แม่ ๆ สุดกลุ้ม ลูกอมข้าว ทำอย่างไรดี พยายามทุกทางก็ไม่ยอมกิน Amarin Baby and Kids มีวิธีแก้ปัญหา ลูกอมข้าว มาฝากค่ะ
แม่จ๋า อย่ากลุ้มใจ ลูกอมข้าว แก้ไขได้!
คุณแม่ทราบไหมคะว่า ปัญหาที่จะพบบ่อยได้มากที่สุดในช่วงที่ลูกมีอายุระหว่าง 1 – 5 ปีคืออะไร? ถูกต้องแล้วละค่ะ “ลูกชอบอมข้าว” นั่นเอง แต่เอ … สาเหตุที่ลูกชอบอมข้าวเป็นเพราะอะไร แล้วจะมีวิธีแก้ไขอะไรได้บ้างนั้น ไม่ต้องกังวลไปค่ะ เพราะวันนี้ทีมงาน Amarin Baby and Kids ได้เตรียมข้อมูลดี ๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ทุก ๆ คนแล้วละค่ะ
แต่ก่อนที่เราจะไปดูวิธีแก้ไขกันนั้น เรามาดูถึงสาเหตุที่ทำไมลูกน้อยของเราถึงชอบที่จะอมข้าวกันก่อนนะคะ ซึ่งสาเหตุใหญ่ ๆ ก็มีดังต่อไปนี้ค่ะ
ลูกอมข้าว เพราะอะไร?
- เริ่มต่อต้าน เมื่อไรก็ตามที่ลูกรู้สึกว่าถูกบังคับขู่เข็นละก็ ยกตัวอย่างเช่น เคี่ยวเข็ญให้ลูกทานข้าว การกระทำเช่นนี้จะทำให้พวกเขาจะรู้สึกว่าช่วงเวลานั้นเป็นเวลาที่แสนน่าเบื่อและทำไปก็ไม่มีความสุข จึงแสดงออกมาด้วยการต่อต้าน
- บรรยากาศบนโต๊ะอาหาร ไม่ใช่คุณพ่อคุณแม่หรอกนะคะที่เบื่อบรรยากาศเดิม ๆ เป็น เด็ก ๆ ก็ด้วยเช่นกัน บางทีบรรยากาศบนโต๊ะที่ลูกกำลังทานอยู่นั้นอาจจะน่าเบื่อและเครียดจนเกินไป อาจจะส่งผลทำให้ลูกรู้สึกว่าลูกกำลังโดนจับผิด ก็เลยทำให้เขาหยุดที่จะทำต่อทันที
- รู้สึกว่ามีบางสิ่งบางอย่างน่าสนใจมากกว่าโต๊ะอาหาร ยกตัวอย่างเช่น ทีวี เป็นต้น การให้ลูกทานข้าวไปดูทีวีไปนั้น ถือเป็นการดึงความสนใจของลูกไปจากการรับประทานอาหารทันที ทำให้ลูกลืมตัวและไม่อยากที่จะเคี้ยวอาหารต่อ เพราะมีบางอย่างที่น่าสนใจมากกว่า หรือบางทีลูกอาจจะรู้ว่า ถ้าไม่ทานก็ไม่เป็นไร เพราะสุดท้ายคุณแม่ก็มีนมให้เขาทานอยู่ดี
อ่านต่อวิธีแก้ คลิก!
10 วิธีแก้ปัญหา ลูกอมข้าว
- ปล่อยให้หิว เชื่อเถอะค่ะ ไม่มีใครปล่อยให้ตัวเองหิวตายหรอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก ๆ ในเมื่อถึงเวลารับประทานแล้วไม่ยอมทาน ก็ต้องปล่อยเลยค่ะ ยกจานออกเลยค่ะ แล้วงดให้นมหรือขนมทุกชนิดเลยค่ะ เชื่อเถอะค่ะ เดี๋ยวพอถึงเวลาก็จะหิวโซ งานนี้แหละจะวิ่งขอข้าวคุณพ่อคุณแม่รับประทานแน่นอน
- ถ้าลูกมีอายุเกิน 1 ปีไปแล้ว ให้ลูกรับประทานข้าวเป็นอาหารหลักนะคะ นมเป็นอาหารเสริมให้รับประทานวันละ 15 – 20 ออนซ์ก็พอค่ะ ไม่งั้นเดี๋ยวลูกจะอิ่มเกินไปจนไม่ยอมทานข้าว
- หากิจกรรมให้ลูกได้ทำ ยกตัวอย่างเช่น ออกกำลังกายกลางแจ้ง ให้ออกกำลังกายทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น ว่ายน้ำหรือวิ่ง เป็นต้น พยายามทำทุกวันอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 2 – 4 สัปดาห์ก็จะเห็นผลเลยค่ะว่า ลูกทานข้าวเก่งขึ้น
- หยุดบังคับเคี่ยวเข็ญ อย่างที่ทราบถึงเหตุผลกันไปแล้วว่า ลูกจะเริ่มต่อต้านทันทีที่เขารู้สึกว่าโดนบังคับ ดังนั้น หยุดเลยค่ะ และปล่อยอย่างที่ได้กล่าวไปแล้ว ถึงเวลาไม่ทาน ยกจานออกเลยค่ะ เขาจะได้รู้ว่า เมื่อถึงเวลาแล้วไม่ทาน ก็ต้องอดไป
- ลูกอาจปวดฟัน ฟันจะหัก หรือฟันจะขึ้นเป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้อาจส่งผลให้ลูกรู้สึกไม่อยากเคี้ยวอาหารเพราะเจ็บก็เป็นได้ ดังนั้นวิธีการแก้ปัญหาก็คือ ให้เปลี่ยนเป็นอาหารที่อ่อน จำพวกซุป ข้าวต้ม หรือโจ๊กแทนค่ะ
บทความแนะนำ “ซุปใสปลา” สุดยอดเมนูปลา อาหารอ่อนเพิ่มพลังหลังลูกป่วย
อ่านต่ออีก 5 วิธีการแก้ปัญหาลูกชอบอมข้าว คลิก!
- พูดคุยกับลูก บางทีการที่ลูกไม่ยอมทานข้าวก็อาจเกิดจากความรู้สึกวิตกกังวลบางอย่าง ทำให้ไม่อยากทานข้าวหรือทานข้าวไม่ลง สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำก็คือ ถามไถ่ลูกด้วยความห่วงใยว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วก็ช่วยลูกแก้ปัญหาไป การช่วยเหลือดังกล่าวก็จะทำให้ลูกสบายใจขึ้น และทานข้าวได้ในที่สุด
- จัดเวลาอาหารว่างให้ดี เช็คดี ๆ นะคะ เพราะบางครอบครัวให้ลูกรับประทานอาหารตรงเวลาจริง แต่ก่อนรับประทานอาหารประมาณหนึ่งชั่วโมง ก็ให้ลูกทานขนม ทานของทานเล่นไปก่อนแล้ว ทีนี้พอทานเยอะ ๆ ก็ไม่แปลกที่จะรู้สึกอิ่มและทานอะไรไม่ลง ดังนั้น ควรจัดเวลาใหม่ หากรู้ว่าใกล้ถึงเวลาทานข้าวแล้วละก็ ให้งดอาหารว่างไปก่อนค่ะ
- เปลี่ยนเมนู บางทีลูกอาจจะเบื่อเมนูเดิม ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ให้ทานก็ได้นะคะ ดังนั้น ลองเปลี่ยนจากเมนูที่ลูกชอบทานไปเป็นอย่างอื่นที่ดูน่าสนใจบ้างก็ได้ค่ะ ยกตัวอย่างเช่น เมนูเดียวกับคุณพ่อคุณแม่ แต่อาจจะมีรสชาติไม่จัดจ้านเท่า ลองให้ลูกทานดูนะคะ บางทีลูกอาจจะชอบและขอเพิ่มอีกก็เป็นได้
- ให้ลูกมาร่วมวงทานข้าวด้วยเลยค่ะ เพราะบางทีลูกอาจจะไม่อยากนั่งทานคนเดียวอีกแล้วก็ได้ค่ะ ทีนี้ชวนมาทานร่วมวงด้วยกันเสียเลย หากลูกโตหน่อยก็ให้ทานเมนูเดียวกันไปเลย เท่านี้ลูกก็จะรู้สึกไม่เหงา แล้วก็รู้สึกสนุกขึ้น ก็ส่งผลให้ลูกสามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้นเช่นกัน
- จริง ๆ แล้วการจัดอาหารให้น่ารับประทานโดยการมีตัวเลือกต่าง ๆ มาตกแต่งอาหารลูกบ้างก็ดีนะคะ สมัยนี้หาง่ายด้วย หากมีเวลาการทำทุก ๆ วันก็จะทำให้ลูกรู้สึกสนุก และอยากที่จะทานอีกก็เป็นได้ค่ะ
ไม่ยากเลยใช่ไหมละคะ กับ 10 วิธีแก้ปัญหา ลูกชอบอมข้าว ที่นำมาเสนอในวันนี้ เรียกได้ว่า หากทำได้ทั้งคุณพ่อคุณแม่และลูกก็ไม่ต้องเสียอารมณ์กันเลยแม้แต่นิดเดียว ลองทำกันดูนะคะ
เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ:
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่