ยาสำหรับผู้ใหญ่แก่เด็กวัยทารก-2ปี  แม้จะให้ในปริมาณที่น้อยลง แต่ก็มีอันตรายไม่ต่างอะไรกับยาพิษ คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจไม่ทันคิดว่ายาสำหรับทารกที่ให้ในปริมาณน้อยนั้น ในความเป็นจริงแล้วอาจมีตัวยาที่เข้มข้นมากกว่ายาน้ำสำหรับเด็กอ่อน ดังนั้น การนำยาสำหรับเด็กโตมาให้เด็กวัยเด็กเล็กหรือเด็กอ่อนในปริมาณที่มากขึ้น อาจทำให้เจ้าตัวน้อยได้รับยาเกินขนาดได้ หากฉลากยาไม่ได้ระบุอายุ น้ำหนัก และปริมาณสำหรับวัยของลูกคุณ ก็ไม่ควรกะปริมาณยาให้ลูกรับประทานด้วยตัวคุณเองเด็ดขาด นอกจากนี้แม้ในเด็กที่อายุเท่ากันแต่น้ำหนักตัวไม่เท่ากัน ก็ยังได้รับปริมาณยาที่ต่างกันด้วย ดังนั้น ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานยาดีกว่า

3.น้ำเชื่อม ipecac (syrup of ipecac)

โดยปกติยาประเภทนี้มีไว้สำหรับการทำให้อาเจียนกรณีที่กลืนกินสารพิษเข้าไป  แต่ในช่วงหลังมานี้แพทย์ไม่เลือกใช้ยาประเภทนี้ล้ว เพราะไม่มีผลพิสูจน์แน่ชัดว่าน้ำเชื่อม ipecac ช่วยรักษาร่างกายจากการได้รับสารพิษได้ ในทางกลับกันน้ำเชื่อมนี้อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี โดยอาจทำให้ลูกมีอาเจียนไม่หยุดได้

4. ยาหมดอายุ

อันนี้ต้องเช็คให้ดีอย่างยิ่งยวดทีเดียวค่ะ  เพราะผู้ปกครองบางท่านอาจจะคิดว่าหยวนๆ ให้ทานได้ แต่มันคือภัยร้ายใกล้ตัวดีๆ นี่เอง ยาหมดอายุ ยาที่เปลี่ยนสภาพ ซองขาด  เก็บไว้นานจนไม่แน่ใจ ควรนำไปทิ้งมากกว่าจะนำมาป้อนให้ลูกค่ะ

Must read : ยาหมดอายุ-เสื่อมคุณภาพอันตรายที่ไม่ควรมองข้าม!พร้อมวิธีสังเกตและตรวจสอบยาเสื่อมสภาพ

นอกจากนี้ การทิ้งยาที่ถูกวิธีคือดูฉลากยาว่าระบุวิธีทิ้งไว้หรือไม่ ยาบางชนิดสามารถทิ้งลงชักโครกได้เลย แต่หากไม่มีระบุในกรณีที่เป็นยาน้ำควรเทใส่ขวดแก้วที่มีฝาปิด เช่น ขวดกาแฟที่ไม่ใช่แล้ว ปิดฝาให้สนิท สำหรับขวดยาเปล่าๆ ควรขีดชื่อและทำลายข้อมูลส่วนตัวก่อนทิ้งลงถังขยะค่ะ

5. ยาที่ระบุชื่อคนอื่น

คุณพ่อคุณแม่บางท่าน อาจจะคิดว่ายาของลูกหลานในบ้านอายุเท่ากับลูกของคุณและมีอาการคล้ายกันอาจจะนำมาทานแทนกันได้ แต่อันที่จริงแล้วผิดถนัด! เพราะการที่แพทย์หรือเภสัชกรให้ยามานั้น ได้พิจารณาจากอาการและน้ำหนักตัวของน้องที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่อเงื่อนไขในการใช้ต่างกันก็ไม่ควรนำมาทานกันได้ จึงไม่ควรให้ลูกรับประทานยาที่ระบุชื่อคนอื่นเด็ดขาด

ทั้งนี้เมื่อเช็กยาของลูกแล้วว่ามียาดังกล่าวอยู่ก็ใช่ว่าจะให้ทิ้งทันที เนื่องจากยาพวกนี้สะสมอยู่ในตัวเด็กนานนับเดือนนับปี ถ้าหยุดปุบปับเลยเด็กอาจมีอาการทรุดลงได้ อย่างยาสเตียรอยด์ที่เด็กภูมิแพ้ได้นานๆ การหยุดแบบหักดิบจะทำให้ต่อมหมวกไตไม่ทันตั้งตัว  ทำงานไม่ทันกลายเป็นโรคป่วยด้วยต่อมหมวกไตได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ก่อนจะให้ลูกน้อยรับประทานยาอะไรควรรอบคอบพิจารณาให้ดี  ที่สำคัญต้องปรึกษาแพทย์ เภสัชกรก่อนให้ยาลูก เพราะคำว่า “ยา” ถ้าใช้ในทางที่ผิดก็คือคำๆ เดียวกับคำว่า “ยาพิษ” นั่นเอง

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ”คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.healthandtrend.com/parental/baby/dont-take-this-medicine-to-your-baby