การ เพิ่มธาตุเหล็กให้ลูก สำคัญต่อลูกวัยนั่งได้ในช่วง 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งหากให้ทานแต่นมแม่อย่างเดียว ลูกอาจได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ เพราะธาตุเหล็กตามธรรมชาติซึ่งสะสมไว้เมื่อตอนทารกเกิดมาจะเริ่มใช้หมดไป
เปิดสูตร “ข้าวตุ๋นสามสี” เมนูเด็ด!
ช่วยเพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกน้อย
ธาตุเหล็ก ถือเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมากต่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย เพราะจะเป็นสารอาหารที่ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง อีกทั้งยังช่วยนำออกซิเจนไปทั่วร่างกายได้ดี ในระยะนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณแม่ต้องเสริมอาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กให้กับลูกน้อย ไม่ว่าเป็น เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อหมูที่ไม่ติดมัน เนื้อปลาที่ไขมันสูง ตับหมู ผักใบเขียว เช่น ผักโขม บรอคโคลี ถั่วเขียว ถั่วลันเตา กีวี่ คะน้า กวางตุ้ง กะหล่ำปลี รวมถึงธัญพืช และถั่วต่างๆ
⇒ แนะนำบทความที่ควรอ่าน >> รู้ทัน ภาวะซีดในทารก ก่อนลูกขาดธาตุเหล็กรุนแรง
ความต้องการธาตุเหล็ก ในแต่ละวัน
ตามคำแนะนำสำหรับคนทั่วไปต่อปริมาณธาตุเหล็กที่ควรบริโภคต่อวัน (DRI, Dietary reference intakes) ของสถาบันการแพทย์แห่งชาติ แห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Nutrition Board, Institute of Medicine, National Academies) ค.ศ. 2010 คือ
ประโยชน์และโทษ ของธาตุเหล็ก
√ ประโยชน์ หรือ หน้าที่ของธาตุเหล็ก ที่สำคัญที่สุด คือ เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปสู่เซลล์ต่างๆทั่วร่างกายเพื่อการทำงาน การใช้พลังงานของเซลล์ทุกๆเซลล์ของร่างกาย ธาตุเหล็กจึงมีความสำคัญต่อไขกระดูกในการสร้างเม็ดเลือดแดงเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อขาดธาตุเหล็ก จะเป็นสาเหตุหลักให้เกิดภาวะซีด หรือภาวะโลหิตจาง (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก)
√ ประโยชน์/หน้าที่อื่นๆของธาตุเหล็ก ได้แก่ ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรค ช่วย การเจริญเติบโตของเซลล์สมองในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเข้าใจและความจำ (Cognitive development) ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อต่างๆ และเป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ต่างๆในการสันดาปพลังงาน/นำพลังงานต่างๆไปใช้
⊗ โทษ หรือผลข้างเคียงจากการมีธาตุเหล็กในร่างกาบมากเกินไป หรือจากการเสริมธาตุเหล็กในปริมาณสูงต่อเนื่อง มีอันตรายสูงถึงเสียชีวิตได้ โดยผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย เช่น ก่อการระคายเคืองต่อเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะเยื่อบุทางเดินอาหาร เป็นสาเหตุให้มีเลือดออกในทางเดินอาหารได้ทั้งจากกระเพาะอาหารและจากลำไส้ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ปวดศีรษะ หายใจลำบาก อ่อนเพลีย วิงเวียน น้ำหนักลด/ผอมลง ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเทา มีผลกดภูมิคุ้มกันต้านทานโรค (ติดเชื้อได้ง่าย) และอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เกิดโรคออโตอิมมูน/โรคภิต้านตนเอง หรือโรคมะเร็งได้
ซึ่งถ้ามีธาตุเหล็กสะสมในร่างกายมากขึ้น จะส่งผลต่อการทำงานของ ไขกระดูก ตับ ไต หัวใจ ปอด และสมอง ก่อให้เกิด อาการอ่อนเพลียมากขึ้น ภาวะซีด หัวใจเต้นผิดปกติ ตัวเขียวคล้ำ ชัก ตับวาย ไตวาย โคมา และเสียชีวิตได้ในที่สุด
***ดังนั้น จึงไม่ควรกินธาตุเหล็กเสริมอาหารเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะในเด็ก
และเมื่อคุณแม่ทราบถึงผลร้ายของการที่ลูกน้อยขาดธาตุเหล็กแล้ว วันนี้เชฟแม่หมีจึงมีสูตรเด็ด เคล็ดไม่ลับ ในการทำเมนูอาหารที่จะช่วยเพิ่มธาตุเหล็กให้กับลูกน้อย กับ “ข้าวตุ๋นสามสี” ซึ่งเมนูนี้เหมาะสำหรับลูกน้อยตั้งแต่วัย 9 เดือนขึ้นไป… แล้วจะมีวัตถุดิบ ส่วนผสม หรือขั้นตอนการทำอย่างไรบ้าง ตามไปดูกันเลยค่ะ
อ่านต่อ >> “วัตถุดิบและส่วนผสม ของ “ข้าวตุ๋นสามสี” เมนูเพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 2
ขอบคุณข้อมูลจาก : haamor.com
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาการสำคัญที่สุดจากขาดธาตุเหล็ก คือ ตัวซีด หรือ ภาวะซีด (โลหิตจางจากขาดธาตุเหล็ก) ส่วนอาการอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น
- อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย วิงเวียน สับสน
- สมาธิสั้น สติปัญญาด้อยลง
- ป่วยติดเชื้อต่างๆ ได้ง่าย
- ลิ้นอักเสบโดยไม่มีการติดเชื้อ
- ผมร่วง เล็บเปราะ
- อยากอาหารรสชาติแปลกๆ
วิธีป้องกันลูกน้อยมีภาวะขาดธาตุเหล็ก
- ให้ลูกทานอาหาร ที่มีประโยชน์ทั้ง 5 หมู่ให้ครบถ้วนทุกวัน โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
- หลีกเลี่ยง สาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง (ที่หลีกเลี่ยงได้) ที่อาจทำให้ลูกเกิดภาวะการขาดธาตุเหล็ก
- ป้องกัน รักษา พร้อมควบคุมสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง
- เมื่อลูกอยู่ในกลุ่มมีปัจจัยเสี่ยงควรพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำในการดูแล
- ควรนำลูก ไปพบแพทย์ พยาบาล ตั้งแต่แรกเกิดตามนัดเสมอ เพื่อการดูแลสุขภาพเด็ก และการคัดกรองภาวะซีด
- รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน(สุขบัญญัติแห่งชาติ) ป้องกันโรคพยาธิต่างๆ
วัตถุดิบและส่วนผสม ของ “ข้าวตุ๋นสามสี” เมนูเพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกน้อย
สันในไก่ต้มสุกสับละเอียด 2 ช้อนโต๊ะ
ไข่แดงต้มสุกบดหยาบ 1 ช้อนโต๊ะ
ใบตำลึงลวกสุกสับละเอียด 2-3 ช้อนโต๊ะ
ข้าวสวยหุงสุก ½ ถ้วย
น้ำซุป 1 ถ้วย
ชมคลิป >> “ขั้นตอนการทำ “ข้าวตุ๋นสามสี” เมนูเพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
โภชนาการดี๊….ดี ของ “ข้าวตุ๋นสามสี”
♥ ตำลึง มีธาตุเหล็กสูง บำรุงเลือด มีวิตามินเอ บำรุงสายตา ♣ ไข่แดง มีธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ ♠ ไก่ มีโปรตีนสูง
ขั้นตอนการทำ “ข้าวตุ๋นสามสี” เมนูเพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกน้อย
(9 เดือนขึ้นไป)
1. อันดับแรก ให้คุณแม่ใส่น้ำซุปลงในหม้อ แล้วตามด้วยข้าวสวย พร้อมตั้งไฟเคี่ยวจนข้าวสุกนิ่ม
2. จากนั้นใส่ใบตำลึงลงไป และคนให้เข้ากัน แล้วตั้งไฟให้เดือดอีกครั้ง
3. ขั้นตอนสุดท้าย ตักข้าวใส่ถ้วย และโรยไข่แดง และไก่ต้มลงไป และพักให้พออุ่น นำไปป้อนลูกน้อยได้ทันที
ชมคลิปขั้นตอนการทำ “ข้าวตุ๋นสามสี” เมนูเพิ่มธาตุเหล็กให้ลูกน้อย
ได้ด้านล่างนี้เลยค่ะ ⇓
♥ ติดตามเมนูเด็ดอื่น ๆ โดยเชฟแม่หมี
เพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ! ที่ลิงก์ด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ ⇓
- สุดยอด เมนูต้านหวัด ป้องกันลูกน้อยไม่ให้ป่วยบ่อย (ซุปมักกะโรนีมะเขือเทศต้านหวัด)
- ข้าวต้มหลากสี อาหารต้านหวัดให้ลูก สูตรดี แสนอร่อยช่วยเพิ่มพลัง!
- เผยสูตรเด็ด! เครปไข่พระอาทิตย์ เมนูมื้อว่างวันหยุดเพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะ
- เปิดสูตร เมนูไข่เพิ่มพลัง มื้อเช้าแสนง่าย ช่วยลูกน้อยสมองดี มีกำลัง! (ขนมปังหน้าไข่อบชีส)