“ดื่มน้ำมะพร้าวช่วงท้อง แล้วจะดีต่อลูกในครรภ์จริงหรือ” ขณะตั้งครรภ์คุณแม่มักจะได้ยินชื่อสารพัดอาหารที่จะบำรุงครรภ์ได้ จากหลาย ๆ คน หนึ่งในนั้นคงไม่พ้น “น้ำมะพร้าว” เป็นแน่!!
หรือเรียกว่าเป็นเครื่องดื่มสําหรับคนท้องเลยก็ว่าได้ ด้วยสรรพคุณที่ได้ยินกันว่าเป็นน้ำที่สะอาด ดื่มเข้าไปแล้ว จะทำให้ลูกในท้อง เนื้อตัวสะอาด คลอดออกมาแล้วลูกจะผิวสวยสะอาดใส ไม่มีไขมันติดตามตัว
ส่วนประกอบในน้ำมะพร้าว
ในน้ำมะพร้าว มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักอยู่ 90 % และอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น เกลือแร่ โพแทสเซียม เหล็ก โซเดียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ทองแดง กรดอะมิโน กรดอินทรีย์และ วิตามินบี … น้ำมะพร้าวจึงถือได้ว่าเป็นน้ำสะอาดไม่มีการปนเปื้อน เนื่องจากธรรมชาติได้สรรสร้างให้น้ำมะพร้าวถูกห้อหุ้มด้วยกะลาของมะพร้าวอย่างแน่นหนานั่นเอง อีกทั้งในน้ำมะพร้าวยังมีฮอร์โมนคล้ายฮอร์โมนเพศหญิง (เอสโตรเจน) ที่ช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ การจดจำ โดยเฉพาะกับหญิงวัยทอง ถ้าดื่มเป็นประจำจะช่วยปรับสมดุลในร่างกาย ลดอาการวัยทองได้
ประโยชน์ทั่วไปของน้ำมะพร้าว
น้ำมะพร้าว สามารถดื่มเป็นยาระบาย แก้ท้องเสีย ขับปัสสาวะ แก้พิษ แก้นิ่ว บำรุงเส้นเอ็น บำรุงกระดูก มีฤทธิ์เป็นกลาง สามารถขับพยาธิ ร่างกายสามารถดูดซึมกลูโคสจากน้ำมะพร้าวไปใช้ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ร่างกาย เหมาะกับทุกเพศทุกวัย ตั้งแต่ลูกน้อยที่เป็นตัวอ่อนในครรภ์คุณแม่เลยคะ และที่สำคัญค่ะ น้ำมันมะพร้าว ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วนแน่นอน เพราะเป็นไขมันอิ่มตัวชนิดดีที่ไม่มีคอเลสเตอรอลนะคะ
อ่านต่อ >> “ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวต่อคุณแม่และทารก” คลิกหน้า 2
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าวต่อคุณแม่และทารก
ในน้ำมันมะพร้าวประกอบด้วยกรดลอลิก ที่เป็นสารชนิดเดียวกับน้ำนมแม่มากถึง 50% ซึ่งในน้ำนมแม่มีเพียง 18% ทำให้สารอาหารวิเศษเหล่านี้เหมาะสำหรับสร้างภูมิคุ้มกันให้กับคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ตั้งแต่อยู่ในครรภ์กันเลยทีเดียว และไขมันอิ่มตัวที่อยู่ในน้ำมันมะพร้าวจะช่วยในการสร้างเซลส์สมองและร่างกายให้สมบูรณ์ไม่เป็นโรคเอ๋ออีกด้วย
* เป็นสารอาหารสำคัญให้กับแม่และทารกในครรภ์
* เป็นสารสร้างภูมิคุ้มกันจากธรรมชาติแทนวัคซีน
* เสริมสร้างเนื้อเยื่อและเซลส์ของการเติบโตได้ดีของทารก
* ช่วยระบบย่อยของแม่ท้อง ลดอาการท้องผูก และมีสิทธิภาพสูงในการทำความสะอาดลำไส้
* รักษาและบรรเทาอาการริดสีดวงทวารของคุณแม่ระยะตั้งครรภ์
*ช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้ดี สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และบุคคลทั่วไป
*ช่วยเพิ่มการไหลและความถี่ของการปัสสาวะ ดังนั้นประโยชน์ของน้ำมะพร้าวในการล้างสารพิษออกจากร่างกายได้ง่ายดังนั้นการป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
*มีโซเดียม โพแทสเซี่ยมช่วยควบคุมความดันโลหิต และการทำงานของหัวในคุณแม่ตั้งครรภ์ให้เป็นปกติ
*มีแร่ธาตุแมงกานีส ช่วยบำรุงโลหิตและเสริมสร้างกระดูกให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง
*ดื่มน้ำมะพร้าวขณะตั้งครรภ์ ช่วยให้คุณแม่ตั้งครรภ์ มีผิวพรรณสดใสเนื่องจากมีวิตามินซี
* เสริมสร้างสารอาหารให้กับทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จนกระทั่งคุณม่คลอดออกมา และยังเป็นอาหารทางน้ำนมเพิ่มคุณภาพมากขึ้นอีกด้วย
* ใช้เป็นน้ำมันทาตัวเด็กทารก ปลอดภัยเมื่อเข้าปาก แทนออยล์ในการอาบน้ำชนิดอื่น ๆ ได้ดี เพราะมีวิตามินอีธรรมชาติสูง
* ใช้ทาผิวขณะตั้งครรภ์ของคุณแม่และหลังคลอด เพื่อลดการแตกขยายของผิว ปลอดภัยกว่าโลชั่นที่มีการผสมกลิ่นน้ำหอม
>> ไขข้อสงสัย…แม่ท้องดื่มน้ำมะพร้าว ช่วยให้ลูกผิวดีจริงหรือไม่? (มีคลิป) คลิกหน้า 3
ดื่มน้ำมะพร้าว ลูกในท้องตัวสะอาดจริงหรือ?
ในน้ำมะพร้าวมีกรดไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันอิ่มตัวก็มี มีทั้งสองอย่าง ซึ่งเป็นข้อดี เพราะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ดื่มน้ำมะพร้าว จะทำให้การสร้างไขตัวเด็กได้สีค่อนข้างขาว เลยอาจจะดูว่าเด็กออกมาตัวสะอาด คงไม่ใช่ออกมาแล้วเด็กไม่มีไข
ซึ่งจริงๆ แล้วไขตัวเด็กนี้มีประโยชน์มาก เพราะจะทำให้เด็กคลอดง่าย ฉะนั้นคุณแม่ที่ดื่ม น้ำมะพร้าวบ่อยๆ อาจจะทำให้ไขตัวเด็กมากกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพียงแต่สีจะสะอาด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องน่ากังวลอะไร เนื่องจากเป็นธรรมชาติที่เด็กต้องมีไขมันห่อหุ้มตัว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจากอุณหภูมิจากภายนอกด้วย
น้ำมะพร้าว ดีต่อคนท้องอย่างไร?
ขอบคุณคลิปวีดีโอจาก : Force8949
ทว่า มีข้อควรระวังอยู่บ้างกับคุณแม่ ที่มีภาวะโรคเบาหวาน เพราะในน้ำมะพร้าว มีความหวาน อาจทำให้มีน้ำตาลในเลือดมากกว่าปกติ ที่ทำให้เกิดภาวะความเสี่ยงต่าง ๆ ได้ ฉะนั้น แนะนำว่า ควรกินแต่พอดี กินอาหารอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความหลากหลาย ครบถ้วนหมวดหมู่ และอยู่ภายใต้การดูแลของคุณหมอ เป็นดีที่สุดค่ะ
อาหารทุกชนิดถึงแม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่ก็ต้องมีข้อยกเว้น อย่างคนเป็นโรคไต โรคเบาหวานไม่ควรดื่มมาก และการซื้อน้ำมะพร้าวดื่ม ควรเลือกน้ำมะพร้าวอ่อนเป็นลูก ไม่ควรซื้อที่บรรจุขวดขาย ถ้าไม่แน่ใจในความสะอาด และสารฟอกขาวต่างๆ ที่สามารถฉีดใส่เข้าไปได้ (ส่วนมากพบในมะพร้าวเผา)
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท) , app.pixilla.co.th
อ้างอิงข้อมูลจาก : วรรณะสมุนไพร