AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

รีวิว “ทูน่ากระป๋อง” ในน้ำเกลือ น้ำแร่ และน้ำมัน เลือกแบบไหน? ให้ลูกได้ประโยชน์สูงสุด!

ทูน่ากระป๋อง …เหมาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่มีเวลา! เป็นหนึ่งทางเลือกที่นอกจากจะหาซื้อได้ง่ายแล้ว ยังนำไปปรุงเป็นเมนูต่างๆ ได้หลากหลาย และใช้เวลาเตรียมวัตถุดิบไม่นาน เพียงเปิดกระป๋องเนื้อปลาที่อุดมไปด้วยโปรตีน โอเมก้า 3 วิตามิน และเกลือแร่ ก็พร้อมปรุงทันที!!!

ด้วยยุคสมัยที่เร่งรีบ คุณพ่อคุณแม่ต่างต้องทำงานนอกบ้านและมีภาระมากมาย ทำให้เวลาในการประกอบอาหารอาจจะมีไม่มากเหมือนสมัยก่อน ซึ่งตัวช่วยอย่างอาหารสำเร็จรูป หรืออาหารปรุงสำเร็จจากร้านค้าต่างๆ บางครั้งก็ไม่สามารถไว้วางใจได้ถึงความสะอาด วัตถุดิบที่มีคุณภาพ หรือสารอาหารที่มีประโยชน์ ไม่ครบถ้วน และอาจมีผลระยะยาวต่อการพัฒนาของร่างกายลูกน้อยที่อยู่ในวัยเจริญเติบโต ซึ่งการใช้อาหารกึ่งสำเร็จรูป หรือวัตถุดิบที่เก็บรักษาได้สะดวก มาปรุงอาหารเมนูง่าย ๆ จึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับคุณพ่อคุณแม่ยุคนี้

ทูน่ากระป๋อง เลือกแบบไหน…ให้ลูกได้ประโยชน์สูงสุด!

ปลา นับเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยประโยชน์มากมาย จึงเหมาะที่จะเป็นอาหารที่ประกอบให้ลูกน้อยได้รับประทาน โดยเฉพาะ “ปลาทูน่า” ซึ่งเป็นเนื้อปลาที่อุดมไปด้วย โปรตีน โอเมก้า 3 วิตามิน และเกลือแร่ อีกทั้งยังสามารถหาซื้อ ปรุง และเก็บรักษาได้อย่างง่ายดาย อย่างเช่น ทูน่ากระเป๋อง ที่เหมาะกับพ่อแม่ยุคใหม่เป็นอย่างยิ่ง

ปลาทูน่ากระป๋อง แหล่งโปรตีนที่ดีของลูกน้อย

ด้วยเนื้อปลาทูน่า ที่จัดว่าเป็นปลาทะเลน้ำตื้น มีจำนวนหลายชนิด บ้างก็นิยมนำมารับประทานสด และนำมาประกอบอาหาร แต่การจับโดยส่วนใหญ่จะส่งโรงงานแปรรูปเป็นอาหารกระป๋อง ซึ่งปลาทูน่าที่นิยมจับ ได้แก่ ทูน่าครีบเหลือง ทูน่าครีบยาว ทูน่าสีน้ำเงิน ทูน่าตาโต  ปลาโอแถบ และปลาโอดำ

ปลาทูน่า นอกจากมีโปรตีนสูงแล้ว ยังมีไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำ มีวิตามิน บี 12 และเกลือแร่ไอโอดีน ฟอสฟอรัส ซิลิเนียม สังกะสีและแคลเซียม ที่สำคัญมีน้ำมันปลา โอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยบำรุงสมอง เสริมความจำและช่วยลดโคเลสเตอรอล ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และอาจป้องกันโรคความจำเสื่อม (โรคอัลไซเมอร์) แต่อย่างไรก็ตามปลาทูน่าอาจมีสารปนเปื้อน เช่น สารปรอท จึงแนะนำให้เด็กและคุณแม่ตั้งครรภ์ ไม่ควรกินปลาทูน่าชนิด “อัลบาคอร์” (ทูน่าซึ่งหายากและดีที่สุด) เกินกว่าสัปดาห์ละ 6 ออนซ์ หรือประมาณ 180 กรัมปลาทูน่ากระป๋อง 1 กระป๋อง โดยทั่วไปมีน้ำหนักรวมน้ำหรือน้ำมัน 180 กรัม มีเนื้อปลาอยู่ 140 กรัม

⇒ Must read : รวม 24 ปลาโอเมก้า 3 สูง ที่แม่ควรซื้อให้ลูกกิน!
⇒ Must read : 10 ปลาไทย โอเมก้า 3 สูง! บำรุงสมองสดใส หัวใจแข็งแรง
⇒ Must read : ปลาที่แม่ไม่ควรกิน (และทางเลือกที่ปลอดภัยกว่า)

หากคุณพ่อคุณแม่อยากจะทำเมนูอาหารที่มีส่วนผสมเป็นปลาทูน่ากระป๋องให้ลูกน้อยรับประทาน ก็สามารถหาซื้อได้ไม่ยากที่ตามซูเปอร์มาเก็ตทั่วไป แต่ก็อาจต้องยืนนิ่ง ๆ สักพัก เพราะคงเลือกไม่ถูก เนื่องจากทูน่ากระป๋องที่วางอยู่บนชั้นนั้นดันมีแช่ในหลายน้ำ หลายแบบให้เลือก แล้วอย่างนี้จะรู้ได้อย่างไรว่าทูน่ากระป๋องไหนเหมาะกับอาหารจานเด็ดที่จะทำให้ลูกน้อยทาน

…ดังนั้นแล้วเพื่อเป็นตัวช่วยให้คุณแม่ในการเลือกซื้อทูน่ากระป๋อง มาปรุงอาหารให้ลูกน้อยได้ง่ายขึ้น แม่น้องฮันน่าห์ขารีวิวจึงขอนำข้อมูลของปลาทูน่าแต่ละกระป๋องมาให้คุณแม่ๆ ได้เลือกดูตามความเหมาะสมกับเมนูอาหารจานโปรดของลูกที่คุณต้องการทำ ตามไปดูกันเลยค่ะ

อ่านต่อ >> วิธีเลือกทูน่ากระป๋องสำหรับปรุงอาหารให้ลูกน้อย” คลิกหน้า 2

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : baby.haijai.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เนื้อทูน่ากระป๋องกับประเภทอาหาร

เนื้อทูน่ากระป๋องจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือทูน่าแบบก้อน และทูน่าแบบชิ้นเล็ก ซึ่งแต่ละแบบ ก็เหมาะกับประเภทอาหารที่ไม่เหมือนกัน ให้ความอร่อยไม่เหมือนกัน ลองไปทำความเข้าใจกันค่ะ

วิธีเลือกทูน่ากระป๋อง เลือกแบบไหนให้เหมาะกับจานเด็ด

Good mom know : สำหรับเด็กอายุ 5-6 เดือน สามารถเริ่มรับประทาน อาหารเสริมได้ 1 มื้อ ถ้าอายุครบ 7-8 เดือน จนถึง 10 เดือน จึงให้ รับประทานอาหารเสริมได้ 2 มื้อ ทั้งนี้เด็กที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน ยังไม่แนะนำให้รับประทานอาหารทะเลใดๆ เนื่องจากมีโอกาสแพ้อาหารทะเลได้ง่าย ควรให้รับประทานอาหารทะเลเมื่อเด็กอายุได้อย่างน้อยครบ 9 เดือนเป็นต้นไป ดังนั้นควรให้ลูกน้อยรับประทานแต่ปลาน้ำจืดไปก่อนจะเหมาะสมมากกว่า

เนื้อทูน่าในน้ำแต่ละชนิดกับประเภทอาหาร

Good mom know : สำหรับปลาทูน่ากระป๋อง จะแช่ไว้ในน้ำมันหรือในน้ำเกลือจะให้คุณค่าของปลาทูน่าเหมือนกัน แต่เมื่อรับประทานปลาทูน่าใน น้ำมันจะทำให้ได้รับพลังงานจากน้ำมันร่วมด้วย แต่ปลาประป่องในน้ำเกลืออาจได้รับเกลือแกงด้วย ดังนั้นควรรินน้ำเกลือทิ้งเสียก่อนเทลงภาชนะทำการอุ่นด้วยความร้อน

อย่างไรก็ตามแม้ว่าปลากระป๋องจะสะดวกหาง่าย ซื้อมาเก็บตุนไว้ได้ แต่อาหารเด็กจำพวกโปรตีนควรให้กินสลับกับเนื้อสัตว์หลากหลายชนิดสลับกันไป หากกินซ้ำๆอาจมีการสะสมสารที่ปนเปื้อนเกิดเป็นพิษได้ ถ้าเปิดกระป๋องแล้วรับประทานไม่หมดในครั้งเดียวสามารถเก็บรักษาไว้มื้อต่อไปได้โดยถ่ายเนื้อปลาจากกระป๋องใส่ภาชนะที่มีฝาปิด แล้วนำไปเก็บในตู้เย็นในช่องปกติ และนำไปอุ่นเมื่อปรุงอาหารในมื้อต่อไปได้ แต่ห้ามอุ่นอาหารในกระป๋อง

อ่านต่อ >> รีวิว “ทูน่ากระป๋อง” ในน้ำเกลือ น้ำแร่ และน้ำมัน
เลือกแบบไหน? ให้ลูกได้ประโยชน์สูงสุด!
” คลิกหน้า 3


ขอบคุณข้อมูลจาก : cooking.kapook.com

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

รีวิว “ทูน่ากระป๋อง” ในน้ำเกลือ น้ำแร่ และน้ำมัน
เลือกแบบไหน? ให้ลูกได้ประโยชน์สูงสุด!

และเมื่อทราบกันดีแล้วว่า ทูน่ากระป๋อง แต่ละแบบเป็นอย่างไร คุณแม่ก็คงไม่ต้องยืนงงกันอีกแล้วนะคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อให้ลูกน้อยได้ประโยชน์สูงสุด แม่น้องฮันน่าห์ขารีวิว จึงไปเสาะแสวงหาทูน่ากระป๋อง ซึ่งแช่ในน้ำต่าง ๆ แบบชนิดก้อน มาเพื่อให้คุณแม่ได้พิจารณาเลือกดูว่าจะซื้อยี่ห้อไหนดีให้ลูกได้ประโยชน์สูงสุด ตามไปดูกันเลยค่ะ

โดยในการรีวิวครั้งนี้ แม่น้องฮันน่าห์ได้แจกแจงรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมสรุปให้คุณแม่ได้เห็นถึง ทูน่ากระป๋อง ที่คุณแม่สามารถไว้วางใจซื้อมาให้ลูกน้อยทานให้ได้ประโยชน์เต็มที่ ดังนี้

♥ ซึ่งคุณแม่สามารถทราบรายละเอียดทั้งหมดได้จากข้อมูลด้านล่างนี้เลยค่ะ ⇓

อ่านต่อ “ทูน่ายี่ห้อไหนถูกกว่ากัน?
กับตารางเทียบราคาต่อกรัมของทูน่าทั้ง
13 กระป๋อง” คลิกหน้า 4

อ่านต่อ >> “ตารางเทียบข้อมูลโภชนาการแบบเน้นๆ กับทูน่าทั้ง 13 กระป๋อง” คลิกหน้า 5

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

เทคนิคการเปิดกระป๋องไม่ให้น้ำไหลออกมา

หลายครั้งที่เวลาเปิดกระป๋องอาหารแล้วชอบมีน้ำหกไหลออกมานอกกระป๋องเลอะเทอะไปหมด วิธีแก้คือ ให้นำกระป๋องด้านตรงข้ามกับที่เปิดกระแทกแรง ๆ กับพื้นประมาณ 2-3 ครั้ง ก็จะหมดปัญหาน้ำไหลออกมานอกกระป๋องแล้วค่ะ

หลักในการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง

อย่างไรก็ดีปัจจุบันอาหารกระป๋องเป็นที่แพร่หลายในท้องตลาด และซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป  ซึ่งมีหลายคนและหลายครอบครัวให้ความนิยมในการบริโภค แต่คุณทราบหรือไม่ว่าอาหารที่คุณบริโภคอยู่นั้นมีความปลอดภัยแค่ไหน  ฉะนั้นการเลือกซื้ออาหารกระป๋องในแต่ละครั้งจึงมีความจำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการเลือกซื้ออาหารอื่น ๆ หลักการเลือกซื้ออาหารกระป๋อง มีดังนี้

  1. ดูลักษณะกระป๋อง โลหะของกระป๋องต้องสุกใสเป็นเงางาม ต้องไม่บุบบี้หรือโป่งพอง ตะเข็บหรือรอยต่อต้องเรียบร้อยและแน่นหนา ขอบกระป๋องต้องอยู่ในรูปเดิม ไม่นูนหรือโป่งออกมา และกระป๋องต้องไม่เป็นสนิม
  2. เมื่อกดนิ้วลงไปบนฝากระป๋องถ้าฝากระป๋องบุบหรือยุบลงไป หรือส่วนอื่นของฝากระป๋อง หรือตัวกระป๋องโป่งหรือพองออก ไม่ควรเลือกอาหารกระป๋องนั้น
  3. เมื่อเขย่ากระป๋อง ถ้ามีเสียงกระฉอกของน้ำกับอากาศ ไม่ควรซื้อหรือกินอาหารในกระป๋องนั้น หรือแม้จะเป็นกระป๋องอื่นชนิดเดียวกัน ถ้าไม่มีเสียงเช่นนั้นก็ไม่ควรกินเช่นกัน
  4. เมื่อเปิดกระป๋อง ถ้ามีอากาศ (ลม) พุ่งออกมาจากภายในกระป๋อง ห้ามกินอาหารในกระป๋องนั้น
  5. เมื่อเปิดกระป๋องแล้วได้กลิ่นบูดเน่า หรือกลิ่นผิดแปลกไปจากที่เคยใช้หรือเคยกิน ห้ามชิม และห้ามกินอาหารในกระป๋องนั้นเป็นอันขาด
  6. เมื่อเทอาหารออกจากกระป๋องแล้ว ถ้าภายในกระป๋องมีสนิม หรือมีรอยถลอก หรือรอยด่างของโลหะ ไม่ควรกินอาหารในกระป๋องนั้น
  7. ควรดูที่ฉลาก ศึกษาวันเดือนปีที่ผลิตอาหารกระป๋องนั้น ไม่ควรซื้อหรือกินอาหารกระป๋องที่เก็บไว้นาน เพราะการเก็บไว้นานจะทำให้คุณค่าทางอาหารลดลงไปเรื่อย ๆ

ซึ่งทั้ง 7 ข้อที่กล่าวมานี้ คงพอเป็นแนวในการให้คุณแม่เลือกซื้ออาหารกระป๋องในครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง เพียงคุณแม่หมั่นสังเกตอีกสักนิด อาหารที่ซื้อมาบริโภคก็จะมีคุณค่าทางโภชนาการตามที่คุณต้องการ

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก :  www.healthcarethai.com