AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

แม่โพสต์เตือน! ระวัง “ขนมปนเปื้อนสารพิษ” ลูกป่วยหนักเข้ารพ. อันตรายถึงชีวิต!

ขนมไม่มีอย. อันตราย ขึ้นชื่อว่า ขนม เป็นของที่เด็กๆทุกคนย่อมชอบกินกันอยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญที่พ่อแม่ควรพิจารณา ก่อนเลือกซื้อขนมให้ลูกคือ ควรอ่านฉลาก และดูเลขที่อย. ด้วยทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อย

ไม่เช่นนั้นแล้วหากลูกกินขนมที่ไม่มีฉลากอย. เข้าไป หรือขนมที่ไม่มีรายละเอียดบอกสารอาหารอะไรบนฉลากเลย ขนมนั้นอาจมีสารพิษเจือปนอยู่ เมื่อลูกกินขนมเหล่านั้นเข้าไปก็อาจทำให้ได้รับสารพิษ เป็นอันตรายต่อร่างกายได้

ดังเช่นเหตุการณ์นี้ ซึ่งคุณแม่ท่านหนึ่งได้ออกมาโพสต์เตือน ผ่านบนเฟซบุ๊กชื่อ เบียร์ กิ๊กก๊อก โดยเล่าถึงอาการของลูกสาววัย 6 ขวบ หลังจากกินขนมชนิดหนึ่งเข้าไปว่า…

ซึ่งหลังจากน้องกินเข้าไป แรกๆจะเฉยๆ ซักพักจะเริ่มเวียนหัว และอาเจียนอย่างหนัก นอนซึม ตาลอย เรียกไม่ตอบ ไม่รู้สึกตัว ผู้เป็นแม่จึงรีบเรียกรถพยาบาลมารับ

อ่านต่อ >> แม่โพสต์เตือน! ระวัง “ขนมปนเปื้อนสารพิษ” ลูกป่วยหนักเข้ารพ.” คลิกหน้า 2

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

เบื้องต้นคุณหมอบอกว่าอาการนี้เกิดจากอาหารเป็นพิษ และคุณหมอยังบอกอีกว่าในขนมมีสารพิษเจือปน โดยลักษณะของขนมตัวต้นเหตุที่คุณแม่นำมาให้คุณหมอดู เป็นเหมือนขวดโค้ก ข้างในเป็นแบบผงๆ มี 2 สี 2 รสชาติ คือ รสโคล่ากับรสส้ม ทั้งนี้คุณแม่ยังเตือนอีกว่า ก่อนจะเลือกขนมให้ลูก ควรดูให้ดีก่อน เอาที่มี อย. มีภาษาไทยชัดเจน

ซึ่งคุณแม่แจ้งว่า ตอนนี้อาการของน้องก็ปลอดภัยดีแล้ว และจึงฝากเตือนถึงแม่ๆ ทุกคนคนที่มีลูกเล็กๆ อย่าซื้อขนมพวกนี้ให้ลูกกินเป็นอันขาด ถ้ายังไม่อยากเสียลูกไป

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : เฟสบุ๊คคุณแม่ เบียร์ กิ๊กก๊อก


หลักในการเลือกซื้อขนมให้ลูกน้อย

ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่าขนม มีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะเด็ก ซึ่งมักเป็นหนึ่งในหลายๆอย่างที่ผู้ใหญ่มักนำมาใช้ล่อหลอก หรือเป็นเครื่องต่อรองหรือให้รางวัลกับเด็ก ถ้ามองถึงความสำคัญของขนมแล้ว ขนมดูจะมีความสำคัญน้อยเมื่อเทียบกับอาหารหลัก 3 มื้อ ขนมส่วนใหญ่มักทำจากแป้ง น้ำตาล ซึ่งให้เพียงพลังงาน รสหวาน มัน เค็ม อาจเป็นอาหารว่างระหว่างมื้อ แต่พบว่าเด็กกลับรับประทานมากและนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพ เด็กที่ทานอาหารหลัก 3 มื้อได้มากและยังเพิ่มขนมขบเคี้ยว โดยเฉพาะขณะดูทีวี ก็จะนำมาซึ่งโรคอ้วน ส่วนในเด็กที่น้ำหนักน้อย ขนมขบเคี้ยวจะยิ่งทำให้การจะรับประทานอาหารมื้อหลักลดลง ทำให้การเจริญเติบโตล่าช้า

ในทางโภชนาการ “ขนม”ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง หมายถึงขนมที่มีส่วนประกอบของสารอาหารครบ 5 หมู่ คือการมีโปรตีน วิตามิน เกลือแร่ เพิ่มจาก แป้ง น้ำตาล ไขมัน ที่มีอยู่ เนื่องจากในขนมกรุบกรอบส่วนใหญ่ จะมีแป้ง น้ำตาล ไขมัน ผงชูรส เกลือ ซึ่งให้เพียงพลังงานและอาจเป็นโทษกับร่างกาย

ขนม/อาหารว่างที่มีคุณค่า และมองในภูมิปัญญาท้องถิ่น

ขนมไทย น่าจะมีประโยชน์และคุณค่าทางสารอาหารสูงกว่า ยกตัวอย่าง ขนมกล้วย ขนมตาล ขนมฟักทอง มีวิตามินเอ ข้าวต้มมัด ถั่วแปบ รสไม่หวานจัด มีแป้ง โปรตีน วิตามิน เกลือแร่ และเส้นใยอาหาร ถั่ว งา มีโปรตีน และแคลเซียม

ผลไม้ ส้ม กล้วย ฝรั่ง มะม่วง มะละกอ ซึ่งมีวิตามิน เกลือแร่ และใยอาหาร เป็นประโยชน์ต่อร่างกายในทุกเพศ ทุกวัย

♥ แนะนำบทความควรอ่าน10 ขนมเด็ก สุขภาพดีก็มีในโลก

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

X ขนมที่ควรหลีกเลี่ยง

♥ แนะนำบทความควรอ่านขนมควันพุ่งอันตรายกับลูกน้อยจริงหรือไม่?

อ่านต่อ >> หลักที่ดีในการเลือกซื้อขนมให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 3

เด็กๆ ควรบริโภค “ขนม” ที่มีคุณค่าในปริมาณมากน้อยขนาดไหน?

ขนมที่มีคุณค่าก็ให้พลังงานที่ดี เด็กๆจึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ ควรเป็นของว่าง เสริมระหว่างมื้อ 1-2 ครั้งต่อวัน จากอาหารหลัก 3 มื้อ ช่วงสาย และช่วงบ่าย โดยถ้าเป็นผลไม้ ประมาณ 1ส่วนเสริฟ : กล้วยน้ำว้า 1 ผลหรือ ส้ม 1 ผลหรือ มะละกอ 5-6 ชิ้นคำ , ขนมไทยๆ : ขนมกล้วย ขนมฟักทอง 1-2 ชิ้น หรือ ข้าวต้มมัด 1 กลีบ

√ คำแนะนำในการเลือกซื้อขนมที่มีประโยชน์

ปัจจุบันสื่อโฆษณาต่างๆ ด้านขนมเด็ก กำลังโหมกระหน่ำและมุ่งเป้าสู่เด็กทุกวัย เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ ครอบครัว ผู้ปกครอง จึงควรให้ความสนใจ พินิจพิเคราะห์ ในการเลือกขนม หรือให้คำแนะนำในการเลือกขนมกับบุตรหลาน หลักที่ควรคำนึง คือ 3 ป. ปลอดภัย , ประโยชน์ ,ประหยัด

 

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ทั้งนี้ นพ.สุริยเดว ทรีปาตี กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสุขอนามัยเด็ก หนึ่งในอนุกรรมาธิการสำนักงานแผนงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน วุฒิสภา กล่าวเตือนว่า ขนมถุงทั่วไปถือเป็นอาหารขยะไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ยิ่งขนมที่ผลิตไม่ได้มาตรฐานก็ยิ่งมีอันตรายเพิ่มไปอีก เพราะไม่มีใครรู้ว่าส่วนผสมข้างในมีสารเคมีอะไร เมื่อกินเข้าไปแล้วมีสารตกค้างในร่างกายมากน้อยแค่ไหน ปัญหาขณะนี้ คือ เด็กอ่านฉลากไม่รู้เรื่อง พ่อแม่ชาวบ้านไม่สนใจ ไม่รู้ว่ามีสารพิษอะไรในขนมที่ลูกซื้อกิน ในบางประเทศจะมีกฎหมายพิเศษควบคุมการผลิตขนมที่เด็กชอบกิน เช่น ไม่ให้ใส่สีหรือวัตถุเจือปนบางชนิด แต่เมืองไทยทำอย่างนั้นไม่ได้ เพราะผู้ผลิตอ้างว่าขนมที่ทำนั้นให้ผู้ใหญ่หรือคนทั่วไปกินด้วย ไม่ได้มีเป้าหมายผลิตให้เด็กกินโดยเฉพาะ

จึงอยากจะฝากถึงคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ก่อนที่จะซื้ออาหารหรือขนมให้เด็กๆ ควรใส่ใจเรื่องคุณค่าทางอาหารมากกว่า อีกทั้งขอให้สังเกตฉลากวันหมดอายุด้วย และไม่ควรซื้อขนมที่มีสีสันฉูดฉาดให้เด็กรับประทาน รวมถึงขนมที่ไม่มีภาษาไทยกำกับ ซึ่งอาจเป็นขนมที่ไม่ได้มาตรฐานและอาจทำให้เด็กได้รับอันตรายได้

อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : oknation.nationtv.tv/blog , www.dekthaidoodee.com