AMARIN Baby And Kids – เพื่อลูกฉลาดและมีความสุข

โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ เช็กน้ำหนักส่วนสูง ความสมส่วนของลูก

หากคุณพ่อคุณแม่อยากรู้ว่า ลูกของเรา อายุ ณ ตอนนี้มีน้ำหนักกับส่วนสูงเท่านี้ ลูกมีร่างกายหรือภาวะโภชนาการที่สมส่วนหรือไม่ อ้วน หรือผอมเกินไปหรือเปล่า สามารถตรวจเช็กได้จาก โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ นี้ได้เลยค่ะ

เช็กเลย! ลูกสมส่วนตามเกณฑ์หรือไม่? ด้วย โปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ

โภชนาการสำหรับเด็ก   

โภชนาการเป็นสิ่งสำคัญในลูกน้อยมาก โภชนาการที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูก เพราะหากมีสิ่งใดมาทำให้การเจริญเติบโตต้องชะงักไป จะเป็นผลเสียต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก อาจทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้อยไปได้ เพราะการให้อาหารที่ไม่เหมาะสมหรือไม่ครบทั้ง 5 หมู่ จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร และเจ็บป่วยบ่อย ลูกจึงควรได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกายตั้งแต่เด็กๆ

ยิ่งลูกในวัยอนุบาล มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งร่างกายและสมอง โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมองในช่วง 3 ขวบปีแรก การให้เด็กได้รับอาหารที่เหมาะสม มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนเพียงพอ จึงเป็นการวางรากฐานชีวิตที่ดีสำหรับเด็กทั้งปัจจุบันและอนาคต

ปัจจัยในการเจริญเติบโตของลูกน้อย

การเติบโตของลูกน้อยมีปัจจัยหลายด้าน ทั้งด้านพันธุกรรม ฮอร์โมน ภาวะโภชนาการ โรคทางกาย และสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจสอบการเจริญเติบโตของลูกน้อยได้โดยวัดความยาวหรือส่วนสูง น้ำหนัก และวัดเส้นรอบศีรษะ ร่วมกับการดูขนาดของกระหม่อม ขนาดเส้นรอบอกและการขึ้นของฟัน

และสำหรับลูก ๆ แล้วโภชนาการดีที่ดี ควรต้องมีอายุ ส่วนสูง น้ำหนักที่สมดุลและอยู่ในระดับปกติของกราฟวัดการเจริญเติบโต รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่ต้องคอยเฝ้าสังเกตความร่าเริง สดใส ภาวะไม่เจ็บป่วยบ่อย หรือการทุเลาจากภาวะป่วยทั่วไปเช่นอาการหวัด หรือภาวะท้องเสีย การเสริมความเจริญเติบโตด้วยอาหารทำให้เด็กด้วยอาหารให้เพียงพอ

ซึ่งการให้อาหารเกินความต้องการของร่างกายไม่เป็นผลดี หรือการให้ดื่มนมเกินปริมาณจะทำให้เกิดภาวะอ้วน ผลไม้รสหวานจัดก็ส่งผลให้เกิดภาวะอ้วน ดังนั้นลูก ๆ ควรได้รับอาหารที่คุณพ่อคุณแม่จัดให้อย่างเพียงพอและมีคุณภาพ จึงเรียกได้ว่าเป็นสุขโภชนาการ

ทั้งนี้การที่คุณพ่อคุณแม่ต้องการทราบภาวะโภชนาการในตัวลูกน้อยว่าอยู่ในเกณฑ์อะไร สมส่วน หรือ อ้วน ผอม เกินไป ก็สามารถเช็กเองได้จากการนำน้ำหนักและส่วนสูงสูงของลูกมาเปิดเทียบกับตารางภาวะทางโภชนาการ (จากสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก ที่ได้ตอนฝากครรภ์ เล่มสีชมพู) แต่อาจทำให้เสียเวลา ทาง Amarin Baby & Kids จึงขอแนะนำโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ จากมหาวิทยาลัยมหิดล ที่เพียงกรอกข้อมูลครบเรียบร้อย โปรแกรมก็จะแสดงข้อมูลของลูกน้อยออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน

อ่านต่อ >> “เช็กโภชนาการลูกน้อย ด้วยโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ” คลิกหน้า 2


ขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaihealth.or.th

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตของเด็ก

มี 3 ตัวชี้วัด คือ

น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ

น้ำหนักเป็นผลรวมของกล้ามเนื้อ ไขมัน น้ำและกระดูก น้ำหนักตามเกณฑ์อายุ เป็นดัชนีบ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ ของการเจริญเติบโตของน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก เป็นดัชนีที่นิยมใช้แพร่หลายในการประเมิน ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน และภาวะโภชนาการเกินสำหรับเด็กเล็กซึ่งมีความลำบากในการวัดความยาว การขาดอาหารในระยะแรกนั้น น้ำหนักจะลดลงก่อนที่จะเกิดการชะงักการเพิ่มส่วนสูง

ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ

ความยาวหรือส่วนสูงที่สัมพันธ์กับอายุเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะโภชนาการที่เกิด ขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนานในอดีต ถ้าเด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอเป็นเวลานาน (ซึ่งความพร่องของส่วนสูงนี้เริ่มได้ตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์มารดา) และหรือมีการเจ็บป่วยบ่อยๆ มีผลให้อัตราการเจริญเติบโตของโครงสร้างของกระดูกเป็นไปอย่างเชื่องช้าหรือ ชะงักงัน ทำให้เป็นเด็กตัวเตี้ย (Stunting) กว่าเด็กที่เป็นเกณฑ์อ้างอิงซึ่งมีอายุเดียวกัน ดังนั้นส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ จึงเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน แบบเรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้มีความพร่องของการเจริญเติบโต ด้านโครงสร้างส่วนสูงทีละเล็กละน้อย ถ้าไม่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขก็จะสะสมความพร่องจนตกเกณฑ์ ดังนั้น อัตราของเด็กตัวเตี้ยจะเริ่มประกฎชัดและมากขึ้นในช่วงอายุ 2-3 ปีขึ้นไป

น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง

เนื่องจากน้ำหนักเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วกว่าส่วนสูง ถ้าเด็กได้รับอาหารไม่เพียงพอจะมีน้ำหนักลดลง มีภาวะผอม ดังนั้น น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูงจึงเป็นดัชนีบ่งชี้ที่ไวในการสะท้อนภาวะโภชนาการใน ปัจจุบันที่ใช้ประเมินภาวะโภชนาการได้ แม้ไม่ทราบอายุที่แท้จริง และอิทธิพลจากเชื้อชาติมีผลกระทบน้อย ภาวะซูบผอมจะเริ่มพบได้มากที่สุดในระยะหลังหย่านม (12-24 เดือน) หากการเตรียมอาหารเสริมที่จะใช้ในช่วงปรับเปลี่ยนลักษณะอาหารจากของเหลว คือ นม มาสู่อาหารปกติ ในช่วงระยะดังกล่าวไม่เหมาะสมตามวัย และเป็นดัชนีบ่งชี้ภาวะโภชนาการเกิน (ภาวะอ้วน) ที่ใช้กันอยู่ในสากล

โดย ในเด็กอายุ 0-2 ปี จะเป็นการนอนวัดความสูง เรียกว่า วัดความยาว และ ในเด็กอายุมากกว่า 2 ปี จะเป็นการยืนวัดความสูงเรียกว่า วัดส่วนสูง เมื่อชั่งน้ำหนัก และวัดส่วนสูงแล้ว นำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

เลี้ยงลูกให้ เก่ง ดี มีสุข ไปกับเรา คลิกติดตามที่

Amarin Baby & Kids

 

การชั่งน้ำหนัก-วัดส่วนสูง ของลูกน้อย

การชั่งน้ำหนัก

เครื่องชั่งน้ำหนักเด็กเล็ก ควรมีตัวเลขที่ละเอียดถึง 100 กรัม หรือแบ่งย่อยเป็น 10 ขีดใน 1 กิโลกรัม ถ้าเป็นเด็กวัยเรียน อาจมีความละเอียด 500 กรัมหรือ 2 ขีดใน 1 กิโลกรัม และก่อนชั่งน้ำหนักเด็ก ควรตั้งค่าเครื่องชั่งให้อยู่ที่เลขศูนย์และทดสอบมาตรฐาน เครื่องชั่งโดยการนำลูกตุ้มน้ำหนักมาตรฐาน หรือสิ่งของที่รู้น้ำหนักมาวางบนเครื่องชั่ง เพื่อ ดูว่าน้ำหนักได้ตามน้ำหนักลูกตุ้มหรือสิ่งของนั้นหรือไม่ จุดประสงค์ของการชั่งน้ำหนัก ต้องการบันทึกน้ำหนักตัวของเด็กที่แท้จริง ดังนั้น จึงควรให้เด็กใส่เสื้อผ้าน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่ให้เด็กถือสิ่งของอื่นใด โดยมีข้อแนะนำในการชั่งน้ำหนักเด็ก ดังนี้

  1. ควรชั่งน้ำหนักเด็กก่อนรับประทานอาหาร
  2. ควรถอดเสื้อผ้าที่หนาๆ ออกให้เหลือเท่าที่จำเป็น รวมทั้งรองเท้า ถุงเท้า ของเล่น
  3. ควรใช้เครื่องชั่งเดิมทุกครั้งในการติดตามการเจริญเติบโต
  4. ถ้าเป็นเครื่องชั่งแบบยืน เวลาอ่านน้ำหนักผู้ที่ทำการชั่งน้ำหนักจะต้องอยู่ในตำแหน่งตรงกันข้ามกับเด็ก ไม่ควรอยู่ด้านข้าง เพราะจะทำให้อ่านผิดพลาดได้ อ่านค่าให้ละเอียดถึง 0.1 กิโลกรัม เช่น 9.3 กิโลกรัม

การวัดส่วนสูง

วัตถุประสงค์ของการวัดส่วนสูงก็เช่นเดียวกันกับการชั่งน้ำหนัก เพื่อต้องการทราบส่วนสูงที่แท้จริงของเด็ก ดังนั้นในการวัดส่วนสูง จึงต้องมีการจัดการเพื่อให้ได้ส่วนสูงที่แท้จริงดังนี้

⇒ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี การวัดเด็กให้อยู่ในท่านอนเรียกว่า วัดความยาว ซึ่งควรมีผู้วัด 2 คน โดยคนหนึ่งดูแลด้านศีรษะและลำตัวให้ตรง ส่วนอีกคนหนี่งดูแลเข่าให้เหยียดตรง และเคลื่อนไม้ฉากเข้าหาฝ่าเท้าอย่างรวดเร็ว วิธีการมีดังนี้

  1. ถอดหมวก รองเท้าออก
  2. นอนในท่าขาและเข่าเหยียดตรง ส่วนศีรษะชิดกับไม้วัดที่ตั้งฉากอยู่กับที่
  3. เลื่อนไม้วัดส่วนที่ใกล้เท้าให้มาชิดกับปลายเท้าและส้นเท้าที่ตั้งฉากกับพื้น
  4. อ่านค่าให้ละเอียดถึง 0.1 เซนติเมตร

⇒ เด็กอายุมากกว่า 2 ปี การวัดเด็กให้อยู่ในท่ายืน เรียกว่า วัดความสูงหรือส่วนสูงมีวิธีการดังนี้

  1. ถอดรองเท้า ยืนบนพื้นราบ เท้าชิด
  2. ยืดตัวขึ้นไปข้างบนให้เต็มที่ไม่งอเข่า
  3. ส้นเท้า หลัง ก้น ไหล่ ศีรษะสัมผัสกับไม้วัด
  4. ตามองตรงไปข้างหน้า
  5. ผู้วัดประคองหน้าให้ตรง ไม่ให้แหงนหน้าขึ้น หรือก้มหน้าลง
  6. เลื่อนไม้ที่ใช้วัดให้สัมผัสกับศีรษะพอดี
  7. อ่านค่าส่วนสูงให้ละเอียดถึง0.1เซนติเมตร

>> เมื่อทำการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเรียบร้อยแล้ว ก็นำข้อมูลมาใส่ลงในโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการ

 คลิกที่นี่ >> เพื่อเข้าเว็บ “คำนวณภาวะโภชนาการของลูกน้อย”

♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦♦

อ่านต่อ >> การส่งเสริมภาวะโภชนาการสำหรับลูกน้อยให้อยู่ในเกณฑ์ดี” คลิกหน้า 3

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://thaigrowth.hyperhub.net/info1.php


การส่งเสริมภาวะโภชนาการสำหรับเด็ก

การเพิ่มขนาดของร่างกายเป็นสิ่งบอกการเจริญเติบโต ร่างกายของอวัยวะต่างๆ และเนื้อเยื่อมีการเพิ่มจำนวนหรือขนาดของเซลล์ซึ่งการเจริญเติบโตขึ้นกับอิทธิพลของพันธุกรรม  พฤติกรรมสิ่งแวดล้อมฮอร์โมนและองค์ประกอบด้านโภชนาการ ดังนั้นจึงต้องมีการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กในทุกด้านซึ่งต้องอาศัยความรู้ของบุคลากรทางด้านความต้องการภาวะโภชนาการของเด็กแต่ละวัย  สภาพความสามารถของร่างกายที่จะรับสารอาหารในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงาน โปรตีนหรือวิตามินเพื่อที่จะนำสิ่งเหล่านี้ไปปรับใช้ให้ร่างกายเกิดความสมดุลอย่างสูงสุด  สิ่งบอกการเจริญเติบโต คือ การเพิ่มขนาด หรือจำนวน/ของอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายซึ่งขึ้นกับ พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม ฮอร์โมนและองค์ประกอบด้านโภชนาการ

การสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีแก่เด็กก่อนวัยเรียน

เด็กมีการเจริญเติบโตของร่างกาย และมีการเล่นออกกำลังกาย ทำให้สูญเสียพลังงานไป จึงต้องจัดอาหารให้เพียงพอ และให้เพิ่มเมื่อเด็กต้องการ ไม่ควรบังคับหรือฝืนใจเด็ก ควรหาวิธีปรุงอาหารตามที่เด็กชอบ การสร้างนิสัยการรับประทานอาหารที่ดีแก่เด็กมีแนวทางดังนี้

  1. ควรฝึกให้เด็กในวัยนี้ได้รับประทานอาหารหลักวันละ 3 มื้อ ให้มีอาหารว่างระหว่างมื้อเช้า และบ่าย จะเป็นนมสดหรือนมถั่วเหลือง วันละ 2-3 แก้ว
  2. เด็กในวัยนี้ ต้องการอาหารเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ แต่ควรเพิ่มปริมาณสารอาหารให้มากกว่าเดิม เพราะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว จำเป็นที่ต้องให้อาหารโปรตีนเพิ่มมากขึ้น จึงต้องปรุงอาหารด้วยเนื้อสัตว์ต่างๆบ้าง เพราะเด็กสามารถเคี้ยวได้แล้ว
  3. ควรหัดให้เด็กได้รับประทานอาหารทุกชนิด ผักและ ผลไม้สดควรมีทุกวัน โดยให้เด็กหัดรับประทานเล่นๆ เช่น แตงกวา มะละกอสุก ส้ม ฯลฯ เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การตักอาหารให้เด็กควรตักทีละน้อย และเพิ่มให้อีกเมื่อต้องการ
  4. การให้เด็กลองรับประทานอาหารใหม่ ควรให้ครั้งละน้อยๆ ปรุงรส มีสีสันตามความชอบของเด็ก ค่อยๆ ปรับปรุงให้เหมาะสมตามความต้องการของเด็ก ไม่ควรให้รางวัลจูงใจให้เด็กรับประทานอาหารเป็นการสร้างนิสัยที่ไม่ถูกต้อง
  5. ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็กต้องปฏิบัติตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เพราะเด็กชอบเลียนแบบผู้ใหญ่ ไม่ควรปรุงอาหารรสจัดสำหรับเด็ก ควรเป็นอาหารย่อยง่ายสะดวกต่อการรับประทานของเด็ก
  6. ควรหาวิธีการ หรือ เทคนิคในการจูงใจ ให้เด็กรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ โดยไม่ต้องบังคับให้เด็กรับประทาน โดยการปรุงแต่ง รูป รส ของอาหารให้น่ารับประทาน เช่น เด็กไม่กินผัก ควรจะนำมาชุบแป้งทอดกรอบ แล้วจัดให้ดูน่ากิน
  7. จัดอาหารให้น่ารับประทาน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในการรับประทานอาหารที่มีสีสันสวยงามชิ้นที่พอดีคำ แม้แต่เด็ก การจัดอาหารย่อมต้องสวยงามเพื่อให้มองแล้วอิ่มใจแบบผู้ใหญ่ และจัดเป็นคำๆไม่ใหญ่เกินไป เด็กจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการรับประทานอาหาร
  8. ลักษณะและรสชาติของอาหารต้องอร่อยแต่ไม่ควรเค็มจัดหรือหวานจัดเกินไป บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีมีผลต่อการรับประทานอาหาร เช่น รับประทานพร้อมผู้ใหญ่ในบรรยากาศที่สนุก ไม่เคร่งเครียด สถานที่ไม่อับจนเกินไป แต่ไม่ควรเดินป้อนเพราะจะทำให้เด็กขาดระเบียบและไม่รู้จักเวลาในการดำเนินชีวิตต่อไป ผู้ใหญ่ควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษามารยาทในโต๊ะอาหาร
  9. เปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการเตรียมโต๊ะอาหาร เช่น การจัดโต๊ะ ช้อนส้อม และให้เด็กมีส่วนร่วมในการปรุงอาหารได้บ้าง เช่น ขนมปังทาแยม ให้เด็กเป็นคนทาแยม ทอดไข่อาจให้เด็กช่วยตอกไข่ใส่จาน หรือการหั่นผัก เตรียมผัด ผู้ใหญ่ควรพิจารณาดูความสามารถให้เหมาะกับอายุของเด็กด้วย

:: สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงในการให้อาหารเด็กในวัยเรียน ::

⇒ Must read : 14 อาหารห้าม! ทำลายสมองลูก    

และที่สำคัญอย่าหัดให้ลูกมีนิสัยจู้จี้ในการกิน หรือกินจุบจิบ โดยเฉพาะอาหารที่ไม่มี ประโยชน์ หรืออาจเป็นโทษต่อร่างกาย เช่น อาหารที่ใส่สีจัด น้ำอัดลม น้ำหวาน ลูกอม ควรงดกิน อาหารสุก ๆ ดิบ ๆ และหมักดอง

อ่านต่อ “บทความดี ๆ น่าสนใจ” คลิก!


ขอบคุณข้อมูลจาก : http://164.115.41.60/excellencecenter/?p=166