คุณแม่ ตั้งครรภ์ อย่างไร ไม่ให้อ้วน สิ่งสำคัญของการตั้งครรภ์คุณภาพ คือการดูแลน้ำหนักอย่างถูกวิธี เพื่อไม่ให้คุณแม่อ้วน หรือมีน้ำหนักขึ้นมากเกินไป เพราะบั่นทอนสุขภาพคุณแม่และลูกน้อยได้ ฉะนั้นรามาดูกันดีกว่าค่ะ ว่าเราจะ ตั้งท้องอย่างไรไม่ให้อ้วน
คุณแม่ ตั้งครรภ์ อย่างไร ไม่ให้อ้วน
หนึ่งในความกังวลของคุณแม่เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์ก็คือ น้ำหนักและรูปร่าง น้ำหนักควรขึ้นเท่าไร จะควบคุมน้ำหนักได้ไหม ตั้งครรภ์ อย่างไร ไม่ให้อ้วน และทำอย่างไรให้น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์
ก่อนอื่นคุณแม่ต้องสำรวจตัวเองก่อนว่า เราอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่า “อ้วน” “น้ำหนักเกิน” “สมส่วน” หรือ “ผอม” โดยดูจากดัชนีมวลกาย (BMI-Body Mass Index) ค่ะ ซึ่งคำนวณโดยนำ น้ำหนักหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตร ยกกำลัง 2
เมื่อได้ผลการคำนวณแล้วมาดูกันว่าน้ำหนักคุณแม่อยู่ในเกณฑ์ใด
BMI ต่ำกว่า 18.5 น้ำหนักน้อยว่าปกติ หรือ ผอม
BMI 18.5 – 24.9 อยู่ในเกณฑ์ปกติ หรือสมส่วน
BMI 25 – 29.9 น้ำหนักเกิน
BMI มากกว่า 30 อ้วน
ระหว่างท้องน้ำหนักควรขึ้นเท่าไร
- หาก BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักตลอดการตั้งครรภ์ ควรเพิ่ม 11-15 กิโลกรัม
- หาก BMI น้ำหนักเกิน น้ำหนักคุณแม่ควรเพิ่มขึ้น 6.7-11.2 กิโลกรัม
- หากคุณแม่เป็นคนอ้วน น้ำหนักควรเพิ่มขณะตั้งครรภ์คือ 4.9-9.0 กิโลกรัม เท่านั้น
ตอนตั้งครรภ์ ควบคุมอาหารหรือกินอาหารเพื่อการลดน้ำหนักได้ไหม
การจำกัดอาหารและพยายามลดน้ำหนักระหว่างตั้งครรภ์เป็นอันตรายมากค่ะ คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการเลือกชนิดอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของลูกโดยไม่ก่อให้เกิดไขมันสะสมจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เช่น การรับประทานเนื้อสัตว์ที่ไม่มีไขมันแทรก หลีกเลี่ยงการปรุงอาหารด้วยการทอด หลีกเลี่ยงเบเกอรี่ ขนมหวาน และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม คุณแม่ท้อง กินอย่างไรให้ลงลูก คลิกต่อหน้า 2
กินอย่างไรให้ลงลูก แต่แม่ไม่อ้วน
มาดู 8 เคล็ดลับ สำหรับโภชนาการแม่ท้องกันค่ะ
- กินอาหารที่มีคุณภาพมากขึ้น แต่ไม่ใช่ปริมาณมากขึ้น ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ร่างกายต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิมเพียง 300 แคลอรี่ต่อวัน ส่วนในไตรมาสที่ 3 ต้องการเพิ่มขึ้น 450 แคลอรี่ต่อวัน กลุ่มอาหารที่เน้นให้เพิ่มคือโปรตีนค่ะ นอกจากนั้นควรเพิ่มโฟลิค และธาตุเหล็กด้วย
- กินอาหารครบ 5 หมู่ เลือกประเภทต้ม นึ่ง อบ หลีกเลี่ยงทอด ผัด หากจำเป็นต้องกินควรเลือกใช้น้ำมันมะกอก น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันจากดอกทานตะวัน ไม่ควรใช้น้ำมันเก่ามาปรุงอาหารซ้ำ
- งดอาหารไม่สุก คาเฟอีน แอลกอฮอล์ ซอฟต์ชีสจำพวก Brie และปลาที่มีสารปรอทเยอะอย่างทูน่า FDA แนะนำให้กินปลาไม่เกิน 12 ออนซ์ต่อสัปดาห์ ส่วนคาเฟอีนไม่ได้มีในกาแฟเท่านั้นนะคะ ยังมีในชา โกโก้ และน้ำอัดลมด้วย
- ห้ามกินอาหารลดน้ำหนัก และห้ามอดอาหาร เพราะจะทำให้ขาดธาตุอาหารที่สำคัญไปด้วย เช่น เหล็ก โฟลิค วิตามิน และเกลือแร่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นอย่างได้มาตรฐานเป็นการแสดงว่าลูกในท้องเติบโต แต่ไม่ได้หมายถึงการกินเป็น 2 เท่าเผื่อลูกในท้อง เพียงกินอาหารที่มีประโยชน์เพิ่ม 350-450 แคลลอรี่ต่อวันเท่านั้น
- ให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นช้าๆ 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ ในไตรมาสที่ 2 และ 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
ติดตาม 8 เคล็ดลับ สำหรับโภชนาการแม่ท้อง คลิกต่อหน้า 3
- กินอาหารครั้งละน้อยๆ แต่กินบ่อยๆ เคี้ยวอาหารให้ละเอียด หลีกเลี่ยงอาหารขยะ จะช่วยลดอาการกรดไหลย้อน
- ขนมจุกจิก ขนมถุง ขนมหวาน ไม่ควรเป็นอาหารที่กินบ่อย แต่ถ้ามีความอยากของหวานมากๆ ซึ่งคนท้องส่วนใหญ่เป็นเช่นนั้น อาจเลือกสมูทตี้ผลไม้ที่ไม่ใส่น้ำเชื่อมเพิ่ม ไอศกรีมซอร์เบต์ หรืออาจให้รางวัลตัวเองเป็นเค้กสักชิ้นนานๆครั้งก็ได้
- หลังกินอาหารไม่ควรนั่งเฉยๆหรือนอน ควรเดินช้าๆ ประมาณ 15-30 นาที และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
Exercise สไตล์แม่ท้อง
การออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ มีเคล็ดลับดังนี้ค่ะ
- ตรวจเช็คกับคุณหมอที่ฝากครรภ์ก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้หรือไม่
- ไม่เล่นกีฬาผาดโผน หรือมีการกระแทกสูง
- ใส่เสื้อผ้าและรองเท้าที่เหมาะสมกับการออกกำลังกายแต่ละประเภทเพื่อลดอุบัติเหตุ
- Warm up ก่อนเสมอ
- ดื่มน้ำมากๆ
- หลีกเลี่ยงการนอนหงายนานๆ
- อย่าออกกำลังเกินลิมิตของร่างกาย ไม่ควรให้เหนื่อยเกินไป
- ลุกจากพื้นช้าๆ
- cool down เสมอ
เพียงเท่านี้คุณแม่ก็จะมีสุขภาพดี น้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ มีลูกเติบโตแข็งแรง และไม่อ้วนหลังคลอดค่ะ
ข้อมูลโดย : พญ. กันดาภา ฐานบัญชา สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์
อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ
แม่ท้อง กินวิตามินเสริมความงามได้ไหม
17 ผลไม้คลายร้อน ลูกน้อยกินได้ แม่ท้องกินดี
20 วิธีแก้ อาการแพ้ท้อง พร้อมเมนูแนะนำแก้อาการแพ้ท้อง
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่