ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก วัย 6-12 เดือน กินอะไรได้บ้าง? - amarinbabyandkids
เชื้อลิสทีเรีย

ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก วัย 6-12 เดือน กินอะไรได้บ้าง?

event
เชื้อลิสทีเรีย
เชื้อลิสทีเรีย

เชื้อลิสทีเรีย

เชื้อลิสทีเรีย คืออะไร?

ลิสทีเรีย หรือที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า โรคลิสเทอริโอซิส เป็นโรคที่เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อแบคทีเรียที่เรียกกันในภาษาทางวิทยาศาสตร์ว่า ลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เล็กมากไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้
อาการ เมื่อรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของ เชื้อลิสทีเรีย เข้าสู่ร่างกายจะแสดงอาการหลังติดเชื้อแล้ว 6 สัปดาห์ ทำให้เกิดอาการเป็นไข้ อาเจียน ท้องร่วง อาจรุนแรงถึงขั้นติดเชื้อในกระแสเลือด โลหิตเป็นพิษและเยื่อบุหัวใจอักเสบ และที่สำคัญ ก็คือ ถ้าโรคนี้เกิดกับมารดาที่กำลังตั้งครรภ์ เด็กทารก และผู้สูงอายุรวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ ก็จะเกิดอาการรุนแรงอย่างมาก ในกรณีที่เป็นมารดากำลังตั้งครรภ์ก็อาจจะเกิดภาวะการแท้งลูก ทารกเสียชีวิต หรือเกิดกับคนชรา หรือผู้ป่วยโรคเอดส์ ก็อาจเสียชีวิตได้เช่นกัน หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

โดยปกติจะพบเชื้อลิสทีเรียได้ในธรรมชาติเช่น ดิน ขยะปฏิกูลต่าง ๆ น้ำเสีย หรือแม้แต่ในอาหารสัตว์ นอกจากนี้ยังพบมากในทางเดินอาหารของสัตว์ปีก วัว หมู แกะ ปลา หอย น้ำนม และอาหารแช่แข็ง เป็นต้น

เชื้อเหล่านี้จะสามารถเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส แต่ในช่วงอุณหภูมิ 2-45 องศาเซลเซียส และช่วงความเป็นกรด-ด่างที่ 5.6-9.8 เชื้อชนิดนี้ก็ยังสามารถเติบโตได้เช่นกันค่ะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและอุณหภูมิด้วย

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส

  • ควรทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ทุกครั้งก่อนสัมผัสกับอาหาร และที่สำคัญก็คือต้องล้างมือทุกครั้งก่อนจับสิ่งของเครื่องใช้ หรืออาหาร เพราะถ้าไปจับอาหารที่มีการปนเปื้อน เชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส เชื้อเหล่านี้ก็จะติดไปกับมือ และเมื่อเราไปจับภาชนะหรืออาหารที่สะอาดอื่น ๆ อาหารหรือภาชนะเหล่านั้นก็จะเกิดการปนเปื้อนเชื้อนี้เข้าไปด้วย
  • แยกอาหารที่สด ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ เช่น เนื้อสัตว์ อาหารทะเล เป็นต้น ออกจากอาหารที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อหรืออาหารที่สามารถรับประทานได้เลยโดยไม่ต้องปรุงให้สุก อย่างเช่น ผัก ผลไม้ ขนมปัง หรืออาหารสำเร็จรูป เนื่องจากอาหารสดที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อมีโอกาสที่จะปนเปื้อนเชื้อลิสทีเรียได้สูง หากนำไปปะปนกับอาหารที่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ ก็จะมีโอกาสที่เชื้อจะปนเปื้อนกับอาหารเหล่านั้นเป็นไปได้สูง
  • ควรปรุงอาหารให้สุกก่อนบริโภค เพราะเชื้อลิสทีเรีย โมโนไซโตจีเนส สามารถเจริญเติบโตได้ในอุณหภูมิ 2-45 องศาเซลเซียส ดังนั้น แม้จะเก็บอาหารไว้ในตู้เย็นแล้วก็ตาม แต่เชื้อแบคทีเรียตัวนี้ก็จะยังคงมีชีวิตอยู่  ดังนั้นเพื่อที่จะป้องกันเชื้อที่อาจจะติดมากับอาหารเหล่านี้ได้จึงควรปรุงอาหารที่อุณหภูมิอย่างน้อย 73 องศาเซลเซียส และเป็นเวลาอย่างน้อย 15 วินาที เพื่อฆ่าเชื้อที่อาจจะติดมากับอาหารนั้น
  • ควรเก็บอาหารในอุณหภูมิที่ 4 องศาเซลเซียส หรืออุณภูมิที่ต่ำกว่า  เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ และไม่ควรเก็บอาหารไว้อุณหภูมิภายนอกเป็นเวลานานมากกว่า 2 ชั่วโมง เพราะเป็นอุณหภูมิที่เชื้อสามารถเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้แล้วยังควรดูวันหมดอายุของอาหารหรือผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ด้วย

 

เมื่อคุณแม่ๆทราบถึงวิธีการป้องกันการติดเชื้อลิสทีเรียแล้ว ก็อย่าลืมนำไปปฏิบัติกันด้วยนะคะ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณแม่และลูกน้อยค่ะ ซึ่งนอกจากจะใส่ใจเรื่องของความปลอดภัยในการรับประทานอาหาร และผลไม้แล้ว คุณแม่ที่มีลูกน้อย รู้หรือไม่ว่า? ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก วัย 6-12 เดือน ที่สามารถเริ่มรับประทานได้มีผลไม้ชนิดใดบ้าง?

 

ผลไม้สำหรับเด็กเล็ก 6-12 เดือน

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up