โดยทั่วไปอาหารที่เรารับประทานตามปกติ หากทานได้ครบ 5 หมู่ ก็เพียงพอต่อการบำรุงครรภ์แล้วค่ะ ส่วนคุณแม่ท้องบางท่าน หากต้องการยาบำรุงครรภ์เพิ่มเติม เนื่องจากแพ้ท้อง ทานอาหารไม่ค่อยได้ จากหลักฐานทางการแพทย์ยาที่รับประทานแล้วสามารถป้องกันโรคบางโรคได้ และแนะนำให้ทานเสริม
Pregnancy 0-13 Weeks
“คุณแม่ทั้งหลายคะ…. เริ่มกินยาบำรุงครรภ์หรือวิตามินต่างๆ ตอนท้องได้กี่สัปดาห์คะ?”
จาก คุณ monobean กระทู้ pantip.com/topic/30873978
“อยากทราบว่าคุณหมอสั่งจ่ายยาบำรุงให้เลยหรือว่าต้องซื้อเอง และยาหรือวิตามินแต่ละตัวใช้กันในช่วงไหน .. ตอนนี้อยู่ต่างประเทศ (เยอรมัน)เราอายุ 32 กำลังท้องแรกเข้าสู่เดือนที่สอง ไม่มีประสบการณ์เรื่องนี้มาก่อน ได้ยินว่าที่คุณแม่กินยาบำรุงกันมากมาย แต่คุณหมอที่นี่ไม่แนะนำสักอย่างค่ะ ตอนนี้กังวลมากแถวนี้ก็ไม่มีใคร บ้านอยู่กลางป่าด้วย แถมในท้องนี่ก็อาจจะเป็นแฝด ..รบกวนคุณป้า คุณน้า และพี่ๆ น้องที่นี่ช่วยแนะนำด้วยค่ะ เดือนหน้าเพื่อนจากไทยจะแวะมาเที่ยวพอดี จะได้ฝากเพื่อนซื้อจากเมืองไทยบ้านเราเพื่อความอุ่นใจ”
โดยทั่วไป อาหารที่เรารับประทานตามปกติ หากทานได้ครบ 5 หมู่ ก็เพียงพอต่อการบำรุงครรภ์แล้วค่ะ ส่วนคุณแม่บางท่าน หากต้องการยาบำรุงครรภ์เพิ่มเติม เนื่องจากแพ้ท้อง ทานอาหารไม่ค่อยได้ จากหลักฐานทางการแพทย์ยาที่รับประทานแล้วสามารถป้องกันโรคบางโรคได้ และแนะนำให้ทานเสริม ได้แก่
- วิตามินโฟลิค600 ไมโครกรัมต่อวัน
- แคลเซียม 1000 มิลลิกรัมต่อวัน
- ธาตุเหล็ก 27 มิลลิกรัมต่อวัน(หากเป็นครรภ์แฝด หรือมารดามีภาวะโลหิตจาง หรือตัวใหญ่ อาจต้องการปริมาณมากถึง 60-100 มิลลิกรัมต่อวัน)
- ไอโอดีน 220 มิลลิกรัมต่อวัน
- วิตามินดี 15 ไมโครกรัมต่อวัน (เฉพาะคนที่อยู่ต่างประเทศ และไม่ค่อยได้สัมผัสกับแสงแดด)
ส่วนใหญ่ ยาเม็ดวิตามินที่ขายตามท้องตลาด ก็มักจะปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของลักษณะผู้ใช้อยู่แล้วค่ะ และส่วนใหญ่ ไม่ต้องใช้ใบสั่งยาจากแพทย์ ก็สามารถหาซื้อได้กับเภสัชกรโดยตรง แต่ที่ต้องระมัดระวังคือ การรับประทานยาบางอย่างมากเกินไปอาจมีผลเสียได้ เช่น วิตามินเอ ไม่ควรเกิน 10,000 IU ต่อวันเพราะอาจมีผลต่อทารกครรภ์ผิดปกติได้ วิตามินซีที่มากเกิน 90 มิลลิกรัมต่อวัน อาจทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินบี 12 ได้ เป็นต้น
อ่านต่อ แม่ท้องเตรียมพร้อมบำรุงความแข็งแรงของลูกในครรภ์ หน้า 2
Pregnancy 14-27 Weeks
“ท้องได้5เดือนแล้ว ควรบำรุงครรภ์ยังไง หรือควรดื่มนมบำรุงครรภ์ยี่ห้ออะไรดีคะ?”
จากสมาชิกหมายเลข 1426884 กระทู้ pantip.com/topic/32173565
“สวัสดีคะคือมีเรื่องอยากจะถามว่าท้องได้5เดือนแล้ววันนี้เพิ่งกลับบ้านมาเยี่ยมแม่ที่ตจว. พอชาวบ้านเห็นว่าท้องเขาก็เลยถามดิชั้นว่าดื่มนมบำรุงครรภ์ของอะไร เลยตอบไปว่าไม่ได้ดื่มเขาถามกันว่าทำไมไม่ดื่ม ต้องดื่มนะ คือท้องแรกและไม่ได้อยู่กับผู้ใหญ่เลยไม่รู้ว่าต้องทำไงบ้าง ตอนไปฝากท้องหมอก็ให้แค่ยาบำรุงเลือดกับแคลเซียม จึงกินแค่นั้นและเน้นไปทางเรื่องอาหารการกินแทน ประเด็นหลักเลยอยากถามว่าจำเป็นต้องกินนมบำรุงครรภ์ไหมคะ ?ถ้าจำเป็นยี่ห้ออะไรถึงจะดีสุดคะ?”
หญิงตั้งครรภ์โดยทั่วไป ในช่วงครึ่งหลังของการตั้งครรภ์ ควรได้รับยาบำรุงเลือด(ธาตุเหล็ก) อย่างน้อยวันละ 27 มิลลิกรัมต่อวัน (ประมาณวันละหนึ่งเม็ดของยาบำรุงเลือดที่ขายโดยทั่วไปตามท้องตลาด) แต่หากมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หรือเป็นครรภ์แฝด ก็ควรได้รับมากกว่านี้ค่ะ
แคลเซียม โดยทั่วไปมีในอาหารอยู่แล้ว เช่น ในนมสด ปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้ง เต้าหู้อ่อน ผักคะน้า ไข่แดง เป็นต้น แนะนำให้ทานเสริม อย่างน้อยวันละ 1000 มิลลิกรัมวัน (หรือประมาณวันละหนึ่งเม็ดของยาแคลเซียมที่ขายโดยทั่วไป) โดยไม่จำเป็นต้องดื่มนมผงบำรุงครรภ์สำหรับคนที่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะ หรือดื่มนมสดมากๆ เพราะกลัวจะไม่พอต่อความต้องการของลูกอีก ทั้งนี้ การเพิ่มการดื่มนมผง หรือนมสดมากๆ ตอนช่วงที่ตั้งครรภ์ เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกแพ้นมวัวหลังคลอดได้ค่ะ
Pregnancy 28-41 Weeks
“ระหว่าง1-9เดือน คุณแม่ต้องทำอะไรบ้างระหว่างตั้งครรภ์?”
จากสมาชิกหมายเลข 853008กระทู้pantip.com/topic/30574441
“… อยากทราบเผื่อเป็นข้อมูลในกับคุณแม่มือใหม่ค่ะคุณหมอเขามีตรวจพวก ธาลัสซีเมีย ปากแหว่งเพดานโหว่ หรือดาวน์ซินโดรมแล้วเขามีตรวจว่าเด็กตาบอดหูหนวกเป็นใบ้หรือเปล่าคะ?”
หากคุณแม่ต้องการตรวจความสมบูรณ์ด้านอวัยวะทางร่างกายของลูกในครรภ์ สามารถตรวจได้โดยการอัลตราซาวน์ โดยแนะนำให้ทำในช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ โดยสามารถตรวจในเรื่องโครงสร้างของร่างกายทารกได้ แต่ด้านการทำงานของอวัยวะ เช่น ตาบอด หูหนวก พัฒนาการทางด้านสมอง อาจประเมินได้ยากในขณะที่ทารกยังอยู่ในครรภ์ เมื่อทารกคลอดแล้ว โรงพยาบาลส่วนใหญ่ มักมีการตรวจการมองเห็นและการได้ยินของทารกโดยกุมารแพทย์ค่ะ
ส่วนโรคธาลัสซีเมีย เนื่องจากเป็นโรคเลือดจางที่พบได้บ่อยในคนไทย ดังนั้น นโยบายการฝากครรภ์จะมีการตรวจคัดกรองพาหะโรคธาลัสซีเมียให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนที่ฝากครรภ์อยู่แล้ว ทั้งนี้ หากพบว่าหญิงตั้งครรภ์และสามีเป็นพาหะที่เป็นคู่เสี่ยงที่จะมีทารกเป็นโรคนี้ ก็จะแนะนำให้มีการตรวจทารกในครรภ์ต่อ หากอายุครรภ์ทารกยังไม่เกินหกเดือน โดยการเจาะน้ำคร่ำหรือเจาะเลือดสายสะดือของทารกในครรภ์ เป็นต้น
อ่านต่อ แม่ท้องเตรียมพร้อมบำรุงความแข็งแรงของลูกในครรภ์ หน้า 3
เรื่องโครโมโซมของทารกในครรภ์ที่ผิดปกติ ที่พบบ่อย ส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มอาการดาวน์ ซึ่งคุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปี มักได้รับคำแนะนำให้เจาะน้ำคร่ำตรวจโครโมโซม ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการแท้งได้ 1 ใน 200 ราย แต่คุณแม่ที่อายุไม่ถึง 35 ปี หรือไม่ต้องการเสี่ยงแท้งจากการเจาะน้ำคร่ำ ก็สามารถตรวจคัดกรองได้ โดยอาจแบ่งคร่าวๆ เป็นการตรวจคัดกรองด้วยฮอร์โมนหรือการตรวจดู DNA ของทารกในเลือดมารดา การตรวจคัดกรองนี้สามารถสอบถามกับแพทย์ที่ฝากครรภ์ได้โดยตรงค่ะ
กลุ่มคุณแม่ที่ควรได้รับการตรวจอัลตราซาวน์ทารกในครรภ์เป็นพิเศษ ได้แก่
- คุณแม่ที่มีประวัติครอบครัวหรือครรภ์ก่อนเป็นโรคทางพันธุกรรม เช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ โรคหัวใจ
- คุณแม่ที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น เบาหวานโรคหัวใจ อ้วน ลมชัก
- รับประทานยาบางอย่างหรือสารเสพติดที่อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ เช่น ยาลดความดันบางชนิด ยารักษาสิวบางชนิด ดื่มเหล้า ยาม้า
- คุณแม่ที่อายุมากกว่า 35 ปีขึ้นไป
พญ. ธิตินันท์ ตัณสถิตย์ แพทย์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานสูตินรีเวชศาสตร์ อนุสาขาเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์โรงพยาบาลราชวิถี และที่ปรึกษา About Us Advanced Maternity Center
ภาพ shutterstock