ขนมเด็ก …วัยเด็กเป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต มีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งใหม่ๆ ร่างกายจึงต้องมีความต้องการพลังงาน และโภชนาการที่เหมาะสมเพื่อนำไปใช้สำหรับการทำกิจกรรมต่างๆ อยู่เสมอ ดังนั้น การรับประทานอาหารเพียง 3 มื้อหลักอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากเด็กวัยเรียนมีความต้องการพลังงานวันละ 1,600 กิโลแคลอรี ซึ่ง ขนมเด็ก และของว่างที่มีโภชนาการที่เหมาะสม เป็นสิ่งที่ช่วยเสริมพลังงานให้เพียงพอสำหรับเด็ก
แต่ข้อมูลจากการสำรวจการรับประทานอาหารว่างของเด็กในปัจจุบัน พบว่า เด็กเล็กอายุระหว่าง 3-5 ปี ได้รับพลังงานจากอาหารว่างและ ขนมเด็ก มากกว่าที่ควรได้รับ ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์จากมื้อหลักลดลง นอกจากนี้แล้ว ขนมและของว่างที่เด็กไทยนิยมรับประทาน มีส่วนประกอบของแป้ง ไขมัน และน้ำตาลปริมาณมาก เช่น ขนมถุง ขนมซอง น้ำอัดลม ส่งผลให้เด็กมีปัญหาโภชนาการเกินและเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก
หลักการเลือกขนมสำหรับเด็ก มีดังนี้
- เลือกขนมที่มีพลังงานไม่สูงมาก ไม่ควรมีน้ำมันและน้ำตาลมากเกินไป โดยมีข้อกำหนดของราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ให้เด็กควรได้รับพลังงานจากอาหารว่างไม่เกินมื้อละ 100-150 กิโลแคลอรี่ วันละ 2 ครั้ง
- อาหารว่างควรมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 2 ชนิดได้แก่โปรตีน เหล็ก แคลเซียม วิตามิน A C B1 B2 หรือใยอาหาร โดยแต่ละชนิดมีปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน
- ควรเลือกซื้อขนมที่มีสีตามธรรมชาติ ไม่ควรเลือกขนมที่ใส่สีฉูดฉาด
- คุณพ่อคุณแม่ควรเลือกขนมโดยการพิจารณาจากข้อมูลบนฉลากโภชนาการด้วยทุกครั้ง
- ควรปลูกฝังให้ลูกรับประทานผลไม้ที่มีรสชาติไม่หวาน เช่น ส้ม ฝรั่ง ชมพู่ มะละกอ หลีกเลี่ยงผลไม้ที่มีรสหวานจัด
- ส่วนอาหารว่างอื่นที่ควรมีในบ้านได้แก่ นมจืด ผลไม้สด ขนมปังกรอบชนิดโฮลวีท หรืออาจเป็นขนมหวานของไทยที่รสไม่หวาน หลีกเลี่ยงชนิดที่หวานจัดมีกะทิ ส่วนขนมถุงกรุบกรอบที่มีเกลือและผงชูรสเป็นส่วนประกอบนั้นไม่เหมาะที่จะเป็นอาหารว่าง
- ไม่ควรบริโภคน้ำอัดลมน้ำหวาน หรือนมเปรี้ยว
- ไม่ควรใช้อาหารหรือขนมเป็นรางวัล
ข้อควรระวังเกี่ยวกับของการกินขนม
- ถ้ากินขนมมากเและยังกินอาหารหลัก 3 มื้อได้มากจะทำให้เกิดโรคอ้วน
- กินขนมมากแต่กินอาหารหลัก 3 มื้อน้อย จะทำให้เด็กผอมร่วมกับการขาดสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่ได้อีกด้วยเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงถ้ากินอาหารว่างที่มีเกลือสูง
- ถ้ากินขนมหวานแล้วดูแลฟันไม่ดี ก็จะเกิดฟันผุ
นอกจากนี้ถ้ากินอาหารว่างที่มีรสหวานบ่อยๆ เด็กจะติดหวาน ไม่ชอบกินผักผลไม้หรืออาหารที่มีกากใย
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : 7 อันดับ อาหารทำลายสุขภาพ ลูกน้อย
อ่านต่อ >> “รวม 10 ขนมเด็ก สุขภาพดีก็มีในโลก” คลิกหน้า 2
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
รวม 10 ขนมเด็ก สุขภาพดีก็มีในโลก
แท้จริงแล้วในขนมก็มีประโยชน์ เพราะมีโปรตีนกับคาร์โบไฮเดรต และใยอาหาร แต่เราต้องเลือกให้กับลูกเพราะเด็กยังเลือกอาหารเองไม่เป็น โดยไม่ลืมว่าต้องไม่เค็ม ไม่มีโซเดียมมากจนเกินไป มาดูกันว่าในต่างประเทศ เขานิยมขนมเพื่อสุขภาพประเภทใดบ้าง..
1. ข้าวโพดคั่วไมโครเวฟ ปลอดสาร BPA
ข้าวโพดคั่วที่จำหน่ายในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ ข้าวโพดคั่วที่แนะนำคือผลิตจากข้าวโพดออแกนิกส์ ปลอดการดัดแปลงพันธุกรรม ในเว็บไซต์ต่างประเทศแนะนำยี่ห้อ Quinn ซึ่งเป็นข้าวโพดคั่วไมโครเวฟโดยใช้ถุงพลาสติกที่ไม่มีสาร BPA เหมือนยี่ห้ออื่น ซึ่งจะทำให้เป็นโรคหัวใจได้ รสเค็มจากเกลือทะเลทดแทนการเสียเหงื่อหลังจากกลับจากโรงเรียน
2. ผักอบแห้ง มีวิตามิน
ผักที่ทำให้แห้งใช้กินเล่นได้ ได้แก่ ข้าวโพด ถั่ว แครอท มะเขือเทศ พริกไทย เด็กๆ อาจจะชอบผักอบแห้งมากกว่าผักสด เพราะมีรสชาติหวานกว่า แถมยังมีวิตามิน A, C รับรองว่าจะได้วิตามินครบถ้วนต่อวัน
3. ธัญพืชอบแห้งพกพา
สารอาหารที่จะได้จากเมล็ดธัญพืชคือ โปรตีน ซึ่งเป็นสารอาหารหลักที่ร่างกายต้องการ และต้องเลือกธัญพืชออแกนิกส์ ปลอดการดัดแปลงพันธุกรรมและไม่แต่งสี เป็นแหล่งให้พลังงานอย่างดีแก่เด็ก โดยเฉพาะอาหารเช้า ดีทั้งสุขภาพและรสชาติ หวานน้อยเพราะมีน้ำตาลน้อย
4. โยเกิร์ตกรีก
ไม่มีอะไรจะทดแทนการเสียเหงือได้ดีมากไปกว่าไอศกรีมเย็นๆ แต่โชคไม่ดีที่ในไอศกรีมมีปริมาณน้ำตาลฟรุกโตสสูง แต่ในโยเกิร์ตจะมีน้ำตาลน้อยกว่าและมีแบคทีเรียจำเป็น (ต่อลำไส้) ปราศจากฮอร์โมนที่ติดมากับนม และมีแคลเซียม 15% ที่ร่างกายต้องการได้รับ
5. น้ำแอปเปิล
น้ำแอปเปิล (ทั้งแบบกล่องและแบบถุง) เหมาะที่จะใส่ไปกับกล่องข้าวของลูกด้วย เพราะสามารถเสริมพลังงานได้ถึง 60 แคลลอรี่ (ต่อ 3.2 ออนซ์) เหมาะสำหรับเด็กที่กำลังโต แต่ไม่เหมาะสำหรับคุณแม่ที่ต้องการลดหุ่น เพราะจะทำให้ได้รับน้ำตาลมากึง 12 กรัม อาจจะน้ำหนักเกินได้!
♥ บทความแนะนำน่าอ่าน : 7 เมนูอาหารและขนม สำหรับเด็กแพ้อาหาร
อ่านต่อ >> “ขนมเด็ก สุขภาพดีก็มีในโลก” คลิกหน้า 3
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
6. มันเทศอบกรอบ
ถ้าเด็กๆ ของคุณชอบกินมันฝรั่งอบกรอบ ลองเลือกอย่างอื่นที่ไม่ใช่มันฝรั่ง เป็นผลิตภัณฑ์ออร์แกนิค อาทิ มันเทศ เมล็ดทานตะวัน ปราศจากคอเลสเตอรอลจากน้ำมัน เกลือน้อยกว่ามันฝรั่งทอด
7. ชีสแท่ง
ออร์แกนิคชีสชนิดแท่ง เพิ่มพลังงานระหว่างวันให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี (แต่สำหรับผู้ใหญ่อาจจะอ้วนได้) เลือกยี่ห้อที่มีขมันและคอเลสเตอรอลต่ำกว่ายี่ห้ออื่น ลูกจะได้รับแคลเซียม 20% ของปริมาณที่ร่างกายควรได้รับ และโปรตีน 8 กรัม
เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่
8. นมช็อกโกแลตไขมันต่ำ
นมช็อกโกแลตไขมันต่ำเหมาะสำหรับช่วงบ่ายของเด็กๆ หลังจากอาหารกลางวันย่อยหมดพอดี เด็กๆ ควรรองท้องก่อนมื้อเย็น ไม่ชอบรสช็อกโกแลตก็เลือกรสสตรอเบอร์รี่ วนิลา ได้ตามความชอบ
9. ข้าวพองอบกรอบ
ข้าวพองอบกรอบเหมาะสำหรับมื้อหลังดินเนอร์ 9 พอง 8 กรัม จะได้แคลเซียม ธาตุเหล็ก แต่ความหวานไม่เท่าน้ำตาลจากข้าวโพด จะคล้ายกับช็อกโกแลตมากกว่า ทั้งนี้ยังได้ประโยชน์จากนม และครีม
10. โยเกิร์ตออแกนิกส์
โยเกิร์ตอีกชนิดที่ให้แคลเซียม วิตามินดี และโปรตีนที่เหมาะสำหรับเด็กเล็ก เพิ่มเนื้อสตรอเบอร์รี่ และบลูเบอร์รี่ ได้ตามใจชอบ คุณแม่ก็ทานได้เพราะน้ำตาลน้อย ได้ความหวานจากสตรอเบอร์รี่ กล้วย บลูเบอร์รี่ วนิลา
สิ่งสำคัญในการเลือกซื้อขนมให้ลูก ๆ กินก็คือ พ่อแม่ควรใส่ใจในการเลือกขนมและของว่างที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ใช้สีที่มาจากธรรมชาติ ไม่หวาน และเค็มเกินไป ควรมีการควบคุม และวินัยการกินที่ชัดเจน ไม่ควรให้ขนม ของหวานแทนอาหารมื้อหลัก เพราะสิ่งที่นำมาทดแทนนั้นกินง่ายกว่า จึงทำให้ลูกไม่กินข้าว และที่สำคัญ การให้ขนม และของว่างต้องไม่มากจนทำให้เด็กน้ำหนักเกินหรืออิ่มจนไม่อยากกินอาหารมื้อหลักด้วย
อ่านต่อ >> “คำแนะนำจากกุมารแพทย์ กับการเลือกขนมและอาหารว่างแก่เด็ก 2 ขวบขึ้นไป” คลิกหน้า 4
นอกจากนั้น ยังมีข้อแนะนำดีๆ จากราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติในการเลือกขนม และอาหารว่างแก่เด็ก 2 ขวบขึ้นไปมาฝากเป็นแนวทางสำหรับคุณพ่อคุณแม่กันด้วย เริ่มจาก
- เด็กควรได้รับอาหารมื้อหลักวันละ 3 มื้อ นมวันละ 2-3 แก้ว (ควรเลือกนมจืดสำหรับเด็กทั่วไป และนมจืดพร่องมันเนย สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วน ไม่แนะนำให้บริโภคนมหวาน หรือนมปรุงแต่ง) และอาหารว่าง
- อาหารว่างเป็นอาหารที่บริโภคระหว่างมื้อหลัก ควรบริโภคอาหารว่างไม่เกินวันละ 2 มื้อ แต่ละมื้อให้พลังงานไม่เกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน นั่นคือ สำหรับเด็กเล็ก (อายุ 2-5 ขวบ) ไม่เกินมื้อละ 100-130 กิโลแคลอรี เด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ขวบ) ไม่เกินมื้อละ 150 กิโลแคลอรี เด็กวัยรุ่น (อายุ 13-15 ปี) ไม่เกินมื้อละ 200 กิโลแคลอรี หรือโดยเฉลี่ยมื้อละ 100-150 กิโลแคลอรี สำหรับเด็กอายุ 2-15 ปี
- อาหารว่างที่ดีควรจำกัดปริมาณน้ำมัน น้ำตาล และเกลือไม่ให้สูงเกินไป
- ควรรับประทานอาหารว่างห่างจากมื้อหลักอย่างน้อย 1 ชั่วโมง
- ไม่ควรใช้อาหาร หรือขนมเป็นเงื่อนไขของการให้รางวัลหรือการลงโทษ
- อาหารว่างที่ควรมีประจำบ้าน ได้แก่ นมจืด ผลไม้สด ผลไม้อบแห้งที่ไม่เติมน้ำตาล ขนมปังกรอบชนิดโฮลวีท
- ไม่ตุนของว่างที่มีไขมันและน้ำตาลสูงไว้ในบ้าน ได้แก่ น้ำอัดลม น้ำหวาน ขนมกรุบกรอบ ช็อคโกแลต ลูกอม คุกกี้
- อาหารว่างควรมีหลายประเภท ในแต่ละประเภทควรมีความหลากหลาย และมีคุณค่าสารอาหารที่แตกต่างกัน
√ ข้อควรปฏิบัติเกี่ยวกับการกินขนม
- ควรกินห่างจากมื้ออาหารไม่ต่ำกว่า 1 ชั่วโมง
- ไม่กินอาหารว่างก่อนนอน
- กินขนมแล้วให้ดื่มน้ำเปล่า บ้วนปากหรือแปรงฟันด้วยเพื่อกำจัดของหวาน และช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปากอันเป็นสาเหตุของฟันผุ
สิ่งสำคัญคือคุณพ่อคุณแม่ ควรเลือกชนิดของ ขนมเด็ก ให้มีสารอาหารและพลังงานที่เหมาะสมไม่กินมากหรือน้อยเกินไป และกินขนมให้เป็นเวลาให้เหมาะสม โดยไม่ละเลยการกินอาหารมื้อหลัก 3 มื้อ เพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับเด็กทุกคน
นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ครอบครัวยุคใหม่ไม่ควรมองข้าม
อ่านต่อบทความอื่นน่าสนใจ คลิก!
- นมดี 100% ให้ลูกดื่ม สารอาหารเพียบ ในโครงการตามพระราชดำริของพ่อหลวง
- 10 สุดยอด “อาหารบำรุงสมอง” ลูกน้อย
- 7 สารอาหารต้องรู้ ดูแลสมอง สร้างไอคิให้ลูกรัก
จากเว็บไซต์ prevention.com
ภาพ shutterstock