จริงหรือไม่? สาเหตุที่ ลูกกระดูกเปราะ แต่กำเนิด เพราะแม่ท้องกินอาหารที่มีแต่ผงชูรส! Amarin baby & kids ขอนำเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ เพื่อหาข้อเท็จจริง การที่แม่ท้องชอบทานอาหารที่มีผงชูรสเป็นประจำ จะทำให้ลูกเป็นโรคกระดูกเปราะจริงหรือไม่ มาฟังข้อเท็จจริงจากคุณหมอกันค่ะ
ไขข้อเท็จจริง! ลูกกระดูกเปราะ แต่กำเนิด เพราะแม่ท้องกินอาหารที่มีแต่ผงชูรสจริงหรือ?
จากกรณีข่าวในเว็บไซต์ mthai.com รายงานว่า น้องหิน อายุ 5 ขวบ ป่วยเป็น “โรคกระดูกเปราะ” หรือ “โรคกระดูกพรุน” ตั้งแต่กำเนิด โดยตอนที่น้องหินยังเป็นเด็กทารกนั้น ไม่มีใครสามารถจับตัวน้องได้เลย อุ้มให้นมก็ไม่ได้ จับอาบน้ำก็ไม่ได้ เพราะจับทีไร น้องกระดูกหักทุกที แม้แต่นอนพลิกตัวยังไม่ได้ ต้องทนทรมานกับอาการกระดูกหักตลอดเวลา และเมื่อกระดูกหักก็ต้องเข้าเฝือกครึ่งตัวทุกครั้งไป
คุณแม่ของน้องหินเล่าว่า คุณหมอบอกว่าโรคนี้เกิดจากร่างกายขาดแคลเซียมอย่างหนัก ซึ่งมีผลพวงมาจากกรรมพันธุ์ แต่คุณแม่คิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะครอบครัวทั้งสองฝั่งไม่เคยมีใครเป็นโรคนี้มาก่อน
เธอคิดว่าน่าจะเป็นเพราะ เธอชอบทานอาหารและขนมที่มีส่วนผสมของชูรสมากมาตลอด ไม่เว้นแม่แต่ในช่วงตั้งครรภ์ ซึ่งคุณหมอที่ดูแลครรภ์ก็เตือนอยู่เสมอว่าให้หยุดทานอาหารจำพวกนี้ เพราะอาจมีผลต่อลูกในครรภ์ได้
แต่ด้วยในขณะนั้นคุณแม่น้องหินยังเป็นเป็นวัยรุ่นจึงไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จนเมื่อน้องหินคลอดออกมา และมีอาการดังกล่าว จึงเชื่อว่า “ลูกต้องมารับกรรมเพราะการกระทำของตนเอง”
⇒ Must read : คนท้องกิน บะหมี่กึ่งสําเร็จรูป ปลอดภัยไหม?
…สำหรับสาเหตุของโรคกระดูกเปราะหรือกระดูกผิดรูปแต่กำเนิดนั้นเกิดจากอะไร เกี่ยวกับผงชูรสหรือไม่ และแม่ท้องควรดูแลตัวเองอย่างไร ไปฟังคำอธิบายจากนายแพทย์ เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูตินรีแพทย์กันค่ะ
อ่านต่อ >> “สาเหตุของโรคกระดูกเปราะหรือกระดูกผิดรูปแต่กำเนิด” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
สาเหตุของอาการกระดูกเปราะหรือกระดูกผิดรูป
โรคกระดูกผิดรูปแต่กำเนิด เป็นความผิดปกติที่มีกระดูกเปราะและหักได้ง่าย มีความหลากหลายในการแสดงออกของโรคมาก บางชนิดรุนแรงจนทำให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ บางชนิดทำให้กระดูกผิดรูป มีความพิการเกิดขึ้น บางชนิดจะแสดงอาการเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ โรคนี้เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม เช่น พบมีการกลายพันธุ์ของยีนที่สร้างสารคอลลาเจน ชนิดที่ 1 หรือโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูกและกระดูกอ่อนเป็นต้น ไม่ได้เกิดจากการรับประทานแคลเซียมน้อย หรือรับประทานผงชูรสที่มากเกินไป หรือได้รับสารอาหารชนิดต่างๆ ที่ไม่เพียงพอ โรคนี้สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมภายในครอบครัวได้ หรืออาจเกิดขึ้นใหม่เป็นคนแรกในครอบครัวก็ได้
ลักษณะที่จำเพาะคือมีกระดูกแขน ขา ผิดรูปตั้งแต่กำเนิด มีกระดูกหักตั้งแต่ทารกอยู่ในครรภ์ กระดูกเปราะ เมื่อมีการกล้ามเนื้อหดรัดตัวอาจทำให้กระดูกหักเองได้ง่าย เด็กตัวเตี้ย อาจพบกระดูกซี่โครงหัก กะโหลกศีรษะนุ่ม หูหนวก ข้อหลวม กระดูกสันหลังโค้งงอได้
ซึ่งโรคนี้จะเป็นตลอดชีวิต ยังไม่มีการรักษาที่หายขาด แต่การรักษามุ่งเน้นป้องกันกระดูกหัก เพิ่มการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย คอยรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ให้ออกกำลังกาย ทำกายภาพบำบัด อาจใช้ยาเพื่อเพิ่มมวลกระดูก และติดตามการรักษาต่อไป
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์
สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ ควรรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วน ฝากครรภ์ตามนัด โดยทั่วไปจะมีการตรวจคัดกรองทารกในครรภ์ ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อค้นหาความผิดปกติต่างๆในช่วงอายุครรภ์ 18-20 สัปดาห์
สำหรับโรคกระดูกผิดรูปบางชนิดจะแสดงความผิดปกติช้า จึงจำเป็นต้องตรวจคัดกรองซ้ำอีกครั้งหนึ่งช่วงอายุครรภ์ 28-32 สัปดาห์ ในรายที่น่าสงสัยอาจส่งตรวจเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่อไป
อ่านต่อ >> “อาหารที่ทำให้กระดูกเปราะบางได้” คลิกหน้า 3
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ “คลิก!
- สภากาชาดไทยโพสต์เตือน! ไม่อยากให้ลูกพิการตั้งแต่ในครรภ์..แม่ท้องอย่าขาดโฟลิก
- พัฒนาการ แขน ขา ลูกน้อยในครรภ์
- รู้จัก โรคกระดูกอ่อน ในเด็กพร้อมสาเหตุและวิธีป้องกัน
ขอบคุณข้อมูลข่าวและภาพจาก ชัยพัฒน์ แกล้วทนงค์ รายงาน / ถ่ายภาพ http://news.mthai.com/hot-news/general-news/461641.html
ขอบคุณข้อมูลจาก : นายแพทย์ เมธาพันธ์ กิจพรธีรานันท์ สูตินรีแพทย์
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
อาหารที่ทำให้พ่อแม่และลูกกระดูกเปราะบางได้
อย่างไรก็ดีกระดูกเป็นอวัยวะที่มีการสร้างและทำลายตลอดเวลาในมวลกระดูก คือ มีการสลายกระดูกในรูปแคลเซียมออกมาสู่เลือด ขณะเดียวกันก็มีการสร้างกระดูกใหม่ โดยใช้แคลเซียมจากอาหารที่รับประทานเข้าไปปะปนอยู่ในเลือดมาสร้าง ทำให้ได้มวลกระดูกใหม่เกิดขึ้น
ส่วนมวลกระดูกเก่า (แคลเซียม) จะถูกขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะวันละ 200 มิลลิกรัม และทางอุจจาระวันละ 800-900 มิลลิกรัม รวมแล้วร่างกายจะเสียแคลเซียมวันละ 800-1000 มิลลิกรัม โดยที่คุณพ่อคุรแม่จะต้องคอยจัดหาแคลเซียมเข้ามาเติมทางอาหารของลูกน้อยให้อยู่ในภาวะสมดุล
มิฉะนั้นร่างกายจะดึงแคลเซียมจากกระดูกมาตลอดเวลา เป็นผลให้กระดูกถูกสลายเพิ่มมากกว่าการสร้างกระดูก ท้ายสุดมวลกระดูกจะบางลงซึ่งมวลกระดูกนั้น ประกอบด้วย เกลือแร่ ที่มีมากที่สุดคือ ธาตุแคลเซียม ถ้าแคลเซียมน้อยลงจะมีผลให้กระดูกอ่อนแอและเกิดหักง่ายหรือพิการได้
การทำให้กระดูกแข็งแรงนั้น แนะนำให้ควรเริ่มตั้งแต่ก่อนวัยเจริญพันธุ์ ในวัยช่วง 18-20 ปี โดยธรรมชาติร่างกายจะพยายามเก็บเนื้อกระดูกให้มากที่สุด หากรู้จักวิธีเพิ่มมวลกระดูกได้ในวัยนี้ จะเป็นผู้ที่มีมวลกระดูกมาก และเป็นการป้องกันกระดูกพรุนในวัยสูงอายุได้อย่างดี แต่หากพ้นวัยนี้แล้ว โอกาสเพิ่มมวลกระดูกเพื่อการสะสมจะไม่มี แต่ต้องรักษามวลกระดูกที่มีอยู่ไม่ให้ลดไปจากเดิม ซึ่งปล่อยให้แคลเซียมหลุดไปจากกระดูก ก็จะทำให้กระดูกบางลงและหักง่ายในที่สุด
สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งเสริมให้เกิดภาวะกระดูกโปร่งบาง ได้แก่
– เนื้อวัว
– อาหารเค็มจัด
– สุรา กาแฟ
– การรับประทานยาบางชนิดเป็นเวลานานๆ เช่น ยากล่อมประสาท ยาที่มีสารสเตียรอยด์ ยาสารกัมมันตภาพรังสี ยารักษาโรคธัยรอยด์ ยาลดกรดที่มีอลูมิเนียมเป็นส่วนประกอบ เป็นต้น
แม้ว่าการบริโภคผงชูรสจะไม่ได้เจาะจงว่า ทารกที่เกิดมาจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกเปราะ หรือโรคกระดูกผิดรูปแต่กำเนิด ตัวคุณแม่ท้องเองหากหลีกเลี่ยงได้ก็ไม่ควรบริโภคผงชูรสมากเกินไป เพื่อป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้กับตัวคุณแม่เองและทารกในครรภ์
อ่านต่อ “บทความน่าสนใจ “คลิก!
- อาหาร ขยะ ภัยร้ายทำลายสมองลูกไอคิวต่ำ !!
- 14 อาหารห้าม! ทำลายสมองลูก
- 10 ยาอันตรายต่อลูก! ไม่ช่วยรักษาแถมยังทำร้ายลูกน้อย
ขอบคุณบทความจาก รศ.นพ. กีรติ เจริญชลวานิช ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิคส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล