ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่ โพรแลคติน พิสูจน์แล้วจากการวิจัย
ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่

ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่ พิสูจน์แล้วจากการวิจัย

event
ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่
ฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่

ศาสตราจารย์ ดร.นทีทิพย์ กฤษณามระ หน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก ตั้งสมมติฐานว่า โพรแลคตินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลแคลเซียมของแม่ หลังจากทำการศึกษาวิจัยกับหนูทดลองมานับ 10 ปี พบว่าฮอร์โมนนี้กระตุ้นการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้เล็ก ตลอดจนกระบวนการที่แคลเซียมดูดซึมจากโพรงลำไส้เข้าสู่กระแสเลือด

แคลเซียมที่เพิ่มขึ้นจะถูกนำผ่านรกไปสู่ลูกน้อยในครรภ์ ส่วนแม่ที่ให้นมลูกน้อยแคลเซียมจะถูกนำไปใช้สังเคราะห์น้ำนมในเต้านม เพราะทารกแรกเกิดต้องใช้แคลเซียมในปริมาณสูงในการสร้างกระดูก คุณแม่ต้องผลิตน้ำนมที่มีแคลเซียมเพียงพอตลอดเวลา ร่างกายของแม่รับมือกับความกดดันนี้โดยไม่มีทางหลีกเลี่ยง ถ้าคุณแม่มีแคลเซียมไม่เพียงพอ เช่น รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมต่ำ หรือขาดแคลเซียม ร่างกายของแม่จะดึงแคลเซียมจากกระดูกของแม่เองมาใช้

banner300x250

ไม่ว่าคุณแม่จะมีแคลเซียมมากเพียงพอ หรือขาดแคลเซียม น้ำนมของแม่จะมีแคลเซียมเข้มข้นเสมอ และคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีมวลกระดูกลดลง ถึงแม้ว่ามวลกระดูกจะเพิ่มกลับมาเท่าเดิมหลังหย่านม แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูกมากๆ ในช่วงให้นมจะส่งผลเสียให้ร่างกายคุณแม่หรือไม่

ฮอร์โมนแห่งการเสียสละ

ถึงแม้ว่าคุณแม่จะรับประทานแคลเซียมเสริมในปริมาณสูง ก็ยังไม่เพียงพอที่จะป้องกันไม่ให้กระดูกสูญเสียแคลเซียม กลุ่มวิจัย COCAB จึงศึกษาว่าทำไมคุณแม่ถึงได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ พบว่า อัตราการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้จะพุ่งสูงขึ้นทวีคูณ เมื่อโพรแลคตินในเลือดพุ่งสูงขณะดูดนม เมื่อตรวจวัดมวลกระดูกของคุณแม่หลังลูกหย่านม และในลูกที่เจริญเติบโต พบว่าคุณแม่ที่รับประทานแคลเซียมเสริมวันละ 4 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30-90 นาที ก่อนให้ลูกดูดนม ทำแบบนี้ไปจนหย่านม พบว่ามีผลป้องกันการสูญมวลกระดูก ลูกที่ดูดนมแม่ที่รับแคลเซียมเสริมวันละ 4 ครั้งนี้มีมวลกระดูกสูงกว่า และแข็งแรงกว่าลูกที่แม่รับประทานแคลเซียมเสริมวันละ 1 ครั้ง เพราะแคลเซียมช่วง 30-90 นาทีก่อนลูกดูดนมจะเคลื่อนจากกระเพาะอาหารสู่ลำไส้เล็ก เป็นส่วนที่ดูดซึมแคลเซียมมากที่สุด พอดีกับเวลาที่ลูกดูดนม ทำให้แคลเซียมมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ฮอร์โมนนี้ไม่ว่าจะทำให้เกิดผลเสียต่อร่างกายของแม่หรือไม่ แต่ก็เรียกได้ว่า โพรแลคติน คือฮอร์โมนแห่งการเสียสละของแม่โดยแท้จริง

เครดิต: ศาสตราจารย์ ดร.นทีทิพย์ กฤษณามระ หน่วยวิจัยด้านแคลเซียมและกระดูก ภาควิชาสรีรวิทยา

อ่านเพิ่มเติม คลิก!

ความสำคัญของแคลเซียม ต่อทุกคนในครอบครัว

สารอาหารเพื่อสุขภาพแม่ท้อง ดีต่อทารกและคุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์

ท่าให้นมลูกที่ถูกต้อง ช่วยให้ลูกน้อยได้รับน้ำนมอย่างเต็มที่

เรื่องที่คนอ่านมากสุด

keyboard_arrow_up