AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

คุณแม่ท้อง ก็ขาดสารอาหาร ได้นะ

เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ส่วนใหญ่มักจะบำรุงร่างกายกันเต็มที่ แต่รู้ไหมคะว่า…แม่ท้องก็ขาดสารอาหารได้นะ เพราะบางคนกินไม่ถูกวิธี กินน้อย กลัวอ้วน หรืออื่นๆ ดังนั้น มาดูกันว่า แม่ท้อง ขาดสารอาหาร ได้อย่างไร

แม่ท้อง ขาดสารอาหาร ได้อย่างไร

 

ภาวะขาดสารอาหารคืออะไร

คือ ภาวะที่เกิดจากร่างกายไม่ได้รับวิตามิน เกลือแร่ หรือสารอาหารอื่น ๆ เพียงพอต่อการทํางานของร่างกายที่จะทําให้ร่างกายแข็งแรงเป็นปกติสุข อาจจะเกิดจากการรับประทานอาหารไม่เพียงพอ มีปัญหาการย่อย การดูดซึมอาหาร หรือปัญหาทางการแพทย์อื่น ๆ

สาเหตุสําคัญที่ แม่ท้อง ขาดสารอาหาร

  1. ขาดสารอาหารมาตั้งแต่ก่อนท้อง

2. รับประทานอาหารได้ไม่เพียงพอ สาเหตุจากความยากจน อาหารมีราคาแพง การขาดแคลนอาหารในท้องถิ่นแพ้ท้อง ท้องอืด แน่นและจากสาเหตุอื่น ๆ

3. รับประทานอาหารไม่ถูกวิธี เช่น กิน ข้าวขัดขาวทําให้ขาดวิตามิน รับประทานอาหารไม่ครบหมู่ ไม่รับประทานผักผลไม้ เป็นต้น

4. มีโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ท้องเสียตกเลือดมากโรคกระเพาะลําไส้อักเสบโรคพยาธิลําไส้แพ้อาหาร โรคตับ โรคไต โรคถุงน้ําดี โรคเบาหวาน โรคเอดส์ โรคมะเร็ง โรคเรื้อรังอื่น ๆ ติดเหล้า ติดบุหรี่ติดยาเสพติด นอนบนเตียงในโรงพยาบาลนาน ๆ ได้รับการผ่าตัด กระเพาะ ลําไส้ฯลฯ

5. มีความเชื่อเรื่องการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง เช่น กลัวอ้วนหลังคลอด ไม่รับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ เพราะกลัวลูกจะโตคลอดยาก คนบางกลุ่มมีความเชื่อว่าหากกินไข่เด็กที่คลอดออกมาจะลักเล็กขโมยน้อย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม ผลเสียเมื่อแม่ท้องขาดสารอาหาร คลิกต่อหน้า 2

 

ผลเสียจากการขาดสารอาหารของแม่ท้อง ที่มีต่อแม่และลูกในครรภ์

  1. แม่ท้องมีอาการปากแห้งเจ็บปากเจ็บลิ้นเป็นแผลมุมปากแผลในปากและลิ้นโลหิตจาง อ่อนเพลีย ตาฝ้าฟางหน้ามืดเป็นลมใจสั่นกินไม่ได้นอนไม่หลับวิตกกังวลไม่มีสมาธิ กล้ามเนื้ออ่อนแรงกล้ามเนื้อกระตุกต่อมไทรอยด์โตเกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุล

2. แม่ท้องอาจมีเลือดออกผิดปกติในขณะตั้งครรภ์ก่อนคลอดและหลังคลอดจากรกเกาะต่ำ หรือรกลอกตัวก่อนกําหนด

3. ทารกในครรภ์แท้ง คลอดก่อนกําหนด เสียชีวิตในครรภ์ หรือเสียชีวิตหลังคลอด

4. ทารกตัวเล็กกว่าอายุครรภ์อาจมีปัญหาการพัฒนาของสมองทารกโดยเฉพาะการขาดสารอาหารของแม่ท้องในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

5. น้ำนมแม่หลังคลอดมีน้อยไม่เพียงพอต่อการเลี้ยงลูก

จะเห็นแล้วว่าการได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอไม่ได้หมายความว่าอดอาหารเพียงอย่างเดียวแต่รวมไปถึงการมีความเชื่อที่ผิดๆ หรือการมีลักษณะนิสัยการกินที่ไม่ถูกต้องมา แต่เดิมย่อมส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราและลูกได้เช่นกันค่ะ

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ติดตาม วิธีการตรวจวัดภาวะการขาดสารอาหารในแม่ท้อง คลิกต่อหน้า 3

ชวนแม่ท้อง! ตรวจวัดการขาดสารอาหาร

วิธีการตรวจวัดภาวะขาดสารอาหารในแม่ท้องมีหลายวิธี ได้แก่

แต่วิธีที่ง่ายสะดวกและเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดคือการหาค่าดัชนีมวลกายเพื่อดูน้ำหนักตัวควรขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ดังนี้

น้ำหนักตัวแม่ท้องควรขึ้นเท่าไร?

ดัชนีมวลกาย(BMI) =   น้ำหนักคุณแม่ (กก.) หาร/ ความสูง (เมตร2)

ยกตัวอย่างการคำนวณ สมมุติว่าคุณแม่หนัก 50 กก. และสูง 165 ซม.
ก่อนอื่นต้องแปลงส่วนสูงเป็นเมตรก่อนค่ะ
โดย 165 ซม. เท่ากับ 1.65 เมตร
ก็นำค่ามาเทียบในสูตรข้างต้นได้เลย

= 50 / (1.65 x 1.65)
= 50 / 2.72
= 18.38

ค่า BMI ของคุณแม่ก็จะเท่ากับ 18.38 นั่นเองค่ะ

เมื่อคุณแม่คำนวณแล้ว มาดูกันค่ะว่าน้ำหนักตัวคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์เป็นอย่างไร และคุณแม่ควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเท่าไรตลอดการตั้งครรภ์ ?

ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 12.5 – 18 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.51 กิโลกรัม

ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 11.5 – 16 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.42 กิโลกรัม

ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 7 – 11.5 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.28 กิโลกรัม

ควรมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 5 – 9 กก. เฉลี่ยสัปดาห์ละ 0.22 กิโลกรัม

เท่านี้คุณแม่ก็จะไม่ขาดสารอาหารแถมยังมีน้ำหนักตัวขึ้นได้ตามมาตรฐาน สุขภาพทั้งของคุณแม่และลูกน้อยก็จะแข็งแรงดี ส่งผลต่อพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในอนาคตอีกด้วยค่ะ

อ่านต่อบทความที่น่าสนใจ

สารอาหารเพื่อสุขภาพแม่ท้อง ดีต่อทารกและคุณแม่ตลอดการตั้งครรภ์

อาหาร+อารมณ์แม่ท้อง พัฒนาสมองลูกน้อยช่วงไตรมาสแรก

ดื่มนมสำหรับแม่ท้องทำให้ลูกแพ้นมวัวจริงหรือ?

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids