AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

5 วิธีกระตุ้นความจำ ให้สมองลูกน้อย

Credit Photo : istock

วิธีกระตุ้นความจำ ให้สมองลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถเริ่มส่งเสริมให้ลูกได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเล็กๆ โดยเฉพาะช่วงวัยตั้งแต่ 1-5 ปี ที่ ถือเป็นช่วงเวลาทองของสมองลูก ที่สามารถพัฒนาและเรียนรู้ได้อย่างก้าวกระโดด ไปดูกันว่ามีวิธีใดบ้างที่ช่วยเพิ่มความจำให้สมองลูกกันค่ะ

 

วิธีกระตุ้นความจำ ให้สมองลูกน้อย   

อยากให้ลูกเป็นเด็กที่มีความจำดีคุณพ่อคุณแม่ห้ามพลาด 5 วิธีกระตุ้นความจำ ให้สมองลูก ที่รับรองว่าทำแล้ว ส่งผลดีต่อพัฒนาการสติปัญญาของเด็กๆ อย่างแน่นอนค่ะ

1. สารอาหารที่ดีต่อพัฒนาการสมอง

อยากให้ลูกมีความจำดีเยี่ยม อันดับแรกต้องส่งเสริมให้เขาได้รับสารอาหารที่ดีก่อน สำหรับอาหารที่มีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการเรียนรู้ ความคิด ความจำก็คือ สารอาหารจำพวกโปรตีน กรดโอเมก้า 3,6,9 โคลีน วิตามินบี 12 เป็นต้น โดยเฉพาะเด็กๆ ที่ได้ทานนมแม่มาตั้งแต่เริ่นต้นจะได้รับสารอาหารเหล่านี้อย่างครบถ้วน และหลังจากหย่านมแม่แล้วหากคุณแม่ควรส่งเสริมให้ลูกได้รับสารอาหารที่ดีต่อพัฒนาการสมองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถเพิ่มเติมด้วยแหล่งอาหาร เช่น ไข่ เนื้อสัตว์ นม ฯลฯ อย่างนมแพะ ก็ถือเป็นตัวเลือกที่ดีมากๆ เพราะนมแพะ มีสารอาหารสำคัญที่ช่วยพัฒนาสมอง และการเรียนรู้ เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกอย่างมีประสิทธิภาพ ไปดูกันค่ะว่ามีสารอาหารอะไรบ้าง…

นมแพะ หนึ่งตัวเลือกดีๆ ที่อยากแนะนำ เพราะมีระบบการสร้างน้ำนมแบบ Apocrine (อะโพไคน์) ทำให้ได้สารอาหารธรรมชาติ หรือ Bioactive Component (ไบโอแอคทีฟ คอมโพเนนท์) ในปริมาณสูง ได้แก่  “นิวคลีโอไทด์” ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน  “ทอรีน”  ช่วยให้การทำงานของสมองและจอประสาทตาดีขึ้น  “โพลีเอมีนส์”  ช่วยส่งเสริมระบบทางเดินอาหารให้สมบูรณ์ และ “โกรทแฟคเตอร์”  ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโต

ในนมแพะมี โปรตีน CPP (Casein Phosphopepetides) โปรตีนนุ่ม ย่อยและดูดซึมได้ง่าย ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าระดับของโปรตีนในนมแพะมีมากกว่าในนมวัวถึง 50%  อีกด้วย

Ref. : 1. Park et al. Small Ruminant Research 2007; 68: 88-113.
2. Tsuchita et al. British Journal of Nutrition 2001; 85, 5-10.

นอกจากนี้ โปรตีน CPP ในนมแพะยังช่วยดูดซึมแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น แคลเซียม เหล็ก สังกะสี และแมกนีเซียม เข้าสู่ร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

นมแพะมีพรีไบโอติก (Prebiotics) ซึ่งเป็นใยอาหารที่ไม่ถูกย่อยในทางเดินอาหารส่วนบน ทำให้ผ่านมาที่ลำไส้ใหญ่ จึงช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ใหญ่ ช่วยรักษาสมดุลระบบทางเดินอาหาร ป้องกันการติดเชื้อในลำไส้ ลดปัญหาอาการท้องผูก และช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

นมแพะมีไขมัน MCT ซึ่งเป็นไขมันที่ย่อยง่าย ช่วยให้ลูกน้อยมีน้ำหนักตัวดีสมวัย

นมแพะมี ดีเอชเอ+เออาร์เอ (DHA + ARA) สารอาหารสองตัวนี้เป็นกรดไขมันที่มีส่วนสำคัญช่วยในการพัฒนาสมองและการมองเห็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นมแพะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 โอเมก้า 6 โอเมก้า 9 ซึ่งโอเมก้า 3 6 เป็นสารตั้งต้นของ DHA และ ARA และโอเมก้า 9 จะช่วยในการทำงานของสมอง

นมแพะมีโคลีน (CHOLINE) ซึ่งมีบทบาทในการสร้างสารสื่อสัญญาณประสาท ช่วยพัฒนาการเรียนรู้และ

ความจำ

นมแพะมีวิตามินบี 12 (VITAMIN B 12) มีส่วนช่วยในการทำงานของระบบประสาท

นมแพะมีแคลเซียม (CALCIUM) มีส่วนช่วยในกระบวนการสร้างกระดูดและฟันที่แข็งแรง

2. นอนวันละ 8 ชั่วโมง

ช่วงเวลานอนกลางคืนสำคัญมากๆ ต่อสมองของเด็กๆ ค่ะ พ่อแม่ควรฝึกให้ลูกได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเติมอิ่มให้ได้ 8 ชั่วโมง เด็กที่เข้านอนดึกนอนน้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน จะส่งผลให้ขาดสมาธิ ความสามารถในการเรียนรู้และจดจำจะทำได้ไม่ค่อยดีมากนัก

3. การออกกำลังกาย

การส่งเสริมให้ลูกได้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่เด็กๆ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องของความจำ เพราะการได้เคลื่อนไหวร่างกาย เช่น การเดิน กระโดด วิ่ง เป็นต้น จะช่วยกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้มากขึ้น ทำให้สมองพร้อมที่จะเปิดรับต่อการจดจำในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้รวดเร็วขึ้น

4. เล่นเกมพัฒนาความจำ

เด็กๆ ในช่วงวัย 3-4 ขวบขึ้นไป ลองหากิจกรรมหรือเกมที่ช่วยฝึกความจำ อย่าง เกมหาคำศัพท์ เกมต่อจิ๊กซอว์ เกมจับภาพคู่เหมือน ฯลฯ เกมเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความสามารถในการจดจำของสมองได้อย่างดี และยังช่วยให้ลูกมีสมาธิ ได้รู้จักการคิดแก้ปัญหาอีกด้วย

5. อย่าให้สมองตึงเครียด

เด็กๆ ไม่ควรจะมีเรื่องเครียด หรือถูกกดดันนะคะ เพราะความเครียดไม่เป็นผลดีต่อสมองของเด็ก สมองที่ผ่อนคลายจะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินที่เป็นสารแห่งความสุขออกมา ช่วยทำให้ร่างกายสดชื่น มีอารมณ์ดี เมื่อลูกมีความสุขมากกว่าความเครียด จะช่วยให้สมองเรียนรู้ เกิดความจำที่แม่นยำขึ้น แนะนำว่าควรสร้างบรรยากาศภายในบ้านให้น่าอยู่ ปราศจากสถานการณ์ดึงเครียด เช่น พ่อแม่ไม่ควรทะเลาะกันต่อหน้าลูก ไม่ดุด่าว่าลูกให้เสียใจ เป็นต้น

เด็กๆ จะเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพทั้งพัฒนาการด้านร่างกาย และพัฒนาการด้านสติปัญญา พ่อแม่ต้องกระตุ้นส่งเสริมให้ลูกทั้งในเรื่องของโภชนาการสารอาหาร และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสมองอย่างต่อเนื่องด้วยนะคะ