AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก วัย 6-12 เดือน กินอะไรได้บ้าง?

ช่วงหน้าร้อนแบบนี้เชื่อว่าคุณแม่ๆคงจะหาผลไม้คลายร้อนมารับประทาน รวมถึงหา ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก มาให้ลูกน้อยรับประทานด้วยแน่นอนใช่ไหมคะ? แต่ขอเตือนก่อนเลยนะคะว่า หน้าร้อนนี้จะรับประทานผลไม้ชนิดใดต้องระวังให้ดีค่ะ เพราะอาจเสี่ยงติด เชื้อลิสทีเรีย ที่มากับผลไม้ได้

 

ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก

คุณแม่ท้อง หรือคุณแม่ที่กำลังมีลูกเล็ก จะเลือกรับประทานผลไม้คลายร้อนอย่างเช่น เมล่อน แตงโม หรือแคนตาลูป ต้องอ่านเลยค่ะ เพราะก่อนหน้านี้ได้มีการเผยแพร่ข่าว เรื่องที่มีชาวออสเตรเลียเสียชีวิต 3 ราย และป่วยอีก 12 ราย

ซึ่งจากการสืบหาต้นตอได้พบว่า มีสาเหตุมาจากการปนเปื้อนของเชื้อลิสทีเรีย ในผลไม้จำพวกเมล่อน หรือแคนตาลูป ที่ปลูกในรัฐนิวเซาท์เวลส์ มีการปนเปื้อนเชื้อลิสทีเรียในนั้น ซึ่งหลังจากมีการตรวจพบผู้ประกอบการได้ระงับการวางขาย และตรวจสอบหาแหล่งที่มาของเชื้อ

โดยเหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่เกิดขึ้นครั้งแรก เพราะเมื่อปี 2554 เคยพบการระบาดของเชื้อลิสทีเรีย ใน 18 รัฐ ของสหรัฐอเมริกามาแล้ว ซึ่งครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิตถึง 13 ราย และมีผู้ล้มป่วยกว่า 72 ราย ซึ่งต้นตอของเชื้อ ก็มาจากแคนตาลูปเช่นกัน แต่เป็นแคนตาลูปที่ปลูกในฟาร์มในรัฐโคโลราโด

ซึ่งสำหรับในประเทศไทยเรานั้น ยิ่งช่วงนี้เข้าสู่เดือนแห่งหน้าร้อนแล้ว ก็อดเป็นกังวลไม่ได้ค่ะ เพราะยิ่งช่วงหน้าร้อนแบบนี้ อากาศร้อนๆ คนไทยมักนิยมรับประทานผลไม้ที่ให้ความสดชื่น หวานหอมได้ เช่น ผลไม้ตัดแต่งจำพวก เมล่อน แคนตาลูป แตงโม เป็นต้นค่ะ ไม่เพียงแค่คนธรรมดาทั่วไป แม้แต่ แม่ท้อง เด็กเล็ก ไปจนถึงผู้สูงอายุ ก็มักชอบรับประทาน ซึ่งถ้าดูจากข่าวที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก็ไม่อยากให้ประมาทค่ะ หากจะต้องเลือกซื้อผลไม้มารับประทาน หรือเลือกซื้อ ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก เพราะหากรับประทานแบบไม่ระมัดระวัง ก็อาจจะได้รับเชื้อเข้าไปมาก และเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้

 

ขอบคุณข้อมูล www.msn.com

เชื้อลิสทีเรีย คืออะไร? และมีวิธีป้องกันอย่างไร?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เชื้อลิสทีเรีย

เชื้อลิสทีเรีย คืออะไร?

ลิสทีเรีย หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า โรคลิสเทอริโอซิส เป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียที่เรียกกันในภาษาทางวิทยาศาสตร์ว่า ลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
อาการ เมื่อรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของ เชื้อลิสทีเรีย เข้าสู่ร่างกายจะแสดงอาการหลังติดเชื้อแล้ว 6 สัปดาห์ ทำให้เกิดอาการเป็นไข้ อาเจียน ท้องร่วง อาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด โลหิตเป็นพิษและเยื่อบุหัวใจอักเสบ และที่สำคัญ ก็คือ ถ้าโรคนี้เกิดกับมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ เด็กทารก และผู้สูงอายุรวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ก็จะเกิดอาการรุนแรงอย่างมาก ในกรณีที่เป็นมารดากำลังตั้งครรภ์ก็อาจจะเกิดภาวะการแท้งลูก ทารกเสียชีวิต หรือเกิดกับคนชรา หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ ก็อาจเสียชีวิตได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

โดยปกติจะพบเชื้อลิสทีเรียได้ในธรรมชาติเช่น ดิน ขยะปฏิกูลต่าง ๆ น้ำเสีย หรือแม้แต่ในอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังพบมากในทางเดินอาหารของสัตว์ปีก วัว หมู แกะ ปลา หอย น้ำนม และอาหารแช่แข็ง เป็นต้น

เชื้อเหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แต่ในช่วงอุณหภูมิ 2-45 องศาเซลเซียส และช่วงความเป็นกรด-ด่างที่ 5.6-9.8 เชื้อชนิดนี้ก็ยังสามารถเติบโตได้เช่นกันค่ะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและอุณหภูมิด้วย

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส

 

เมื่อคุณแม่ๆทราบถึงวิธีการป้องกันการติดเชื้อลิสทีเรียแล้ว ก็อย่าลืมนำไปปฏิบัติกันด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยค่ะ ซึ่งนอกจากจะใส่ใจเรื่องของความปลอดภัยในการรับประทานอาหาร และผลไม้แล้ว คุณแม่ที่มีลูกน้อย รู้หรือไม่ว่า? ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก วัย 6-12 เดือน ที่สามารถเริ่มรับประทานได้มีผลไม้ชนิดใดบ้าง?

 

ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก 6-12 เดือน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก 6-12 เดือน

ทารกแรกเกิดเป็นที่ทราบกันว่าจะต้องกินนมแม่ ตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือน และเมื่ออายุครบ 6 เดือน ก็เป็นวัยที่เริ่มทานอาหารเสริมได้ เพราะเมื่อลูกน้อยอายุ 6 เดือน ฟันหน้า 2 ซี่ล่างจะเริ่มขึ้น ลูกน้อยจะเริ่มรู้สึกอยากจะกัด เคี้ยว ซึ่งผลไม้นั้นก็เป็นหนึ่งในอาหารเสริมสำหรับลูกได้ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ฟันขึ้นได้ดีอีกด้วยค่ะ

ผลไม้สามารถทำให้ลูกน้อยรู้จักการ เรียนรู้รสหวานจากน้ำตาลฟรุกโตส ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับพัฒนาการของลูก โดย ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก 6-12 เดือน มีดังนี้

 

วิธีการเตรียม ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก แต่ละชนิด

♦ คั้นน้ำ ใช้กับผลไม้ประเภทที่มีเส้นใย เช่น ส้มเช้ง ส้มเขียวหวาน และแตงโม

♦ ครูดและบด เหมาะสำหรับผลไม้เนื้อสุกนิ่ม กากใยน้อย เช่น มะม่วงสุก มะละกอสุก และอะโวคาโด

♦ ปั่น เลือกผลไม้ที่มีน้ำเยอะ กินได้ทั้งน้ำและเนื้อ เช่น สาลี่ กีวี่ แอปเปิ้ล และองุ่น ก่อนปั่นควรปอกเปลือก และอาจจะใส่น้ำสุกเพิ่ม แต่การปั่นในโถปั่นอาจมีฟองอากาศผสมเข้าไป ทำให้คุณค่าอาหารอาจลดน้อยลง และลูกอาจมีลมในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น หลังกินควรมีกิจกรรมให้ลูกทำบ้าง

♦ หั่นชิ้นเล็ก เหมาะกับผลไม้ทุกชนิด เช่น มะละกอ กล้วย ส้ม อะโวคาโด มะม่วงสุก แตงไทย และองุ่น แต่ผลไม้ที่มีเปลือกบางๆ เช่น องุ่นและส้ม คุณแม่ควรลอกเปลือกและแกะเมล็ดออกให้เรียบร้อย

♦ หั่นเป็นแท่ง มักใช้กับผลไม้ที่นิ่มปานกลาง และไม่เละ เช่น มะม่วง ชมพู่ สาลี่ แอปเปิ้ล และฝรั่ง เพราะลูกจะสามารถจับถือกินเองได้

 

การรับประทาน ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก วัยตั้งแต่  6-12 เดือน

วัย 6-8 เดือน

ลูกควรกินเป็นผลไม้บด ยี หรือครูด ถ้าคุณแม่บดผลไม้ผ่านตะแกรง จะทำให้มีน้ำมากกว่าเนื้อ อาจจะผสมเนื้อผลไม้รวมลงไปด้วย เพื่อเพิ่มความข้นหนืด เพราะลูกวัยนี้เริ่มมีทักษะในการใช้ลิ้นตวัดอาหาร และแตะเพดานปากดีขึ้น ลูกจะสามารถกลืนอาหารได้โดยไม่สำลัก และควรเริ่มจาก 2–3 ชิ้นเล็ก ๆ จนกระทั่งเพิ่มปริมาณมากขึ้นถึง 2 ช้อนโต๊ะ

อายุ 8-10 เดือน

ในวัยนี้ลูกจะเริ่มมีฟันเพิ่มขึ้นแล้วล่ะค่ะ คุณแม่ควรเลือกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม หั่นเป็นชิ้นเล็ก ให้ลูกน้อยได้ทดสอบความสามารถของฟัน และคุ้นชินกับอาหารที่มีลักษณะหยาบขึ้น สำหรับผลไม้ควรหั่นชิ้นเล็กประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ และน้ำผลไม้คั้นสด 2–4 ออนซ์

อายุ 10-12 เดือน

สำหรับลูกน้อยวัยนี้จะมีฟันขึ้นเยอะมากกว่าเดิม และเริ่มขบเคี้ยวอาหารจากฟันหน้า เพราะฉะนั้นผลไม้ที่เด็กวัยนี้กินได้ควรเป็นผลไม้เนื้อนิ่มปานกลาง คุณแม่อาจจะหั่นเป็นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า หรือเป็นแท่งให้ลูกจับถือกินเอง และควรกินประมาณ 2-4 ช้อนโต๊ะ ถ้าเป็นน้ำผลไม้คั้นสดประมาณ 2–4 ออนซ์

 

ทราบกันไปแล้วนะคะว่า ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก มีอะไรบ้าง แต่ต้องย้ำว่าผลไม้ที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกน้อยกิน ก็คือ ผลไม้ที่ที่มียางและมีเมล็ดเล็กๆ ค่ะ และถ้าจะให้ดีคุณแม่ควรให้ลูกกินผลไม้หลากหลายสีอย่างน้อย 2-3 ชนิดต่อวัน เพื่อลูกจะได้คุณค่าสารอาหารที่ครบถ้วน ที่สำคัญควรเป็นผลไม้สดและใหม่ รวมถึงอย่าลืมเรื่องของความสะอาดปลอดภัยก่อนรับประทานกยันด้วยนะคะ

 

ขอบคุณข้อมูล  www.kapook.com /  www. elib.fda.moph.go.th

 

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ในสตรีมีครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ท้อง ต้องระวัง

คนท้องดื่มชาเขียวได้ไหม? ดื่มมากไป เสี่ยงแท้ง จริงหรือ?

อาหารเสริมลูกน้อย เริ่มเมื่อไหร่ถึงจะเหมาะสม?

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids