ปัญหาลูกเบื่ออาหาร ทานข้าวยาก มักเป็นปัญหาอันดับต้นๆที่คุณพ่อคุณแม่หลายๆ บ้านต้องรับมือ เมื่อลูกเริ่มเข้าสู่ช่วงวัย 1-5 ขวบ จะสังเกตได้ว่าเด็กบางคนจะเริ่มเลือกรับประทานอาหารบางอย่าง, รับประทานอาหารยากขึ้น/ปฎิเสธอาหาร หรือ ห่วงเล่น และให้ความสนใจกับกิจกรรมอื่นมากกว่าการรับประทานอาหาร ทำให้เสี่ยงต่อการขาดสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งส่งผลให้พัฒนาการทางด้านร่างกายและการเจริญเติบโตช้าลง สร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่เป็นอย่างมาก
“ไลซีน (Lysine)” คือหนึ่งในสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญสำหรับสุขภาพและการเจริญเติบโตของลูกน้อย ที่คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่อาจยังไม่คุ้นเคย Lysine เป็นกรดอะมิโนในกลุ่มที่จำเป็น เนื่องจากร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง ต้องได้รับจากการรับประทานอาหารเท่านั้น โดยอาหารที่เป็นแหล่งของ Lysine นั้น ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ไข่ ส่วนในข้าวจะพบ Lysine อยู่น้อยมาก
ประโยชน์ของ ไลซีน ต่อสุขภาพลูกน้อยนั้น มีดังนี้…
- เพิ่มความอยากอาหาร ในกรณีที่เด็กขาดโปรตีน การเสริมไลซีนอาจช่วยเพิ่มความอยากอาหาร จากกลไกการลดระดับฮอร์โมนบางชนิด ส่งผลให้รับประทานอาหาร เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ลูกน้อยกินอาหารได้มากขึ้น
- เพิ่มการเผาผลาญ ไลซีนเป็นสารตั้งต้นของแอล-คาร์นิทีน ซึ่งเป็นตัวพากรดไขมันเข้าสู่กระบวนการเผาผลาญ ให้ได้พลังงานสำหรับร่างกาย หากขาด Lysine ไป ก็อาจส่งผลให้เด็กๆมีการผลิตพลังงานใช้ในกิจกรรมและพัฒนาการต่างๆได้ลดน้อยลง
- เสริมสร้างกล้ามเนื้อ และโปรตีนต่างๆภายในร่างกาย ทำให้ลูกน้อยเจริญเติบโตได้เต็มศักยภาพ
- ช่วยส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน ไลซีนช่วยเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาว ที่ทำหน้าที่กำจัดเชื้อโรค และเพิ่มระดับของ Antibody ต่างๆ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเพิ่มขึ้น การติดเชื้อลดลง ลดโอกาสในการเจ็บป่วยของลูกน้อยได้อีกด้วย
- ช่วยดูดซึมแคลเซี่ยม มีผลช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงและพัฒนาการของกระดูก
ในเด็กเล็กจะมีความต้องการไลซีน มากกว่าในผู้ใหญ่ ดังนั้นการเสริมไลซีนให้เด็กที่รับประทานอาหารประเภทโปรตีนน้อย หรือมีภาวะ ขาดไลซีน จะช่วยให้เด็กเจริญอาหารรับประทานได้มากขึ้น รมทั้งช่วยให้การพัฒนาการและการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าไลซีนจะมีความสำคัญต่อลูกน้อย พ่อแม่เองก็ต้องให้ลูกได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ อย่างเพียงพอ พร้อมทั้งให้ลูกได้เล่นและทำกิจกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย และสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง
ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sevenseasthailand.com
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ผศ. ดร. เอกราช บำรุงพืชน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ
เอกสารอ้างอิง
Albanese AA, Higgons RA, Hyde GM, Orto L. Biochemical and Nutritional Effects of Lysine-Reinforced Diets. Am J Clin Nutr. 1955;3(2):121-8.
Azzarà A, Carulli G, Sbrana S, Rizzuti-Gullaci A, Minnucci S, Natale M, Ambrogi F. Effects of lysine-arginine association on immune functions in patients with recurrent infections. Drugs Exp Clin Res. 1995;21(2):71-8.
Civitelli R, Villareal DT, Agnusdei D, Nardi P, Avioli LV, Gennari C. Dietary L-lysine and calcium metabolism in humans. Nutrition. 1992;8(6):400-5.
Ghosh S, Smriga M, Vuvor F, Suri D, Mohammed H, Armah SM, Scrimshaw NS. Effect of lysine supplementation on health and morbidity in subjects belonging to poor peri-urban households in Accra, Ghana. Am J Clin Nutr. 2010;92(4):928-39.
Hussain T, Abbas S, Khan MA, Scrimshaw NS. Lysine fortification of wheat flour improves selected indices of the nutritional status of predominantly cereal-eating families in Pakistan. Food Nutr Bull. 2004;25:114-122.
Pereira SM, Begum A, Jesudian G, Sundararaj R. Lysine-supplemented wheat and growth of preschool children. Am J Clin Nutr. 1969;22(5):606-11.
Tsurugizawa T, Uematsu A, Uneyama H, Torii K. Reversible brain response to an intragastric load of L-lysine under L-lysine depletion in conscious rats. Br J Nutr. 2013;109(7):1323-9.
Yang QQ, Suen PK, Zhang CQ, Mak WS, Gu MH, Liu QQ, Sun SS. Improved growth performance, food efficiency, and lysine availability in growing rats fed with lysine-biofortified rice. Sci Rep. 2017;7(1):1389.
Zhao W,Zhai F, Zhang D, An Y, Liu Y, et al. Lysine-fortified wheat flour improves the nutritional and immunological status of wheat-eating families in northern China. Food Nutr Bull. 2004;25:123-129.